พระราชบัญญัติ์ว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม (2452)/ส่วนที่ 1

พระราชบัญญัติธง
รัตนโกสินทรศก ๑๑๘

ศุภมัสดุ ลุรัตนโกสินทรศก ๑๑๘ วันที่ ๑ ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสถิตย์ในพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาทเบื้องปฉิมาภิมุข ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมว่า ธงอันเปนสำคัญเครื่องหมายแห่งสยามประเทศนี้ แต่ก่อนมาใช้ผ้าสีแดงเกลี้ยง ครั้นถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระราชดำริห์ว่า เรือหลวงกับเรือราษฎรควรมีเครื่องหมายสำคัญให้เห็นต่างกัน จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเก้ลา๚ สั่งให้บรรดาเรือหลวงทั้งปวงทำรูปจักรอันเปนนามสัญญาพระบรมราชวงษ์แห่งพระองค์ลงไว้ในกลางธงพื้นแดงนั้นเปนเครื่องหมายใช้ในเรือหลวง

ต่อมาถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ครั้งนั้น มีสารเสวตรอันอุดมด้วยลักษณมาสู่พระราชสมภารถึงสามช้าง เปนการพิเศษไม่มีได้ในประเทศอื่นเสมอเหมือน ควรจะอัศจรรย์ อาไศรย์คุณพิเศษอันนั้น จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า๚ ให้ทำรูปช้างเผือกลงไว้กลางวงจักรในธงเรือหลวงนั้นด้วย

ครั้นถึงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระรำพึงถึงเรือค้าขายของชนชาวสยามที่ใช้ธงสีแดงเกลี้ยงอยู่นั้นไม่เปนการสมควร เหตุว่าซ้ำกับประเทศอื่น ยากที่จะสังเกต เห็นเปนการควรจะใช้ธงอันมีเครื่องหมายเหมือนอย่างเรือหลวงทั่วไป แต่ว่ารูปจักรเปนของสูง ไม่สมควรที่ราษฎรจะใช้ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเก้ลา๚ ให้ยกรูปจักรออกเสีย คงแต่รูปช้างเผือกบนพื้นแดง ให้ใช้ทั่วไปทั้งเรือหลวง แลเรือราษฎรบรรดาที่เจ้าของเรือเปนข้าขอบขัณฑสีมามิให้เปนการสับสนกับเรือของชาวต่างประเทศ แลให้ทำธงรูปช้างเผือกบนพื้นสีขาบขึ้นอีกอย่างหนึ่งสำหรับใช้ชักที่น่าเรือหลวงทั้งปวงให้เปนที่สังเกตเห็นต่างกับเรือของราษฎรด้วย อนึ่ง เวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขวนเรือหลายลำ ทวยราษฎรผู้ตั้งใจจะเคารพเฉภาะใต้ผ์าลอองธุลีพระบาทสังเกตไม่ได้ว่า เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือลำใด ทรงพระกรุณาเพื่อจะเอาใจราษฎร จึงดำรัสเหนือเกล้า๚ ให้ทำธงสำหรับพระองค์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง พื้นนอกสีแดง พื้นในสีขาบ กลางมีพระมหาพิไชยมงกุฏ แลมีเครื่องสูง ๗ ชั้น ๒ ข้าง สำหรับชักขึ้นบนเสาเรือพระที่นั่ง เปนที่หมายว่า ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือลำนั้นแล้ว แลโปรดเกลา้๚ ให้ชักขึ้นบนเสาในพระบรมมหาราชวังด้วย ภายหลังเมื่อมิได้เสด็จประทับอยู่ในพระมหานคร ต้องลดธงสำหรับพระองค์ลงเสาเปล่าอยู่ ดูมิบังควร จึงดำรัสเหนือเก้ลา๚ ให้ทำธงไอยราพตอย่างพระราชลัญจกรไอยราพตประจำแผ่นดินสยามขึ้นใหม่สำหรับใช้ชักขึ้นบนเสาในพระบรมมหาราชวังในเวลาที่มิได้ประทับอยู่ในพระมหานครอีกอย่างหนึ่งด้วย

ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ก็ได้ใช้ธงทั้ง ๔ อย่างต่อมา แต่ว่าธงสำหรับพระองค์นั้น ได้โปรดเก้ลา๚ ให้เติมโล่ห์ตราแผ่นดินลงภายใต้พระมหาพิไชยมงกุฎเข้าด้วย ภายหลัง ทรงพระราชดำริห์ถึงธงที่ใช้อยู่ ๔ อย่างนั้น ยังหาพอเพียงแก่ที่จะใช้ประโยชน์ในราชการไม่ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเก้ลา๚ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามขึ้นใหม่ ให้มีธงสำหรับพระองค์ ราชตระกูล ธงตำแหน่งราชการ แลตำแหน่งนายทหารเรือ ทั้งธงนำร่องเพิ่มเติมขึ้น มีรูปธงแลข้อความพิศดารอยู่ในพระราชบัญญัติอันได้ตราไว้แต่ณวันที่ ๒๕ มินาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๐ นั้นแล้ว

บัดนี้ ได้ทรงพระราชดำริห์พิจารณาเห็นว่า ธงทุกอย่างตามพระราชบัญญัติซึ่งดำรัสเหนือเกัลา๚ ให้ตราไว้แล้วนั้น บางอย่างควรการ บางอย่างเกินการ แลบางอย่างไม่พอการ ควรที่จะเลิกถอนเสียบ้าง เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมขึ้นบ้าง ผสมกับของเก่าที่คงใช้ได้ สำหรับให้ใช้พอเพียงแก่การอันควรใช้ในสมัยนี้

จึ่งมีพระราชโองการดำรัสเหนือเก้ลา๚ ให้ตราพระราชบัญญัติธงเสียใหม่ สำหรับใช้แต่นี้ต่อไปเมื่อน่า ดังนี้

ชื่อพระราชบัญญัติ

มาตราพระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘

กำหนดให้ใช้

มาตรากำหนดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ เปนต้นไป

เลิกพระราชบัญญัติเก่า

มาตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเก้ลา๚ ให้ตราไว้เมื่อณวันที่ ๒๕ มินาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ แลลงวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ นั้น ให้ยกเลิกเสีย

กำหนดอย่างธง

มาตราแต่นี้ต่อไป ธงสำหรับใช้หมายตำแหน่งแลชาติ จงทำใช้ให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ต่อไปนี้

ธงมหาราช

ที่ธงมหาราช พื้นนอกสีแดง ขนาดกว้าง ๕ ส่วน ยาว ๖ ส่วน พื้นในสีขาบ ขนาดกว้าง ๓ ส่วน ยาว ๔ ส่วน ที่ในพื้นสีขาบนั้น กลางเปนรูปโล่ห์ ในโล่ห์แบ่งเปน ๓ ช่อง ๆ บนเปนรูปช้างไอยราพตอยู่บนพื้นเหลือง บอกนามสยามเหนือ สยามใต้ สยามกลาง ช่องล่างข้างขวาแห่งโล่ห์เปนรูปช้างเผือกอยู่บนพื้นชมภุ หันน่าออกไปข้างเสา เปนนามสัญญาแห่งลาวประเทศ ช่องล่างข้างซ้ายของโล่ห์เปนรูปกฤชคดแลตรง ๒ อันไข้วกันอยู่บนพื้นแดง บอกนามสัญญามลายูประเทศ เบื้องบนแห่งโล่ห์นั้นมีจักรกรีไขว้กัน แลมีมหาพิไชยมงกุฎสรวมบนจักรกรี แลมีเครื่องสูงเจ็ดชั้นสองข้างโล่ห์ มีแท่นรองแลเครื่องสูงด้วย รวมครบเครื่องหมายเหล่านี้ทั้งสิ้น จึ่งเปนธงมหาราชสำหรับพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อนายทหารคลี่เชิญไปในกระบวนใด เปนที่หมายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสดจ์โดยกระบวนนั้น ฤๅชักขึ้นในที่แห่งใด ก็เปนที่หมายว่า พระบาทสมเด์จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่นั้น ถ้าประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งฤๅเรือรบแล้ว ต้องชักขึ้นบนเสาใหญ่อยู่เปนนิตย

