พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
แก้ไขในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.พิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2484
เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ให้เหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้
มาตรา 1
แก้ไขพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484”
มาตรา 2
แก้ไข[1]ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2485 เป็นต้นไป
มาตรา 3
แก้ไขให้ยกเลิก
- (1) ประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยภาษีไม้ขอนสักและไม้กระยาเลยลงวันอาทิตย์ เดือนสี่ แรมแปดค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1236
- (2) ประกาศพระบรมราชโองการเรื่องซื้อขายไม้ขอนสัก ลงวันพุธ เดือนเก้า ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีวอก ฉศก จุลศักราช 1246
- (3) ประกาศพระบรมราชโองการเรื่องไม้ขอนสัก ลงวันอาทิตย์ เดือนเจ็ด ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีกุน นพศก จุลศักราช 1249
- (4) ประกาศพระบรมราชโองการเพิ่มเติมเรื่องไม้ขอนสัก ลงวันจันทร์ เดือนสิบเอ็ด แรมค่ำหนึ่ง ปีกุน นพศก จุลศักราช 1249
- (5) พระราชบัญญัติไม้ซุงและไม้ท่อนที่ดวงตราลบเลือน ร.ศ. 115
- (6) พระราชบัญญัติประกาศการรักษาป่าไม้ ร.ศ. 116
- (7) พระราชบัญญัติรักษาต้นไม้สัก ร.ศ. 116
- (8) พระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบตีตราไม้ ร.ศ. 117
- (9) พระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบชักลากไม้สักที่ยังมิได้เสียค่าตอ และภาษี ร.ศ. 18
- (10) กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยไม้ไหลลอย ร.ศ.119
- (11) กฎข้อบังคับอนุญาตไม้สักใช้ในการปลูกสร้างที่ทำราชการและการสาธารณประโยชน์ ร.ศ. 119
- (12) พระราชบัญญัติรักษาป่า พุทธศักราช 2456
- (13) กฎข้อบังคับวางระเบียบวิธีจัดการรักษาป่า พุทธศักราช 2456
- (14) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่า ว่าด้วยการเก็บรวงผึ้ง พุทธศักราช 2464
- (15) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่า ว่าด้วยการเจาะเผาต้นตะเคียนทำชัน ในมณฑลปัตตานี พุทธศักราช 2465
- (16) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่า ว่าด้วยการเจาะเผาทำน้ำมันยาง พุทธศักราช 2465
- (17) พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติพิกัดภาษีภายใน พุทธศักราช 2470 เฉพาะมาตรา 4 (ก) และ (ข)
- (18) พระราชบัญญัติรักษาป่า (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479
- (19) พระราชบัญญัติควบคุมการทำยางสน พุทธศักราช 2480
- (20) บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้ว
ในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4
แก้ไขในพระราชบัญญัตินี้
- (1) ป่า หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน
- (2) [2] ไม้ หมายความว่า ไม้สักและไม้อื่นทุกชนิดที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา รวมตลอดถึงไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม้ไผ่ทุกชนิด ปาล์ม หวาย ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษ ปลาย และกิ่งของสิ่งนั้น ๆ ไม่ว่าจะถูกตัด ทอน เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำโดยประการอื่นใด
- (3) [3] แปรรูป หมายความว่า การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ไม้ดังนี้ คือ
- ก. เลื่อย ผ่า ถาก ขุด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิม นอกจากการลอกเปลือกหรือตบแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก
- ข. เผา อบ บด หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนแปรสภาพไปจากเดิม เพื่อถือเอาวัตถุธาตุหรือผลพลอยได้จากไม้นั้น
- (4)[4] ไม้แปรรูป หมายความว่า ไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว และหมายความรวมถึงไม้ที่อยู่ในสภาพพรางว่าเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรืออยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างอันไม่ชอบด้วยลักษณะสิ่งปลูกสร้างทั่ว ๆ ไปหรือที่ผิดปกติวิสัย หรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ที่ไม่ชอบด้วยลักษณะของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นปกติในท้องที่นั้นหรือที่ผิดปกติวิสัย
ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าวและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และห้าปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป
- (5)[5] ทำไม้ หมายความว่า ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าว กับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย
- (6) ไม้ไหลลอย หมายความว่า ไม้ต้น ไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้เสา ไม้เข็ม ไม้หลัก ไม้เหลี่ยม ไม้กระดาน ซึ่งเป็นไม้หวงห้าม ที่ได้ไหลลอยโดยปราศจากการควบคุม
- (7)[6]ของป่า หมายความว่า บรรดาของที่เกิดหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ คือ
- ก. ไม้ รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ของไม้ ถ่านไม้ น้ำมันไม้ ยางไม้ ตลอดจนสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดจากไม้
- ข. พืชต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่น ๆ ที่เกิดจากพืชนั้น
- ค. รังนก ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง และมูลค้างคาว
- ง. หินที่ไม่ใช่แร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
และหมายความรวมถึงถ่านไม้ที่บุคคลทำขึ้นด้วย
- (8) ไม้ฟืน หมายความว่า บรรดาไม้ที่มีลักษณะและคุณภาพเหมาะสมที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น
- (9) ชักลาก หมายความว่า การนำไม้หรือของป่าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยกำลังแรงงาน
- (10) นำเคลื่อนที่ หมายความว่า ชักลาก หรือทำให้ไม้หรือของป่าเคลื่อนจากที่ไปด้วยประการใด ๆ
- (11) [7] ขนาดจำกัด หมายความว่า ขนาดของต้นไม้ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
- (12) ค่าภาคหลวง หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมซึ่งผู้ทำไม้หรือเก็บหาของป่าจะต้องเสียตามความในพระราชบัญญัตินี้
- (13) โรงงานแปรรูปไม้ หมายความว่า โรงงานหรือสถานที่ใดซึ่งจัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้ รวมถึงบริเวณโรงงานหรือสถานที่นั้น ๆ ด้วย
- (14) โรงค้าไม้แปรรูป หมายความว่า สถานที่ที่ค้าไม้แปรรูป หรือที่มีไม้แปรรูปไว้เพื่อการค้า รวมถึงบริเวณสถานที่นั้น ๆ ด้วย
- (15) ตราประทับไม้ หมายความว่า วัตถุใดอันประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เกิดเป็นรูปรอย หรือเครื่องหมายใด ๆ นอกจากรูปรอยที่เป็นตัวเลข ไว้ที่ไม้ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมแห่งพระราชบัญญัตินี้
- (16) พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าพนักงานป่าไม้ พนักงานป่าไม้หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
- (17) รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5
แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนัน หรือที่สาธารณสถานในท้องที่ซึ่งเกี่ยวข้อง
หมวด 1 การทำไม้และเก็บหาของป่า
แก้ไขส่วนที่ 1 การกำหนดไม้หวงห้าม ค่าภาคหลวงและขนาดจำกัด
แก้ไขมาตรา 6
แก้ไขไม้หวงห้ามมีสองประเภท คือ
ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ได้แก่ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้
ประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ได้แก่ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวนซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตในกรณีพิเศษ
มาตรา 7
แก้ไข[8] ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
การเพิ่มเติมหรือเพิกถอนชนิดไม้ หรือเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้แล้วก็ดี หรือจะกำหนดไม้ชนิดใดเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดขึ้นในท้องที่ใด นอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดตามความในมาตราก่อนแล้วนั้นก็ดี ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 8
แก้ไข(ยกเลิก) [9]
มาตรา 9
แก้ไขรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาคหลวงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังต่อไปนี้ [10]
- (1) สำหรับไม้หวงห้ามประเภท ก. เฉพาะไม้สัก หรือไม้หวงห้ามประเภท ข.ให้กำหนดตามชนิด ขนาด และปริมาตรของไม้ ไม่เกินลูกบาศก์เมตรละสองร้อยบาท
- (2) สำหรับไม้หวงห้ามอื่น ให้กำหนดตามชนิดและปริมาตรของไม้ ไม่เกินลูกบาศก์เมตรละแปดสิบบาท
- (3) สำหรับไม้หวงห้ามที่ทำเป็นไม้ฟืนหรือไม้เผาถ่าน ให้กำหนดได้ไม่เกินลูกบาศก์เมตรละห้าบาท ถ้าได้เผาเป็นถ่านแล้ว อัตราค่าภาคหลวงให้เป็นสองเท่าของอัตราค่าภาคหลวงของไม้หวงห้ามที่ทำเป็นไม้ฟืนหรือไม้เผาถ่าน
- (4) สำหรับไม้หวงห้ามหรือถ่านที่เผาจากไม้หวงห้ามที่นิยมซื้อขายกันตามมาตรฐานอื่นนอกจากเป็นลูกบาศก์เมตร จะกำหนดอัตราค่าภาคหลวงแตกต่างจากที่บัญญัติไว้ใน (1) (2) หรือ (3) ก็ได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของราคาตลาดในราชอาณาจักร โดยเฉลี่ยจากราคาของไม้หวงห้ามหรือของถ่านที่เผาจากไม้หวงห้าม แล้วแต่กรณี
มาตรา 9 ทวิ
แก้ไข[11] ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควร รัฐมนตรีจะลดหรือยกเว้นค่าภาคหลวงให้บุคคลซึ่งประสบภัยพิบัติสาธารณะตามความจำเป็นเฉพาะรายก็ได้
มาตรา 10
แก้ไขให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดขนาดจำกัดไม้หวงห้ามโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ส่วนที่ 2 การทำไม้หวงห้าม
แก้ไขมาตรา 11
แก้ไข[12] ผู้ใดทำไม้ หรือเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่ไม้หวงห้าม ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอนุญาต
การอนุญาตนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว จะอนุญาตให้ผูกขาดโดยให้ผู้ได้รับอนุญาตเสียเงินค่าผูกขาดให้แก่รัฐบาลตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้
