พระราชบัญญัติพาสีชายโสด พุทธสักราช 2487
คนะผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์
(ตามประกาสประธานสภาผู้แทนราสดร
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธสักราช 2480
และลงวันที่ 16 ธันวาคม พุทธสักราช 2484)
โดยที่สภาผู้แทนราสดรลงมติว่า สมควนเก็บพาสีชายโสด
จึงมีพระบรมราชโองการไห้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราสดร ดังต่อไปนี้
มาตรา1พระราชบัญญัตินี้ไห้เรียกว่า "พระราชบัญญัติพาสีชายโสด พุทธสักราช 2487"
มาตรา2ไห้ไช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาสไนราชกิจจานุเบกสาเปนต้นไป
มาตรา3ไนพระราชบัญญัตินี้
"ปี" หมายความว่า ปีปติทิน
"ภาวะเปนโสด" หมายความว่า ภาวะที่ไม่มีภรรยาโดยชอบด้วยกดหมาย หรือมีภรรยาโดยชอบด้วยกดหมายแต่ขาดจากกันแล้ว
"ชาย" หมายความว่า ชายมีสัญชาติไทย และมีอายุตั้งแต่ 25 ปีบริบูรน์ แต่ไม่เกิน 45 ปีบริบูรน์ ไนวันต้นของปีที่ล่วงมาแล้ว
มาตรา4ไนการประเมินพาสีเงินได้ตามประมวนรัสดากร จำนวนซึ่งถึงคราวประเมินเรียกเก็บไนปี 2488 และปีต่อไป ถ้าปรากตแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า ผู้ยื่นรายการผู้ไดเปนชาบซึ่งหยู่ไนภาวะเปนโสดตลอดปีที่ล่วงมาแล้ว มีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปีละ 960 บาทขึ้นไป ไห้เจ้าพนักงานประเมินประเมินเรียกเก็บพาสี เรียกว่า พาสีชายโสด เปนเงิน 5 บาท หรือไนอัตราร้อยละ 12 ของพาสีเงินได้ที่ต้องเสีย แล้วแต่หย่างไดจะมากกว่า และแจ้งจำนวนพาสีไห้ผู้ยื่นรายการดังกล่าวซาบเช่นเดียวกับพาสีเงินได้
มาตรา5ไห้ผู้ยื่นรายการที่ได้รับซาบจำนวนพาสีตามมาตรา 4 มีหน้าที่ต้องเสียพาสีชายโสด และไห้เสียพายไนกำหนดเวลาเช่นเดียวกับพาสีเงินได้
มาตรา6ไนการปติบัติจัดเก็บพาสีชายโสดนี้ ไห้นำบทบัญญัติแห่งประมวนรัสดากรมาไช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา7ผู้ที่สแดงหลักถานเปนที่พอไจได้ว่า ตลอดปีที่ล่วงมาแล้ว
(ก)เปนพระภิกสุ
(ข)มีลูกที่ยังมีชีวิตหยู่
(ค)ต้องรับอาญาหยู่ไนเรือนจำ
(ง)เปนโรคติดต่อหย่างร้ายแรง
(จ)ทำการสมรสไม่ได้โดยมีอวัยวะสืบพันธุ์ไม่สมบูรน์
(ฉ)เปนบุคคลวิกลจริต หรือ
(ช)รับราชการทหานกองประจำการหรือตำหรวดตามกดหมายว่าด้วยการรับราชการทหาน
ไห้ได้รับยกเว้นพาสีชายโสด
มาตรา8ไห้รัถมนตรีว่าการกะซวงการคลังรักสาการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- นายกรัถมนตรี
บรรณานุกรม
แก้ไข- "พระราชบัญญัติพาสีชายโสด พุทธสักราช 2487". (2487, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 61, ตอน 6 ก. หน้า 81–84.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"