ธงไอยราพต

ที่ธงไอยราพต พื้นสีแดง มีรูปช้างไอยราพตสามเศียรทรงเครื่องยืนแท่น หันน่าไปข้างเสา มีบุษบกทรงอุณาโลมไว้ภายในตั้งอยู่บนหลัง แลเครื่องสูงเจ็ดชั้นอยู่น่าหลังช้างละสององค์ ธงนี้ประจำแผ่นดินสยาม สำหรับใช้ชักขึ้นในพระมหานครเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ประทับอยู่ในพระมหานคร

ธงราชินี

ที่ธงราชินี พื้นนอกสีแดง ขนาดกว้าง ๑๐ ส่วน ยาว ๑๕ ส่วน ชายตัดเปนแฉกรูปอย่างหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ ๔ แห่งด้านยาว พื้นในถัดมุมแฉกเข้ามาส่วนหนึ่งนั้นสีขาบ ขนาดกว้าง ๖ ส่วน ยาว ๘ ส่วน รูปเครื่องหมายที่พื้นสีขาบก็เหมือนกับธงมหาราช ธงนี้เปนเครื่องหมายพระองค์สมเด็จพระอรรคมเหษี สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ในเรือพระที่นั่งอันสมเดจพระอรรคมเหษีได้เสด็จโดยพระราชอิศริยยศ เปนที่หมายปรากฎว่า ได้เสด็จอยู่ในเรือลำนั้น

ธงเยาวราช

ที่ธงเยาวราช พื้นสีขาบ ขนาดกว้าง ๕ ส่วน ยาว ๖ ส่วน รูปเครื่องหมายในกลางธงเหมือนอย่างธงมหาราช เว้นแต่เครื่องสูงสองข้าง โล่ห์นั้นเปนห้าชั้น ธงนี้เปนเครื่องหมายในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมกุฎราชกุมาร สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ในเรือพระที่นั่งฤๅเรือรบลำใดลำหนึ่งซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมกุฎราชกุมารเสด็จโดยพระราชอิศริยยศ เปนที่หมายให้ปรากฎว่า ได้เสด็จอยู่ในเรือลำนั้น

ธงราชวงษ์

ที่ธงราชวงษ์ สำหรับพระราชวงษ์ ขนาดกว้าง ๕ ส่วน ยาว ๖ ส่วน พื้นธงสีขาบ กลางมีรูปโล่ห์ตราแผ่นดิน เบื้องบนแห่งโล่ห์นั้นมีรูปจักรกรีไขว้กัน แลมีมหามงกุฏสวมอยู่บนจักกรี สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ในเรือพระที่นั่งฤๅเรือรบลำใดลำหนึ่งซึ่งพระราชวงษ์องค์ใดองค์หนึ่งเสด็จโดยอิศริยศทางราชการ เปนที่หมายให้ปรากฎว่า พระราชวงษ์ได้เสด็จอยู่ในเรือพระที่นั่งฤๅเรือรบลำนั้น พระราชวงษ์ผู้ที่จะใช้ธงนี้ได้ก็จำเภาะแต่พระราชวงษ์ผู้ใหญ่ซึ่งมีอิศริยศสมควรที่จะรับสลุตอย่างหลวง ๒๑ นัด ในเรือรบมีทหารยืนบนเพลาใบ แลทหารบกยืนแถวคลี่ธงไชย์ แตรทำเพลงสรรเสริญพระบารมี ถวายคำนับเปนเกียรติยศเท่านั้น พระราชวงษ์อันมีอิศริยศอันต่ำกว่านั้น นับว่า เปนพระราชวงษ์ชั้นผู้น้อย ถ้ามีราชการไป ต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปนการพิเศษก่อน จึงจะใช้ธงราชวงษ์นี้ได้

ที่ถ้าพระบรมวงษานุวงษ์ฝ่ายใน สีธงแลเครื่องหมายต่าง ๆ เหมือนกัน เว้นแต่ตอ้งตัดชายเปนแฉกรูปอย่างหางนกแซงแซวเท่านั้น