การอนุญาตโดยวิธีผูกขาดหรือให้สัมปทานสำหรับการทำไม้ฟืนหรือไม้เผาถ่านไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้กระทำได้เฉพาะในเขตป่าที่ห่างไกลและกันดาร หรือเฉพาะการทำไม้ชนิดที่มีค่าหรือหายาก
การพิจารณาคำขออนุญาตผูกขาดหรือสัมปทานตามความในวรรคก่อนให้กระทำโดยคณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
มาตรา 11 ทวิ
แก้ไข[13] ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตตามมาตรา 11 หรือผู้รับสัมปทานประสงค์จะนำเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่ตนมิได้เป็นเจ้าของเข้าไปในเขตป่าที่ได้รับอนุญาตหรือในเขตสัมปทาน ผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทานดังกล่าวต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด
บรรดาทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคหนึ่งที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทานนำเข้าไปในเขตป่าที่ได้รับอนุญาต หรือในเขตสัมปทาน โดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามวรรคหนึ่งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทาน
มาตรา 12
แก้ไขห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตทำไม้ที่ไม่มีรอยตราอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ประทับไว้ เว้นแต่จะได้มีข้อความระบุอนุญาตไว้ในใบอนุญาต
มาตรา 13
แก้ไข[14] ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตทำไม้ที่มีขนาดต่ำกว่าขนาดจำกัด แต่ถ้ามีเหตุภัยพิบัติสาธารณะ หรือมีเหตุจำเป็นที่เห็นสมควรช่วยเหลือราษฎรเป็นกรณีพิเศษ รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตเฉพาะราย ทำไม้ที่มีขนาดต่ำกว่าขนาดจำกัดเป็นการชั่วคราวก็ได้
การทำไม้ที่มีขนาดต่ำกว่าขนาดจำกัดตามที่รัฐมนตรีอนุญาตให้ทำได้ ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับอนุญาตจะทำไม้ได้ก็ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประทับตราอนุญาตไว้ที่ไม้นั้น ๆ แล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถประทับตราได้ และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องประทับตรา
มาตรา 14
แก้ไข[15] ผู้รับอนุญาตทำไม้ต้องเสียค่าภาคหลวงตามที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
- (1) ต้องชำระค่าภาคหลวงล่วงหน้า ต้นหรือท่อนละสองบาท เมื่อรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่ในท้องที่ใดที่คณะกรมการจังหวัดได้ประกาศโดยรับอนุมัติจากรัฐมนตรีให้งดเว้นไม่ต้องเรียกเก็บเงินค่าภาคหลวงล่วงหน้าหรือให้ลดอัตราค่าภาคหลวงล่วงหน้าลงจากอัตราที่กำหนดนี้ ก็ให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรมการจังหวัดนั้น ๆ
การทำไม้สัก ผู้รับอนุญาตจะต้องชำระค่าภาคหลวงล่วงหน้า ตามอัตราที่คณะกรมการจังหวัดได้ประกาศโดยรับอนุมัติจากรัฐมนตรี หรือตามอัตราที่รัฐมนตรีกำหนดเป็นราย ๆ ไป
การทำไม้ฟืน หรือทำไม้เผาถ่าน ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงล่วงหน้า
- (2) ต้องชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งจำนวนค่าภาคหลวงให้ทราบ
ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวในวรรคก่อน ให้ไม้ ไม้ฟืน ไม้เผาถ่านหรือถ่านนั้นตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่ผู้รับอนุญาตจะได้รับอนุญาตให้ผัดผ่อนการชำระค่าภาคหลวงต่อไปตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่ได้ชำระเงินค่าภาคหลวงล่วงหน้าไว้ และได้ทำไม้ออกมาแล้วภายในกำหนดอายุใบอนุญาต ก็ให้ไม้ส่วนที่เกินจำนวนจากที่ชำระค่าภาคหลวงล่วงหน้าไว้แล้วตกเป็นของแผ่นดิน
มาตรา 14 ทวิ
แก้ไข[16] บทบัญญัติมาตรา 14 มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตทำไม้สักที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อใช้สอยส่วนตัว และมิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับอนุญาตทำไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มี น.ส. 3 หรือโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อใช้สอยส่วนตัว
มาตรา 15
แก้ไข[17] การชำระค่าภาคหลวงสำหรับไม้หวงห้ามชนิดใด ถ้าผู้รับอนุญาตขอชำระในเมื่อไม้นั้นได้แปรรูปแล้ว ต้องชำระตามปริมาตรของไม้แปรรูปในอัตราสองเท่าค่าภาคหลวงที่กำหนดไว้สำหรับไม้ชนิดนั้น ๆ
มาตรา 16
แก้ไขค่าภาคหลวงล่วงหน้าทั้งสิ้นที่ชำระไว้แล้วตามความในมาตรา 14 (1) นั้น ให้นำมาหักกลบลบกันกับค่าภาคหลวงไม้ที่ทำออก ยังขาดเท่าใดให้เรียกเก็บจนครบ ถ้าผู้รับอนุญาตทำไม้ออกมาไม่ครบจำนวนตามใบอนุญาตโดยมิใช่เพราะเหตุสุดวิสัย ซึ่งคำนวณค่าภาคหลวงแล้วยังไม่ถึงจำนวนเงินค่าภาคหลวงล่วงหน้าที่ได้ชำระไว้แล้ว ค่าภาคหลวงล่วงหน้าส่วนที่เกินให้ตกเป็นของรัฐบาล
ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ได้ทำไม้ออกมาเลยตามใบอนุญาตโดยมิใช่เพราะเหตุสุดวิสัยหรือกระทำผิดจนถูกเพิกถอนใบอนุญาต ค่าภาคหลวงล่วงหน้าทั้งสิ้น ให้ตกเป็นของรัฐบาล
มาตรา 17
แก้ไขบทบัญญัติในส่วนนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
- (1) พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า การค้นคว้าหรือการทดลองในทางวิชาการ
- (2) ผู้เก็บหาเศษไม้ปลายไม้ตายแห้งที่ล้มขอนนอนไพร อันมีลักษณะเป็นไม้ฟืน ซึ่งมิใช่ไม้สักหรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ไปสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนแห่งตนหรือประกอบกิจของตน
มาตรา 18
แก้ไข[18] เมื่อมีเหตุภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นที่เห็นสมควรช่วยเหลือราษฎรเป็นกรณีพิเศษ รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ผู้ใดเฉพาะรายทำไม้หวงห้ามแตกต่างจากข้อกำหนดในกฎกระทรวง หรือข้อกำหนดในการอนุญาตเป็นการชั่วคราวก็ได้
ส่วนที่ 3 การยกเว้นค่าภาคหลวง
แก้ไขมาตรา 19
แก้ไข(ยกเลิก)
มาตรา 20
แก้ไข(ยกเลิก)
มาตรา 21
แก้ไข(ยกเลิก)
มาตรา 22
แก้ไข(ยกเลิก)
มาตรา 23
แก้ไข(ยกเลิก)
มาตรา 24
แก้ไข(ยกเลิก)
ส่วนที่ 4 ไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้าม
แก้ไขมาตรา 25
แก้ไขผู้ใดนำไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามเข้าเขตด่านป่าไม้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่นำไปเพื่อใช้สอยส่วนตัวภายในเขตท้องที่จังหวัดที่ทำไม้นั้น
การนำไม้เข้าเขตด่านป่าไม้หลายด่าน ให้เสียค่าธรรมเนียมเพียงด่านแรกด่านเดียว
มาตรา 26
แก้ไขรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามมาตรา 25 ไม่เกินลูกบาศก์เมตรละสี่สิบบาท แต่ถ้าเป็นไม้ที่นิยมซื้อขายกันตามมาตรฐานอื่น นอกจากเป็นลูกบาศก์เมตร จะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับไม้นั้นแตกต่างจากที่บัญญัติไว้นี้ก็ได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละสิบของราคาตลาดในท้องที่ โดยเฉลี่ยจากราคาของไม้นั้น
ส่วนที่ 5 ของป่าหวงห้าม
แก้ไขมาตรา 27
แก้ไขของป่าอย่างใดในท้องที่ใดจะให้เป็นของป่าหวงห้าม ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 28
แก้ไขการเพิ่มเติมหรือเพิกถอนของป่าหวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้แล้วก็ดี หรือจะกำหนดของป่าอย่างใดให้เป็นของป่าหวงห้ามขึ้นในท้องที่ใด นอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดตามความในมาตราก่อนแล้วนั้นก็ดี ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 29
แก้ไข[21] ผู้ใดเก็บหาของป่าหวงห้ามหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่ของป่าหวงห้ามในป่า ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องเสียค่าภาคหลวง กับทั้งต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอนุญาต
การอนุญาตนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว จะอนุญาตให้ผูกขาดโดยให้ผู้รับอนุญาตเสียเงินค่าผูกขาดให้แก่รัฐบาลตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้
การอนุญาตโดยวิธีผูกขาด ให้กระทำได้เฉพาะในกรณีที่ของป่าหวงห้ามเป็นของมีค่าหรือหายากหรือเฉพาะในเขตป่าที่ห่างไกลและกันดาร หรือมีความจำเป็นในวิธีการเก็บหาอันจำต้องให้อนุญาตโดยวิธีผูกขาด
มาตรา 29 ทวิ
แก้ไข[22] ห้ามมิให้ผู้ใดค้าหรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การนำของป่าหวงห้ามเคลื่อนที่โดยมีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไปด้วย
มาตรา 30
แก้ไข[23] รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดอัตราค่าภาคหลวงไม่เกินร้อยละสิบของราคาตลาดในราชอาณาจักร โดยเฉลี่ยจากราคาของของป่าหวงห้ามนั้น
มาตรา 31
แก้ไขในท้องที่ใดที่ได้กำหนดรวงผึ้งเป็นของป่าหวงห้าม ห้ามมิให้ผู้ใดแม้จะเป็นผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทานเก็บหาของป่าก็ตาม ตัดหรือโค่นต้นยวนผึ้งหรือต้นไม้ที่ผึ้งจับทำรังอยู่หรือทำอันตรายด้วยประการใดแก่ต้นไม้ที่กล่าวแล้วโดยไม่จำเป็นแก่การเก็บหารวงผึ้ง
มาตรา 32
แก้ไขบทบัญญัติในส่วนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า การค้นคว้า หรือการทดลองในทางวิชาการ
มาตรา 33
แก้ไข[24] เมื่อมีเหตุภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นที่เห็นสมควรช่วยเหลือราษฎรเป็นกรณีพิเศษ รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ผู้ใดเฉพาะรายเก็บหาของป่าหวงห้าม แตกต่างจากข้อกำหนดในกฎกระทรวง หรือข้อกำหนดในการอนุญาตเป็นการชั่วคราวก็ได้
หมวด 2 ตราประทับไม้
แก้ไขมาตรา 34
แก้ไขตราประทับไม้ของรัฐบาลที่ใช้ประทับเพื่อความหมายใด จะให้มีลักษณะอย่างใดให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 35
แก้ไข[25] ตราประทับไม้ของเอกชน จะใช้ประทับไม้ได้ต่อเมื่อเจ้าของตราได้นำจดทะเบียนและได้รับอนุญาตแล้ว
เมื่อใบอนุญาตสิ้นสุดลงด้วยประการใด ๆ เจ้าของตราหรือผู้ครอบครองต้องนำตรานั้นไปทำลายต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันใบอนุญาตสิ้นสุด เว้นแต่กรณีที่ผู้รับอนุญาตตาย และทายาทหรือผู้จัดการมรดกประสงค์จะใช้ตรานั้นต่อไปอีกก็ให้ยื่นคำขออนุญาตใช้ตรานั้น และขอแก้ทะเบียนก่อนกำหนดเวลาที่กล่าวแล้วได้สิ้นสุดลง
การจดทะเบียน การรับอนุญาต พร้อมทั้งเงื่อนไขในการใช้ตราและค่าธรรมเนียมในการนั้น ๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 36
