พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 4)

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา
พุทธศักราช ๒๔๗๗
(ฉะบับที่ ๔)

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗)
ตราไว้ณวันที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๘
เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาบางมาตรา

จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๔)”

มาตราให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้เพิ่มข้อความอีกสองตอนต่อไปนี้เข้าต่อท้ายมาตรา ๒๗๐ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา

“ผู้ใด เพื่อสินไถ่ บังอาจหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือบังอาจพาผู้หนึ่งผู้ใดไป โดยใช้กำลังก็ดี หรือขู่เข็ญให้ไปด้วยความกลัวก็ดี หรือใช้อุบายล่อลวงด้วยประการใด ๆ ก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นมีความผิดฐานจับคนเพื่อสินไถ่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่พันบาทจนถึงห้าพันบาท”

“สินไถ่ หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอาหรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนคนที่ถูกจับกลับคืนมา”

มาตราให้เพิ่มข้อความอีกสองตอนต่อไปนี้เข้าต่อท้ายมาตรา ๒๗๒ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา

“ในกรณีจับคนเพื่อสินไถ่ ถ้าทำให้เขามีบาดเจ็บถึงสาหัสหรือถึงวิกลจริต หรือถูกข่มขืนทำชำเรา ท่านว่า มันต้องระวางโทษจำคุกยี่สิบปี หรือจำคุกจนตลอดชีวิต

ในกรณีอย่างเดียวกันนั้น ถ้าทำให้เขาได้รับบาดเจ็บโดยกระทำทรมานหรือการแสดงความดุร้ายให้ได้รับความลำบากอย่างสาหัส หรือทำให้เขาถึงแก่ความตาย ท่านให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตมันเสีย

ในกรณีอย่างเดียวกันนั้น ถ้าทำให้เขาได้รับบาดเจ็บโดยกระทำทรมานหรือการแสดงความดุร้ายให้ได้รับความลำบากอย่างสาหัส หรือทำให้เขาถึงแก่ความตาย ท่านให้จำคุกมันไว้จนตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตมันเสีย”

มาตราให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เข้าเป็นมาตรา ๒๗๒ ทวิ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา

“ผู้ใดช่วยเหลือในการกระทำผิดโดยลักษณะที่กล่าวไว้ในมาตรา ๖๕ จะเป็นก่อนหรือในขณะกระทำผิด หรือภายหลังการกระทำผิด ฐานจับเพื่อสินไถ่ก็ดี หรือขัดขวางทางดำเนินการของเจ้าพนักงานที่พยายามสืบสวนหรือจับผู้กระทำผิดก็ดี หรือกระทำตนเป็นคนกลางโดยมีเงื่อนไขว่า ผู้กระทำผิดจำต้องแบ่งสินไถ่เป็นรางวัลอันมิควรได้ให้แก่มัน หรือบุคคลผู้ให้สินไถ่จำต้องให้รางวัลอันมิควรได้แก่มันก็ดี ท่านว่า มันมีความผิดฐานเป็นตัวการดุจกัน”

มาตราให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เข้าเป็นมาตรา ๒๗๒ ตรี แห่งกฎหมายลักษณะอาญา

“ในกรณีจับคนเพื่อสินไถ่ ถ้าผู้กระทำผิดจัดการให้ผู้ที่ถูกหน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือถูกพาไปได้กลับคืนมาโดยมิได้รับบาดเจ็บสาหัส วิกลจริต หรือตกอยู่ในสภาพอดอยากซึ่งเป็นภยันตรายต่อชีวิต ท่านให้ลดอาญาให้มันหนึ่งในสาม แต่ทั้งนี้ ต้องได้จัดให้กลับคืนมาก่อนศาลพิพากษาคดี”

มาตราให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เข้าเป็นมาตรา ๓๐๑ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา และใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๓๐๑ ถ้าคนตั้งแต่สามคนด้วยกันขึ้นไป และมันมีสาตราวุธแม้แต่คนเดียวก็ดี กระทำการชิงทรัพย์ ท่านว่า มันมีความผิดฐานเป็นโจรปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไปจนถึงสิบห้าปี

ถ้าในการปล้นนั้นทำให้เขามีบาดเจ็บถึงสาหัส ท่านว่า มันผู้เป็นโจรนั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไปจนถึงยี่สิบปี หรือจำคุกจนตลอดชีวิต

ถ้าในการปล้นนั้นทำให้เขามีบาดเจ็บโดยใช้อาวุธปืนยิง หรือใช้วัตถุระเบิดทำร้าย หรือกระทำทรมานหรือการแสดงความดุร้ายให้ได้รับความลำบากอย่างสาหัส ท่านว่า มันผู้เป็นโจรนั้นต้องระวางโทษจำคุกยี่สิบปี หรือจำคุกจนตลอดชีวิต

ถ้าแลในการปล้นนั้นทำให้เขาถึงตาย ท่านว่า มันผู้เป็นโจรนั้นต้องระวางโทษจำคุกจนตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต แต่ความในตอนนี้ ท่านไม่ประสงค์จะให้เอาไปใช้ลบล้างอาญาที่ท่านบัญญัติไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยฉกรรจ์อย่างหนึ่งอย่างใดที่ท่านกล่าวไว้ในมาตรา ๒๕๐ นั้น”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
(ตามมติคณะรัฐมนตรี)
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
รัฐมนตรี

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"