พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙/๔
ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
(๑) “เรือนจำ” หมายความว่า ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขังผู้ต้องขัง กับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และให้หมายความรวมตลอดถึง ที่อื่นใดซึ่งรัฐมนตรีได้กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน
(๒) “ผู้ต้องขัง” หมายความรวมตลอดถึง นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก
(๓) “นักโทษเด็ดขาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจำคุกภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และหมายความรวมถึง บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย[1]
(๔) “คนต้องขัง” หมายความว่า บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง
(๕) “คนฝาก” หมายความว่า บุคคลที่ถูกฝากให้ควบคุมไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นโดยไม่มีหมายอาญา
(๖) “นักโทษพิเศษ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งส่งไปอยู่ทัณฑนิคมตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งบังคับบัญชาการราชทัณฑ์
(๘) “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์
- ↑ มาตรา ๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๒