แก้ไขตราประทับไม้ของเอกชน ถ้าหากสูญหายไปโดยเหตุใด เจ้าของตราประทับไม้นั้นต้องแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหนังสือภายในกำหนดเวลาไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันรู้ถึงการสูญหายนั้น
มาตรา 37
แก้ไขในกรณีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในหมวดนี้ ถ้าไม้ใดมีรอยตราประทับไม้ของเอกชนปรากฏอยู่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของตรานั้นเป็นผู้กระทำการฝ่าฝืน
หมวด 3 ไม้และของป่าระหว่างเคลื่อนที่
แก้ไขส่วนที่ 1 การนำเคลื่อนที่
แก้ไขมาตรา 38
แก้ไข[26] บทบัญญัติในส่วนนี้ให้ใช้บังคับแก่กรณีการนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ต่อไปภายหลังที่
- (1) นำไม้หรือของป่าที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำหรือเก็บออกจากสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ไปถึงสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตแล้ว
- (2) นำไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาตออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้ว
- (3) นำไม้หรือของป่าเข้ามาในราชอาณาจักร ไปถึงด่านศุลกากรหรือด่านตรวจศุลกากรที่นำเข้ามาแล้ว
- (4) นำไม้หรือของป่าที่รับซื้อจากทางราชการป่าไม้ ไปจากที่ที่ไม้หรือของป่านั้นอยู่
มาตรา 39
แก้ไขผู้ใดนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ ต้องมีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไปด้วยตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 39 ทวิ
แก้ไข[27] ผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ หรือผู้รับอนุญาตตั้งโรงค้าไม้แปรรูป อาจออกหนังสือกำกับไม้แปรรูปเพื่อให้บุคคลใดนำไม้แปรรูปเคลื่อนที่จากสถานที่ที่ได้รับอนุญาตของตนไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งได้ เมื่ออธิบดีกรมป่าไม้ได้สั่งอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด หนังสือกำกับไม้แปรรูปให้ใช้แบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดและให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 39
มาตรา 39 ตรี
แก้ไข[28] ผู้ใดนำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยอยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ และพ้นจากสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเครื่องใช้มาแล้วกว่าห้าปี เคลื่อนย้ายออกนอกเขตจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างหรือเป็นที่ประกอบเครื่องใช้นั้น ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ระเบียบดังกล่าวจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติตามด้วยก็ได้
มาตรา 40
แก้ไข[29] ผู้ใดนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่เข้าเขตด่านป่าไม้ ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านป่าไม้นั้นโดยแสดงใบเบิกทางกำกับไม้หรือของป่า หรือหนังสือกำกับไม้แปรรูปที่นำมานั้น แล้วแต่กรณี ภายในกำหนดห้าวันนับแต่วันที่เข้าเขตด่าน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไดตรวจสอบและอนุญาตเป็นหนังสือให้ผ่านด่านได้แล้ว จึงให้นำไม้หรือของป่านั้นไปได้
การอนุญาตนั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยมิชักช้า
มาตรา 41
แก้ไขห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหนังสือ
มาตรา 42
แก้ไขบทบัญญัติแห่งสองมาตราก่อน มิให้ใช้บังคับในกรณีต่อไปนี้
- (1) เมื่อมีข้อกำหนดอย่างอื่นในสัมปทาน ใบอนุญาตหรือใบเบิกทาง
- (2) เมื่อทบวงการเมืองใด ได้ตกลงกับกรมป่าไม้ไว้เป็นอย่างอื่น
- (3) เมื่อเป็นการกระทำของผู้ได้รับอนุญาตทำการเก็บไม้ไหลลอยได้เก็บไว้เพื่อส่งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำสถานีตรวจรับและรักษาไม้ไหลลอยตามความในพระราชบัญญัตินี้
ส่วนที่ 2 การควบคุมไม้ในลำน้ำ
แก้ไขมาตรา 43
แก้ไขให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเขตควบคุมไม้ในลำน้ำโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ภายในเขตที่รัฐมนตรีกำหนดตามความในวรรคก่อน ห้ามมิให้ผู้ที่มิใช่เจ้าของไม้หรือได้รับอำนาจจากเจ้าของไม้เก็บไม้ไหลลอย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 44
แก้ไขผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอย ต้องทำการเก็บและรักษาไม้ตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอยได้แล้ว ให้มอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยมิชักช้า
มาตรา 45
แก้ไขทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนสิงหาคม เมื่อมีไม้ไหลลอยมาตกอยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศโฆษณาให้เจ้าของเรียกเอาภายในเวลากำหนด แต่มิให้กำหนดน้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศ
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้คืนไม้ไหลลอยให้แก่ผู้ที่อ้างสิทธิในไม้นั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พอใจในหลักฐานที่ผู้นั้นนำมาแสดง ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเป็นอย่างอื่นและผู้อ้างสิทธิไม่พอใจในคำสั่ง ผู้นั้นต้องไปร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ร้องภายในกำหนดผู้นั้นหมดสิทธิว่ากล่าวต่อไป
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลมิได้สั่งแสดงว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ในไม้นั้น ให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน
มาตรา 46
แก้ไขผู้มีสิทธิได้รับไม้คืนจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องชำระค่ารางวัลแก่ผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอยและค่าธรรมเนียมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ไม่มีผู้มีสิทธิได้รับไม้คืนจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จ่ายรางวัลให้แก่ผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอยโดยอัตราเดียวกัน
หมวด 4 การควบคุมการแปรรูปไม้
แก้ไขมาตรา 47
แก้ไขให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดท้องที่ใดให้เป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศนั้นให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ
มาตรา 48
แก้ไข[30] ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตั้งโรงค้าไม้แปรรูป มีไม้สักแปรรูปไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง หรือมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตรไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต
เพื่อประโยชน์แห่งความในวรรคหนึ่ง ไม้ซุงหรือไม้ท่อนที่จมอยู่ในแม่น้ำลำคลอง ในรัศมีห้าสิบเมตรของบริเวณที่ทำการแปรรูปไม้ และไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ให้สันนิษฐานว่าเป็นไม้ที่อยู่ในความครอบครองของผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ที่มีโรงงานอยู่ในบริเวณนั้น
ความในวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกระทำแก่ไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย
มาตรา 49
แก้ไข[31] ผู้ขอรับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรกลต้อง
- (1) เป็นเจ้าของ และ
- (2) ไม่เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือ
- (3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือ
- (4) ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตซึ่งออกตามความในหมวดนี้ หรือใบอนุญาตทำไม้ ใบอนุญาตผูกขาดทำไม้ หรือสัมปทานทำไม้ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีผู้ขอรับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้เป็นนิติบุคคล หุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (2) (3) หรือ (4)
มาตรา 49 ทวิ
แก้ไข[32] ผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ต้องรับผิดชอบในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับแปรรูปไม้ตามที่ตนได้รับอนุญาต
มาตรา 50
แก้ไข[33] บทบัญญัติแห่งมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
- (1) การกระทำเพียงเลื่อย ตัด ลิด ขุด หรือถากซ้อมไม้ เพื่อทำเป็นซุงท่อน ไม้เหลี่ยมโกลน มาดเรือโกลน เสาถาก หรือหมอนรถ หรือเพื่อทำไม้ฟืน หรือทำไม้เผาถ่าน หรือเลื่อยผ่าเพียงเพื่อความจำเป็นในการชักลาก ในเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำไม้ให้กระทำการนั้น ๆ ได้ และผู้รับอนุญาตได้กระทำการนั้น ๆ ก่อนนำไม้เคลื่อนที่จากบริเวณตอไม้
- (2) การแปรรูปไม้ที่แปรรูปมาแล้วจากไม้ซุงหรือไม้ท่อน ที่มิใช่เพื่อการค้า
- (3) การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่เพื่อการค้า โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้
- (4) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม
- (5) การแปรรูปไม้โดยใช้แรงคนที่มิใช่เพื่อการค้า จากไม้หวงห้ามที่ยังมิได้แปรรูป โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 51
แก้ไข[34] ผู้รับอนุญาตตามความในหมวดนี้ จะมีไม้ไว้ในครอบครองในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตของตนได้แต่เฉพาะไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- (1) ไม้ที่ได้ชำระค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่าเสร็จสิ้นแล้ว หรือถ้าเป็นไม้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการแปรรูปได้ก่อนชำระค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า โดยมีหนังสืออนุญาตของอธิบดีกรมป่าไม้ และมีรอยตราอนุญาตประทับไว้แล้ว
- (2) ไม้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำโดยไม่ต้องเสียค่าภาคหลวง และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประทับตราแสดงว่าเป็นไม้ที่ทำได้โดยไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงไว้แล้ว
- (3) ไม้ที่ได้รับซื้อจากทางราชการป่าไม้ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประทับตรารัฐบาลขายไว้แล้ว
- (4) ไม้แปรรูปของผู้รับอนุญาตตามความในหมวดนี้ และมีหนังสือกำกับไม้แปรรูปของผู้รับอนุญาต หรือใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไว้เป็นหลักฐาน
- (5) ไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และมีใบเบิกทางตามมาตรา 38 (3) กำกับ
มาตรา 52
แก้ไขห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหนังสือ
มาตรา 53
แก้ไขเพื่อที่จะดูว่าผู้รับอนุญาตตามความในหมวดนี้ได้ปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจการแปรรูปไม้ และกิจการของผู้รับอนุญาตได้ ผู้รับอนุญาตต้องอำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการนี้
มาตรา 53 ทวิ
แก้ไข[35] ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดท้องที่เป็นเขตควบคุมสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีกำหนดชนิดไม้ ขนาดหรือปริมาณของสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามซึ่งผู้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า ที่จะต้องขออนุญาตตามมาตรา 53 ตรี หรือมาตรา 53 จัตวา
มาตรา 53 ตรี
แก้ไข[36] ภายในเขตควบคุม ห้ามมิให้ผู้ใดค้า หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามที่มีชนิดไม้ ขนาดหรือปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 53 ทวิ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 53 จัตวา
แก้ไข[37] ในกรณีที่มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดเขตท้องที่ใดเป็นเขตควบคุมตามมาตรา 53 ทวิ ให้ผู้ค้าหรือผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม ที่มีชนิดไม้ ขนาดหรือปริมาณเกินกว่าชนิดไม้ ขนาดหรือปริมาณที่ควบคุมอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศของรัฐมนตรีดังกล่าวใช้บังคับ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศของรัฐมนตรีดังกล่าวใช้บังคับ
เมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บุคคลดังกล่าวค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามได้ต่อไปจนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตตามคำขอ
หมวด 5 การแผ้วถางป่า
แก้ไขมาตรา 54
แก้ไข[38] ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่จะกระทำภายในเขตที่ได้จำแนกไว้เป็นประเภทเกษตรกรรม และรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือโดยได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 55
แก้ไขผู้ใดครอบครองป่าที่ได้ถูกแผ้วถางโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้แผ้วถางป่านั้น
หมวด 6 เบ็ดเตล็ด
แก้ไขมาตรา 56
แก้ไขใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามความในพระราชบัญญัตินี้ จะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าผู้รับอนุญาตตาย ทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะทำการแทนตามใบอนุญาตนั้นต่อไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันผู้รับอนุญาตตาย และถ้าทายาทหรือผู้จัดการมรดกประสงค์จะทำการแทนต่อไปอีก ต้องยื่นคำขออนุญาตก่อนกำหนดเวลาที่กล่าวแล้วได้สิ้นสุดลง
มาตรา 57
แก้ไขผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจัดให้คนงานหรือผู้รับจ้างซึ่งทำการตามที่ได้รับอนุญาตมีใบคู่มือแสดงฐานะเช่นนั้น ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 58
แก้ไข[39] การขออนุญาตและการอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และในกรณีเฉพาะเรื่อง ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควร จะกำหนดให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติเพิ่มเติมประการใดอีกก็ได้
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งต่ออายุใบอนุญาตที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ได้เมื่อเห็นสมควร
มาตรา 58 ทวิ
แก้ไข[40] ในกรณีการทำไม้หวงห้าม หรือเก็บหาของป่าหวงห้ามโดยการให้สัมปทาน การอนุญาตให้ผูกขาดหรือการอนุญาตทำไม้หวงห้ามเพื่อการค้าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่ได้เตรียมการกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่ได้กำหนดโครงการทำไม้หรือเก็บหาของป่าไว้แล้ว หรือการอนุญาตตามมาตรา 13 มาตรา 18 หรือมาตรา 54 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด
- (1) ให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับอนุญาต ทำการบำรุงป่า หรือปลูกสร้างสวนป่าตามคำสั่งและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด หรือ
- (2) ให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับอนุญาตออกค่าใช้จ่ายเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการบำรุงป่า หรือปลูกสร้างสวนป่าให้แทน
ในกรณีตาม (2) ให้คิดค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินหกเท่าของค่าภาคหลวง หรือตามอัตราพื้นที่ป่าที่ได้รับสัมปทานหรือรับอนุญาต ไม่เกินไร่ละหนึ่งพันสองร้อยบาท ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีเห็นสมควร
มาตรา 59
แก้ไข[41] ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ได้ดังต่อไปนี้
- (1) เมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ จะสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
- (2) เมื่อมีการฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จะสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้
มาตรา 60
แก้ไขเมื่อได้มีคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้พักใช้ใบอนุญาตแล้ว ผู้รับอนุญาตหมดสิทธิตามใบอนุญาตนั้น นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จนกว่าจะครบกำหนดเวลาการพักใช้ใบอนุญาต หรือจนกว่ารัฐมนตรีจะได้สั่งให้เพิกถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
มาตรา 61
แก้ไข[42] ในกรณีที่เหตุแห่งการสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 59 ปรากฏแก่รัฐมนตรีหรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 59 แล้ว ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้เสียก็ได้
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรกล หรือผู้กระทำการแทนนิติบุคคลผู้รับอนุญาต ไม่มีลักษณะตามมาตรา 49 (1) หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 49 (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี ให้รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 61 ทวิ
แก้ไข[43] คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตรับทราบ
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจให้ผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตรับทราบคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ปิดคำสั่งในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทำการตามใบอนุญาต หรือที่อยู่ของผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีนี้แล้ว ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตรับทราบคำสั่งนั้นตั้งแต่วันปิดคำสั่ง
มาตรา 62
แก้ไขในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งไม่อนุญาตตามคำขอของบุคคลใดตามความในพระราชบัญญัตินี้ หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามความในมาตรา 59 บุคคลนั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อรัฐมนตรีได้ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้ถือเป็นที่สุด
มาตรา 63
แก้ไขภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใดหรือเก็บหาของป่าอย่างใดในป่าใดโดยมีขอบเขตเพียงใด และในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็ได้
รัฐบาลมีอำนาจให้ผู้รับสัมปทานเสียเงินค่าภาคหลวง ตามอัตราที่รัฐบาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินอัตราอย่างสูงที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และจะให้ผู้รับสัมปทานเสียเงินแก่รัฐบาลตามจำนวนที่รัฐบาลจะกำหนดอีกก็ได้
มาตรา 64
แก้ไขในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ที่เกี่ยวกับความผิดอาญาให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 64 ทวิ
แก้ไข[44] ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้ใช้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 11 มาตรา 48 มาตรา 54 หรือมาตรา 69 ไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ จนกว่าพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิดหรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่
ทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือศาลไม่พิพากษาให้ริบ และผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอรับคืนภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันทราบ หรือถือว่าได้ทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี ให้ตกเป็นของกรมป่าไม้
ถ้าทรัพย์สินที่ยึดไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินค่าของทรัพย์สิน รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายจะจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ก่อนถึงกำหนดตามวรรคสองก็ได้ ได้เงินเป็นจำนวนสุทธิเท่าใดให้ยึดไว้แทนทรัพย์สินนั้น
มาตรา 64 ตรี
แก้ไข[45] ในกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามมาตรา 64 ทวิ มิใช่เป็นของผู้กระทำความผิด หรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรีคืนทรัพย์สินหรือเงิน แล้วแต่กรณี ให้แก่เจ้าของ ก่อนถึงกำหนดตามมาตรา 64 ทวิ ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
- (1) เมื่อทรัพย์สินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นถูกยึด และ
- (2) เมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่า เป็นผู้กระทำความผิดได้ทรัพย์สินนั้นมาจากผู้เป็นเจ้าของโดยการกระทำความผิดทางอาญา
มาตรา 65
แก้ไขเพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉินแก่ไม้หรือของป่าในป่าใด พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทานในป่านั้นหรือป่าที่ใกล้เคียง รวมทั้งคนงานหรือผู้รับจ้างของผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทานให้ให้ความช่วยเหลือด้วยแรงงานหรือสิ่งของตามที่จำเป็นแก่การนั้นได้
มาตรา 66
แก้ไขการโอนไม้หรือของป่าที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทาน กระทำก่อนที่ได้ชำระค่าภาคหลวง หรือก่อนที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหนังสือ จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อใช้แก่เจ้าพนักงานหาได้ไม่
มาตรา 67
แก้ไขให้รัฐมนตรีตั้งด่านป่าไม้และกำหนดเขตแห่งด่านนั้น ๆ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 68
แก้ไขบรรดาหนี้ค่าภาคหลวงสำหรับไม้หรือของป่าที่ค้างชำระอยู่ให้ถือว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างชำระแก่รัฐบาล และให้รัฐบาลทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้โดยมีบุริมสิทธิสามัญอย่างเดียวกับค่าภาษีอากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หมวด 6 ทวิ การสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัมปทานและการสิ้นสุดของสัมปทาน
แก้ไขมาตรา 68 ทวิ
แก้ไขในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ใดในเขตสัมปทานเพื่อประโยชน์ในการสร้างเขื่อนชลประทานหรือเขื่อนพลังน้ำหรือเพื่อการป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือความมั่นคงของชาติหรือเพื่อรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการดังต่อไปนี้
- (1) ให้สัมปทานที่มีพื้นที่สัมปทานทับพื้นที่ดังกล่าวสิ้นสุดลงทั้งแปลง
- (2) ให้ผู้รับสัมปทานหยุดการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานเป็นการชั่วคราวในพื้นที่ดังกล่าวตามระยะเวลาที่เห็นสมควร
- (3) ตัดเขตพื้นที่ดังกล่าวออกจากพื้นที่ในสัมปทาน
การสั่งการของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ออกคำสั่ง
มาตรา 68 ตรี
แก้ไขนอกจากการสิ้นสุดลงตามอายุของสัมปทาน หรือตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทาน หรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นสิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานในเขตพื้นที่สัมปทานทั้งแปลงหรือบางส่วน ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตที่กำหนดให้เป็น
- (1) อุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ หรือ
- (2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
มาตรา 68 จัตวา
แก้ไขในกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งตามมาตรา 68 ทวิ หรือในกรณีที่สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี หรือในกรณีที่สัมปทานสิ้นสุดลงเนื่องจากทางราชการได้ใช้สิทธิเพิกถอนสัมปทานเพราะเหตุที่ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดในสัมปทาน บรรดาไม้และของป่าที่อยู่ในพื้นที่สัมปทานที่สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานสิ้นสุดลง และบรรดาไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่สัมปทานนั้นหรือไม่ ย่อมเป็นของแผ่นดินและผู้รับสัมปทานจะได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในไม้หรือของป่าได้ต่อเมื่อผู้รับสัมปทานสามารถพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ทำไม้หรือเก็บหาของป่านั้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในสัมปทานก่อนสิทธิตามสัมปทานสิ้นสุดลง
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับสัมปทานยื่นคำขอพิสูจน์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แจ้งคำสั่งรัฐมนตรีหรือแจ้งการสิ้นสุดของสัมปทานตามมาตรา 68 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี วิธีการยื่นคำขอพิสูจน์ การพิสูจน์ การพิจารณา และการสั่งการของรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่พอใจคำสั่งรัฐมนตรี ผู้รับสัมปทานมีสิทธิฟ้องต่อศาลเพื่อพิสูจน์ว่าตนได้ทำไม้หรือเก็บหาของป่าโดยถูกต้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในสัมปทานก่อนสิทธิตามสัมปทานสิ้นสุดลง แต่ทั้งนี้ต้องยื่นฟ้องภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งของรัฐมนตรี
มาตรา 68 เบญจ
แก้ไขในกรณีที่เป็นสัมปทานทำไม้ ที่รัฐมนตรีได้มีคำสั่งตามมาตรา 68 ทวิ หรือสิทธิการทำไม้ในเขตพื้นที่สัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี ให้ผู้รับสัมปทานหยุดการทำไม้ในเขตพื้นที่สัมปทานที่สิทธิการทำไม้สิ้นสุดลงและหยุดการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากสถานที่รวมหมอนไม้สำหรับการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงโดยสิ้นเชิง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจสภาพการทำไม้และสำรวจไม้ที่รวมอยู่ ณ สถานที่รวมหมอนไม้ของผู้รับสัมปทาน และทำบันทึกรายงานเสนอต่ออธิบดีกรมป่าไม้โดยเร็ว บันทึกรายงานดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการทำไม้ จำนวนและขนาดของไม้ และให้ความเห็นด้วยว่าผู้รับสัมปทานได้ทำไม้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในสัมปทานหรือไม่
ในกรณีที่ผลการสำรวจตามวรรคหนึ่งปรากฏว่า ผู้รับสัมปทานได้ทำไม้โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานและการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ทางราชการมีสิทธิเพิกถอนสัมปทาน การสิ้นสุดของสิทธิการทำไม้ตามมาตรา 68 ทวิ หรือมาตรา 68 ตรี ย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิทางราชการที่จะเพิกถอนสัมปทานโดยให้มีผลตั้งแต่วันก่อนวันที่สิทธิการทำไม้สิ้นสุดลง
เมื่อผู้รับสัมปทานพิสูจน์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 68 จัตวา ได้ว่าตนได้ทำไม้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในสัมปทานก่อนวันที่สิทธิตามสัมปทานสิ้นสุดลง หรือเมื่อศาลได้พิพากษาเช่นนั้น ให้อธิบดีกรมป่าไม้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทำการชักลากและนำไม้ดังกล่าวเคลื่อนที่ได้ พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติไว้ด้วย ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าว ให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดิน
มาตรา 68 ฉ
แก้ไขให้ผู้รับสัมปทานที่ได้รับคำสั่งตามมาตรา 68 ทวิ หรือผู้รับสัมปทานที่สัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี ดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับเงินชดเชยความเสียหายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา 68 สัตต มาตรา 68 อัฏฐ มาตรา 68 นว มาตรา 68 ทศ และมาตรา 68 เอกาทศ
- (1) ผู้รับสัมปทานที่พื้นที่สัมปทานทั้งแปลงต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ทวิ (1) หรือมาตรา 68 ตรี และ
- (2) ผู้รับสัมปทานที่ได้รับคำสั่งตามมาตรา 68 ทวิ (2) หรือ (3) หรือผู้รับสัมปทานที่พื้นที่สัมปทานบางส่วนต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้รับสัมปทานดังกล่าวได้ขอเวนคืนสัมปทานที่เหลือทั้งหมดของตนต่อทางราชการ
ในกรณีที่มีการสั่งตามมาตรา 68 ทวิ หรือสัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี การเรียกร้องหรือการให้ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินชดเชยเพื่อความเสียหายอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ จะกระทำมิได้
มาตรา 68 สัตต
แก้ไขเงินชดเชยความเสียหายที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแก่ผู้รับสัมปทาน และเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) เงินลงทุนที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายไปเพื่อการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานเช่น ค่าเครื่องจักรกล ค่ายานพาหนะ ค่าเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้รับสัมปทานยังใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงค่าเสื่อมราคาที่ได้หักไว้แล้ว ระยะเวลาของสัมปทานที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานไปแล้ว จำนวนไม้หรือของป่าที่ผู้รับสัมปทานได้ทำออกไปแล้ว รวมทั้งประโยชน์อย่างอื่นที่ผู้รับสัมปทานได้รับไปอันเนื่องจากการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานในระหว่างอายุสัมปทาน และมูลค่าของทรัพย์สินหรือสิ่งของที่เหลืออยู่และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้รับสัมปทาน
(ข) ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับสัมปทานได้จ่ายไปเพื่อการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานและยังมิได้รับผลประโยชน์กลับคืน ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน (ก) และ
(ค) ความผูกพันตามกฎหมายที่ผู้รับสัมปทานมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่มีการเลิกจ้าง
เงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่นำมาพิจารณาเพื่อรับเงินชดเชยตาม (ก) และ (ข) จะต้องไม่เกินกว่าที่เป็นเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายตามที่ผู้ประกอบธุรกิจจะลงทุนหรือใช้จ่ายในกิจการเช่นนั้นโดยทั่วไปตามปกติ
(2) ความรับผิดที่ผู้รับสัมปทานมีต่อบุคคลภายนอกตามสัญญา ระหว่างผู้รับสัมปทานกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวเนื่องกับการทำกิจการที่ได้รับสัมปทาน หากมีข้อสัญญาที่คู่สัญญาตกลงให้ผู้รับสัมปทานต้องรับผิดในกรณีเหตุสุดวิสัยให้แตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือมีข้อสัญญาที่คู่สัญญาตกลงให้ผู้รับสัมปทานต้องรับผิดเพราะรัฐสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัมปทาน ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลใช้บังคับเพื่อการให้เงินชดเชยความเสียหายตามมาตรานี้
(3) ห้ามมิให้มีการจ่ายเงินชดเชยเพื่อผลกำไรหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้รับสัมปทานคาดว่าจะได้รับจากการทำกิจการที่ได้รับสัมปทาน
(4) ในกรณีที่การเลิกสัมปทานเป็นเหตุให้ผู้รับสัมปทานได้รับเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทน จากการประกันหรือการอื่นใดเพื่อทดแทนความเสียหายให้ถือว่าเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของเงินชดเชยความเสียหายตามมาตรานี้
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานยื่นคำขอเวนคืนสัมปทานตามมาตรา 68 ฉ (2) ให้ผู้รับสัมปทานได้รับเงินชดเชยความเสียหายเฉพาะตามอัตราส่วนของพื้นที่หรือของจำนวนไม้หรือของป่าที่จะทำออกได้จากพื้นที่ในส่วนที่สัมปทานนั้นสิ้นสุดลง แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลฟังได้ว่า พื้นที่ในส่วนที่สัมปทานสิ้นสุดลงนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้รับสัมปทานไม่สามารถดำเนินกิจการในสัมปทานที่ขอเวนคืนนั้นต่อไปได้ ก็ให้ได้รับเงินชดเชยเช่นเดียวกับกรณีพื้นที่สัมปทานทั้งแปลงสิ้นสุดลง
มาตรา 68 อัฏฐ
แก้ไขเมื่อรัฐมนตรีมีคำสั่งตามมาตรา 68 ทวิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งคำสั่งของรัฐมนตรีให้ผู้รับสัมปทานทราบเป็นหนังสือ หรือเมื่อสิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานในเขตพื้นที่สัมปทานทั้งแปลงหรือบางส่วนต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงการสิ้นสุดดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหาย ผู้รับสัมปทานจะต้องยื่นคำขอเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายต่ออธิบดีกรมป่าไม้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับหนังสือของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แจ้งคำสั่งของรัฐมนตรี หรือแจ้งการสิ้นสุดของสัมปทานตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี
คำขอตามวรรคสองให้ทำเป็นหนังสือ พร้อมทั้งจัดทำบัญชีแสดงจำนวนเงินชดเชยความเสียหายที่ตนเห็นว่าสมควรจะได้รับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 68 สัตต โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนข้อเรียกร้องของตนตามความจำเป็น
ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานที่ขอเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหาย เป็นผู้ใช้สิทธิตามมาตรา 68 ฉ (2) ผู้รับสัมปทานต้องขอเวนคืนสัมปทานที่เหลือทั้งหมดของตนก่อนหรือในวันที่ขอเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายตามมาตรานี้
มาตรา 68 นว
แก้ไขในการพิจารณากำหนดเงินชดเชยความเสียหาย ให้อธิบดีกรมป่าไม้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนกรมสรรพากรหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหนึ่งคน ผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาทรัพย์สินหนึ่งคน และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้หนึ่งคน เพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดเงินชดเชยความเสียหาย
ให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้รับสัมปทานมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ตลอดจนเรียกให้ผู้รับสัมปทานมาเจรจาเพื่อกำหนดเงินชดเชยดังกล่าวได้ และในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการดำเนินการกำหนดเงินชดเชยความเสียหายตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิชักช้า
เมื่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งได้กำหนดเงินชดเชยความเสียหายเสร็จสิ้นแล้วให้ทำบันทึกรายงานเสนอต่ออธิบดีกรมป่าไม้โดยบันทึกรายงานดังกล่าวจะต้องแสดงรายละเอียดและเหตุผลของการพิจารณาว่าการกำหนดเงินชดเชยดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร มีเหตุผลสนับสนุนเพียงใด พร้อมทั้งระบุเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา และในกรณีที่อธิบดีกรมป่าไม้ไม่เห็นชอบด้วย ให้อธิบดีกรมป่าไม้มีอำนาจแก้ไขตามที่เห็นสมควรพร้อมทั้งแสดงเหตุผลกำกับในบันทึกไว้ด้วย
ให้อธิบดีกรมป่าไม้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงจำนวนเงินชดเชยความเสียหายที่ผู้รับสัมปทานจะได้รับพร้อมด้วยเหตุผลตามสมควร และให้กำหนดระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานจะมาขอรับเงินชดเชยดังกล่าวไว้ด้วย
มาตรา 68 ทศ
แก้ไขผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่พอใจในเงินชดเชยความเสียหายที่อธิบดีกรมป่าไม้แจ้งให้ทราบตามมาตรา 68 นว ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมป่าไม้ดังกล่าว
ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาทรัพย์สิน มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเก้าคน เป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์
มาตรา 68 เอกาทศ
แก้ไขในกรณีที่ผู้รับสัมปทานยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 68 ทศ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 68 ทศ วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลและศาลพิพากษาให้ผู้รับสัมปทานได้รับเงินชดเชยความเสียหายเพิ่มขึ้น ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของเงินชดเชยความเสียหายเฉพาะในส่วนที่เพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
หมวด 7 บทกำหนดโทษ
แก้ไขมาตรา 69
แก้ไข[47] ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น
(1) ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ
(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้น หรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร
ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท
มาตรา 70
แก้ไขผู้ใดรับไว้ด้วยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้น ซึ่งไม้หรือของป่าที่ตนรู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้หรือของป่าที่มีผู้ได้มาโดยการกระทำผิดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำผิดนั้น
มาตรา 71
แก้ไข[48] ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 44 วรรคสอง หรือมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 71 ทวิ
แก้ไข[49] ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 มาตรา 29 ทวิ มาตรา 39 มาตรา 39 ตรี มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มาตรา 43 วรรคสอง หรือมาตรา 53 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 72
แก้ไข[50] ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 41 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 72 ทวิ
แก้ไข[51] ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 51 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น
(1) ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ
(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินห้าต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้ที่ครอบครองเกินหนึ่งลูกบาศก์เมตรหรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้วรวมปริมาตรไม้เกินหนึ่งลูกบาศก์เมตร
ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 72 ตรี
แก้ไข[52] ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 54 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองป่าที่ตนได้กระทำความผิด ศาลมีอำนาจที่สั่งให้ผู้กระทำผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำผิด ออกไปจากป่านั้นได้ด้วย
มาตรา 73
แก้ไข[53] ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 13 มาตรา 31 หรือมาตรา 48 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าการกระทำผิดนั้นเกี่ยวกับ
(1) ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ
(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้น หรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้วรวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตร
ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท
มาตรา 73 ทวิ
แก้ไข[54] ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 53 ตรี หรือผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือข้อกำหนดที่รัฐมนตรีกำหนดให้ปฏิบัติเพิ่มเติมตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 74
แก้ไข[55] บรรดาไม้และของป่าอันได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้และสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ และสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามที่มีไว้ เนื่องจากการกระทำความผิดตามมาตรา 53 ตรี ให้ริบเสียทั้งสิ้น
มาตรา 74 ทวิ
แก้ไข[56] บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 11 มาตรา 48 มาตรา 54 หรือมาตรา 69 ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
มาตรา 74 ตรี
แก้ไข[57] บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีกรมป่าไม้หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับไม่ต่ำกว่าป่าไม้จังหวัดหรือหัวหน้าด่านป่าไม้มีอำนาจเปรียบเทียบได้
มาตรา 74 จัตวา
แก้ไข[58] ในกรณีที่มีผู้นำจับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาล และให้ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับเป็นจำนวนเงินไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าปรับตามคำพิพากษาโดยจ่ายจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาล ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ชำระเงินค่าปรับ หรือชำระไม่ถึงจำนวนที่จะต้องจ่ายค่าสินบนนำจับได้ครบถ้วน ก็ให้จ่ายเงินสินบนนำจับที่ยังจะต้องจ่ายจากเงินค่าขายของกลางที่ศาลสั่งให้ริบ ถ้ายังขาดอยู่อีกก็ให้เป็นพับไป
ในกรณีที่มีผู้นำจับหลายคน ให้แบ่งเงินสินบนนำจับให้คนละเท่า ๆ กัน
การจ่ายเงินสินบนนำจับนั้น จะจ่ายได้เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
หมวด 8 การรักษาพระราชบัญญัติ
แก้ไขมาตรา 75
แก้ไขให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม*รักษาการตามระราชบัญญัตินี้ กับให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินจำนวนอย่างสูงที่กำหนดไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
บทเฉพาะกาล
แก้ไขมาตรา 76
แก้ไขสัมปทานและใบอนุญาตที่ได้ออกให้แก่บุคคลใดเพื่อทำไม้หรือเก็บหาของป่าไว้แล้วในวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้คงใช้ได้ต่อไปเสมือนหนึ่งเป็นสัมปทานและใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในพระราชบัญญัตินี้เพียงเท่ากำหนดอายุของสัมปทานและใบอนุญาตนั้น
มาตรา 77
แก้ไขบรรดาตราประทับไม้ของเอกชนที่ได้จดทะเบียนและเสียค่าธรรมเนียมไว้แล้วก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้คงใช้ได้ต่อไปมีกำหนดร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ถ้าเจ้าของตราประทับไม้ของเอกชนประสงค์จะใช้ตรานั้นต่อจากนั้นไป ต้องนำไปขอจดทะเบียนใหม่ตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนอีก
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
อัตราค่าธรรมเนียม
แก้ไข- (1) แบบพิมพ์คำขอ ฉบับละ 25 สตางค์
- (2) การอนุญาตเจาะต้นตะเคียน ตาแมวทำชัน เจาะต้นสน เอายาง สับหรือกรีด ต้นเยลูตอง เอายาง ต้นละ 2 บาท
- (3) การอนุญาตเจาะเผาต้นยาง ทำน้ำมันยาง ต้นละ 50 สตางค์
- (4) การอนุญาตเจาะ สับ หรือ กรีดไม้ชนิดอื่น ๆ เอาน้ำมัน ชัน หรือยาง ต้นละ 10 บาท
- (5) ใบอนุญาตทำไม้เพื่อการค้า ฉบับละ 20 บาท
- (6) ใบอนุญาตเก็บหาของป่า หวงห้าม ฉบับละ 10 บาท
- (7) ใบอนุญาตค้าของป่าหวงห้าม หรือใบอนุญาตมีไว้ ในครอบครองซึ่งของป่า หวงห้าม ฉบับละ 20 บาท
- (8) ใบอนุญาตเก็บไม้ไหลลอย ฉบับละ 10 บาท
- (9) ใบอนุญาตตั้งโรงงาน แปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักร คิดตามจำนวนแรงม้า แรงม้าละ 50 บาท
- (10) ใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูป ไม้โดยใช้แรงคน คิดตาม จำนวนคนงาน คนละ 10 บาท
- (11) ใบอนุญาตทำการแปรรูปไม้ เพื่อการค้า คิดตามปริมาตร ไม้ที่ยังมิได้แปรรูป ลูกบาศก์เมตรละ 10 บาท
- (12) ใบอนุญาตค้าหรือมีไว้ ในครอบครองเพื่อการค้า ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วย ไม้หวงห้าม ฉบับละ 2,000 บาท
- (13) ใบอนุญาตมีไม้แปรรูป ชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครองครองฉบับละ20บาท
- (14) ใบอนุญาตตั้งโรงค้าไม้ แปรรูป ฉบับละ 1,000 บาท
- (15) ใบอนุญาตอื่น ๆ ฉบับละ5บาท
- (16) ใบแทนใบอนุญาตเท่ากับ อัตราค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตนั้น แต่ไม่เกิน ฉบับละ 10 บาท
- (17) ใบอนุญาตผูกขาด ทำไม้สัก ฉบับละ 15,000 บาท
- (18) ใบอนุญาตผูกขาดทำไม้ หวงห้ามธรรมดา นอกจากไม้สัก ฉบับละ 7,500 บาท
- (19) ใบอนุญาตผูกขาดเก็บหา ของป่าหวงห้าม ฉบับละ 1,000 บาท
- (20) ใบแทนใบอนุญาต ผูกขาดฉบับละ25บาท
- (21) สัมปทานทำไม้สัก ฉบับละ 30,000 บาท
- (22) สัมปทานทำไม้หวงห้าม ธรรมดานอกจากไม้สัก ฉบับละ 15,000 บาท
- (23) สัมปทานเก็บหาของป่า หวงห้าม ฉบับละ 3,000 บาท
- (24) ใบแทนสัมปทาน ฉบับละ 500 บาท
- (25) การโอนใบอนุญาตหรือสัมปทาน คิดครึ่งอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหรือสัมปทานนั้น ๆ
- (26) ใบเบิกทาง
- (ก) ไม้สัก ฉบับละ 50 บาท
- (ข) ไม้ชนิดอื่น ๆ ฉบับละ 20 บาท
- (ค) ของป่า ฉบับละ 5 บาท
- (27) การอุทธรณ์
- (ก) เรื่องเกี่ยวกับการ อนุญาต การผูกขาด หรือสัมปทาน ครั้งละ 100 บาท
- (ข) เรื่องการขอตั้งหรือ ต่ออายุใบอนุญาต โรงงานแปรรูปไม้ โดยใช้เครื่องจักร ครั้งละ 100 บาท
- (ค) เรื่องการขอตั้งหรือ ต่ออายุใบอนุญาต โรงงานแปรรูปไม้ โดยใช้แรงคน ครั้งละ 50 บาท
- (ง) เรื่องการขออนุญาต ตั้งโรงค้าไม้ แปรรูป ครั้งละ 50 บาท
- (จ) เรื่องอื่น ๆ ครั้งละ 10 บาท
- (28) ใบคู่มือคนงานหรือผู้รับจ้าง หรือใบแทน ฉบับละ 1 บาท
- (29) ค่าจดทะเบียนตราประทับไม้เอกชน ดวงละ 200 บาท
- (30) ค่าธรรมเนียมขอตรวจ เอกสาร ฉบับละ 5 บาท
- (31) ค่าธรรมเนียมคัดหรือถ่ายภาพเอกสารและรับรองสำเนา หน้าละ 10 บาท
- (32) ค่าธรรมเนียมขอตรวจแผนที่ป่า ครั้งละ 100 บาท
- (33) ค่าธรรมเนียมคัดหรือถ่ายภาพแผนที่ป่าและรับรองสำเนา ฉบับละ 500 บาท
- (34) ค่าธรรมเนียมทำการล่วงเวลา คิดร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงที่คำนวณได้ในครั้งนั้น ๆ แต่อย่างสูงไม่เกิน 400 บาท
- (35) ค่าธรรมเนียมรับคืนไม้ไหลลอย ท่อนละ 20 บาท
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491
แก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494
แก้ไขมาตรา 18
แก้ไขให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมตามบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมตามบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 19
แก้ไขสัมปทานและใบอนุญาตผูกขาดที่ได้ออกให้แก่ผู้ใด เพื่อการทำไม้หรือเก็บหาของป่าไว้แล้ว ในวันใช้พระราชบัญญัตินี้ อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 11 หรือมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้คงใช้ได้ต่อไปเพียงเท่ากำหนดอายุของสัมปทานหรือใบอนุญาตผูกขาดนั้น
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503
แก้ไขมาตรา 19
แก้ไขบทบัญญัติมาตรา 5 และมาตรา 7 ไม่กระทบกระทั่งบรรดาใบอนุญาตการทำไม้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้ตามความในมาตรา 7 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ จนกว่าใบอนุญาตนั้น ๆ จะสิ้นอายุ
มาตรา 20
แก้ไขในระหว่างเวลาที่ยังมิได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดอัตราค่าภาคหลวงตามความในมาตรา 9 การเสียค่าภาคหลวงให้เป็นไปตามอัตราที่รัฐมนตรีได้กำหนดไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 21
แก้ไขในระหว่างเวลาที่ยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามอื่นนอกจากไม้สักและไม้ยางตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 ไม้อื่นนอกจากไม้สักและไม้ยางจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ:
แก้ไขเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 บางมาตรา มีข้อความไม่รัดกุมเหมาะสมกับกาลสมัย โดยเฉพาะบทกำหนดโทษ กำหนดไว้ต่ำมากไม่ทำให้ผู้กระทำผิดเกรงกลัว หรือเข็ดหลาบ เป็นช่องทางให้มีการลักลอบตัดฟันไม้ทำลายป่ารวมทั้งลักลอบทำการแผ้วถางป่ามากขึ้น เพราะไม้หรือของป่าทุกชนิดมีราคาสูงขึ้นจึงเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเสียใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นการป้องกันการทำลายป่าไม้ อันเป็นทรัพยากรของชาติ ให้มีสภาพอันจะอำนวยประโยชน์แก่รัฐและประชาชนด้วยดีสืบไป
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
แก้ไขข้อ 11
แก้ไขความในมาตรา 39 ตรี แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ไม่ใช้บังคับแก่การนำไม้สักที่เคยอยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วเคลื่อนที่โดยมีหนังสืออนุญาตของผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ก่อนวันใช้บังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้
ข้อ 12
แก้ไขผู้ใดมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับไม่เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร ถ้าประสงค์จะครอบครองไม้สักแปรรูปนั้นต่อไป ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสืออนุญาตให้ครอบครองได้โดยไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ข้อ 13
แก้ไขใบอนุญาตแปรรูปไม้ ใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ใบอนุญาตค้าไม้แปรรูป ใบอนุญาตมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ซึ่งได้ออกให้ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ และในระหว่างที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุดังกล่าวมิให้นำความในมาตรา 61 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรกลซึ่งเป็นผู้ไม่มีลักษณะตามมาตรา 49 (1) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 49 (2) (3) หรือ (4) อยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
แก้ไขมาตรา 29
แก้ไขให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494 และให้ใช้บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 30
แก้ไขผู้ใดได้รับอนุญาตให้ทำไม้ หรือเป็นผู้รับสัมปทานอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และได้นำหรือประสงค์จะนำเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่ตนมิได้เป็นเจ้าของ เข้าไปในเขตป่าที่ได้รับอนุญาต หรือในเขตสัมปทาน ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด
เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่ผู้รับอนุญาตทำไม้หรือผู้รับสัมปทานนำเข้าไปในเขตป่าที่ได้รับอนุญาต หรือในเขตสัมปทานโดยมิได้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เป็นของผู้รับอนุญาตทำไม้ หรือผู้รับสัมปทาน แล้วแต่กรณี
มาตรา 31
แก้ไขให้ถือว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้ามที่ออกตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 32
แก้ไขให้ถือว่าขนาดจำกัดที่กำหนดขึ้นและใช้อยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นขนาดจำกัดที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
หมายเหตุ
แก้ไขเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยป่าไม้บางมาตรามีข้อความไม่รัดกุม และไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อคุ้มครองและบำรุงรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
แก้ไขหมายเหตุ
แก้ไขเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ได้ใช้บังคับมานานแล้ว บทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษไม่เหมาะสมแก่สภาวการณ์ปัจจุบันเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษให้สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525
แก้ไขหมายเหตุ
แก้ไขเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากว่าขณะนี้ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ยังมีประชาชนในชนบทอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีเงินจะไปซื้อไม้และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาสร้างบ้านอยู่อาศัย ก็เนื่องจากความยากจนเป็นเหตุ จึงได้กระทำผิดไปด้วยความจำเป็น โดยไปตัดไม้ในป่ามาสร้างบ้านของตนเองบ้าง ซ่อมแซมบ้านของตนเองบ้าง มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัยหรือมีไม้ไว้ในความครอบครองเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อซ่อมแซมบ้านก็ดี หรือมีไม้ไว้เพื่อทำเครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ บ้างก็ดี จึงเป็นกรณีที่น่าเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง แม้บางครั้งศาลสถิตย์ยุติธรรมจะให้ความปราณีอย่างไรก็ยังทำให้ประชาชนผู้ยากไร้ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสอยู่ดี เพราะติดขัดอยู่ที่ตัวบทกฎหมาย เพื่อให้ศาลสถิตย์ยุติธรรมได้มีโอกาสพินิจพิเคราะห์ถึงความหนักเบาของข้อเท็จจริงแต่ละคดี ในการที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดได้ดีและมากขึ้น จึงสมควรแก้ไขโทษขั้นต่ำของมาตรา 69, 73 บางกรณี เสียใหม่ให้ต่ำลงเล็กน้อย ส่วนโทษขั้นสูงก็เพิ่มให้สูงขึ้น บางกรณีเช่นเดียวกัน เพื่อลงโทษผู้ที่ทำลายป่าไม้ให้หนัก
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พ.ศ. 2532
แก้ไขมาตรา 4
แก้ไขบรรดาสัมปทานที่ได้ออกให้แก่บุคคลใดไว้แล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้มีผลใช้บังคับ และพื้นที่สัมปทานดังกล่าวทั้งแปลงหรือบางส่วนอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ให้สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานในเขตพื้นที่ดังกล่าวสิ้นสุดลงนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้มีผลใช้บังคับ และให้ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับเงินชดเชยความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 68 ฉ มาตรา 68 สัตต มาตรา 68 อัฏฐ มาตรา 68 นว มาตรา 68 ทศ และมาตรา 68 เอกาทศ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงการสิ้นสุดของสัมปทานโดยเร็ว
เพื่อประโยชน์ในการบังคับตามมาตรา 68 จัตวา และมาตรา 68 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ ให้ถือว่าสิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานซึ่งสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง เป็นการสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
หมายเหตุ
แก้ไขเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันสภาพป่าไม้ของประเทศได้ถูกทำลายจนทำให้สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติขาดความสมดุล อันจะยังผลให้ภัยพิบัติสาธารณะดังเช่นที่เกิดขึ้นในจังหวัดภาคใต้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2531 อาจเกิดขึ้นอีกได้ จำเป็นต้องระงับยับยั้งมิให้มีการทำไม้ออกจากป่าและเร่งรัดฟื้นฟูสภาพป่าขึ้นโดยเร็ว แต่โดยที่พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มิได้ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะยับยั้งการทำไม้ออกจากป่าที่ได้เปิดการทำไม้โดยให้สัมปทานไปแล้วได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องให้อำนาจดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งการกำหนดให้สัมปทานที่มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสิ้นสุดลง ทั้งนี้ โดยให้ผู้รับสัมปทานที่สัมปทานต้องสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินชดเชยความเสียหายภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมทั้งแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและประโยชน์ของเอกชน และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะและเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
พระราชกฤษฎีกาโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แก้ไขไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2546 [68]
มาตรา 10
แก้ไขโดยผลของบทบัญญัติแห่งมาตรา 230 วรรค 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชกฤษฎีกานี้มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติในกฎหมาย ดังนี้
(5) ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
มาตรา 11
แก้ไขในวาระเริ่มแรก ให้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 โดยอนุโลม จนกว่าจะมีกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขึ้นใหม่
หมายเหตุ :
แก้ไขเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กรมป่าไม้เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาการบริหาร ทั้งในด้านนโยบาย วิชาการ บุคลากร และการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเป็นเหตุให้ระบบการบริหารงานและการบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบูรณาการตามกลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและนโยบายของรัฐบาล สมควรโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง ตำแหน่งและอัตรากำลัง ไปเป็นกรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสมควรที่จะได้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งโอนอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ไปเป็นของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีขอบเขตที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน นอกจากนี้ สมควรแก้ไขการใช้อำนาจของรัฐมนตรีและการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้สอดคล้องกับการดำเนินการดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58/-/หน้า 1417/15 ตุลาคม 2484
- ↑ มาตรา 4 (2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 4 (3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494
- ↑ มาตรา 4 (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 4 (5) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 4 (7) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 4 (11) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 8 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 9 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494
- ↑ มาตรา 11 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494
- ↑ มาตรา 14 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 15 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494
- ↑ มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ ส่วนที่ 3 การยกเว้นค่าภาคหลวง มาตรา 19 ถึงมาตรา 24 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503
- ↑ ส่วนที่ 4 ไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้าม มาตรา 25 ถึงมาตรา 26 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 29 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494
- ↑ มาตรา 29 ทวิ เพิ่มโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 30 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 33 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 35 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494
- ↑ มาตรา 38 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 39 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503
- ↑ มาตรา 39 ตรี เพิ่มโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 40 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503
- ↑ มาตรา 48 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 49 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 49 ทวิ เพิ่มโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 50 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 51 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 53 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 53 ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 53 จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 54 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 58 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 58 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 59 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 61 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 116 ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2515
- ↑ มาตรา 61 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 64 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 64 ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ หมวด 6 ทวิ การสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัมปทานและการสิ้นสุดของสัมปทาน มาตรา 68 ทวิ ถึงมาตรา 68 เอกาทศ เพิ่มโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พ.ศ. 2532
- ↑ มาตรา 69 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525
- ↑ มาตรา 71 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
- ↑ มาตรา 71 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
- ↑ มาตรา 72 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
- ↑ มาตรา 72 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
- ↑ มาตรา 72 ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
- ↑ มาตรา 73 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525
- ↑ มาตรา 73 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
- ↑ มาตรา 74 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2522
- ↑ มาตรา 74 ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503
- ↑ มาตรา 74 ตรี เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ มาตรา 74 จัตวา เพิ่มโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ อัตราค่าธรรมเนียม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 65/ตอนที่ 68/หน้า 768/30 พฤศจิกายน 2491
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 68/ตอนที่ 46/หน้า 1026/17 กรกฎาคม 2494
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77/ตอนที่ 62/ฉบับพิเศษ หน้า 11/25 กรกฎาคม 2503
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89/ตอนที่ 59/ฉบับพิเศษ หน้า 1/11 เมษายน 2515
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92/ตอนที่ 5/ฉบับพิเศษ หน้า 1/9 มกราคม 2518
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96/ตอนที่ 64/ฉบับพิเศษ หน้า 9/28 เมษายน 2522
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99/ตอนที่ 33/ฉบับพิเศษ หน้า 5/5 มีนาคม 2525
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106/ตอนที่ 8/ฉบับพิเศษ หน้า 9/14 มกราคม 2532
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120/ตอนที่ 93 ก/หน้า 6/30 กันยายน 2546
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"