ธงเรือหลวง

ที่ธงเรือหลวง สีแดง กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นน่าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักที่ในเรือหลวงทั้งปวง กับทั้งใช้ชักที่ปอ้มแลที่พักทหารบรรดาที่ขึ้นอยู่ในกรมทหารเรือทั้งสิ้น

ธงเสนาบดี

ที่ธงเสนาบดี พื้นสีขาบ กลางมีรูปสมอไข้วกับจักรสีเหลือง ข้างบนมีมหามงกุฏ ธงนี้เปนเครื่องหมายสำหรับตัวเสนาบดีฤๅรองเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เมื่อชักขึ้นบนเสาใหญ่ในเรือลำใด ให้พึงเข้าใจว่า เสนาบดีฤๅรองเสนาบดีกระทรวงทหารเรือได้อยู่ในเรือนั้น ถ้าแลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี พระอรรคมเหษีก็ดี ได้ประทับอยู่ในเรือหลวงลำหนึ่งลำใด อันได้ชักธงมหาราชฤๅธงราชินีขึ้นไว้บนเสาใหญ่ แลได้ชักธงเสนาบดีไว้บนเสาน่าด้วยแล้ว ก็ให้เจ้าน่าที่ในเรือรบแลปอ้มทั้งปวงยิงสลุดตามพระราชประเพณี ถ้ามีแต่ธงมหาราชฤๅธงราชินีชักขึ้นไว้บนเสาใหญ่ ไม่มีธงเสนาบดีบนเสาน่า ห้ามมิให้ยิงสลุดทุกน่าที่

ธงฉาน

ที่ธงฉาน พื้นสีขาบ กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นน่าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักขึ้นที่น่าเรือหลวงทั้งปวง ถ้าแลธงนี้ ชักขึ้นบนเสาใหญ่ เปนที่หมายว่า เรือนั้นอยู่ความในบังคับของนายพลเรือเอก ถ้าแลธงนี้มีรูปจักรสีขาวอยู่ที่มุมบนข้างน่าช้างชักขึ้นบนเสาน่า เปนที่หมายว่า เรือนั้นอยู่ในความบังคับของนายพลเรือโท ถ้าแลธงนี้มีรูปจักรสีขาวอยู่ทั้งมุมข้างบนแลมุมข้างล่างข้างช้างชักขึ้นบนเสาหลัง ฤๅเปนเรือสองเสาชักขึ้นบนเสาน่า เปนที่หมายว่า เรือนั้นอยู่ในความบังคับของนายพลเรือตรี

ธงหางแซงแซว

ที่๑๐ธงหางแซงแซว คือ ธงฉานตัดชายเปนแฉกอย่างหางนกแซงแซว สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ เปนที่หมายว่า นายพลเรือจัตวาอยู่ในเรือนั้น

ธงหางจรเข้

ที่๑๑ธงหางจรเข้ ขนาดกว้างต้นเจ็ดนิ้ว เรียวปลายแหลม ยาวสามวา ส่วนหนึ่งข้างต้นพื้นสีแดงสองส่วน ข้างปลายพื้นสีขาบ สำหรับชักขึ้นบนเสา เปนที่หมายเฉภาะนายเรือ

ธงผู้ใหญ่

ที่๑๒ธงผู้ใหญ่ ต้นกว้าง ๑๔ นิ้ว ยาวศอกคืบ เรียวปลายแหลม ส่วนหนึ่งข้างต้นพื้นสีขาบสองส่วน ข้างปลายพื้นสีขาว มีจักรสีขาวอยู่กลางพื้นสีขาบ ธงนี้สำหรับใช้กับธงหางจรเข้ ถ้าเรือหลวงทอดอยู่นอกพระมหานครตั้งแต่สองลำขึ้นไป เปนอันได้ชักธงหางจรเข้ขึ้นไว้บนเสาใหญ่ทุกลำ ถ้าเรือลำใดชักธงนี้ขึ้นด้วยบนเสาหลัง เปนที่หมายว่า นายเรือผู้ใหญ่อยู่ในเรือลำนั้น

ธงชาติ

ที่๑๓ธงชาติ พื้นสีแดง กลางเปนรูปช้างเผือกน่าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักในเรือทั้งหลายของพ่อค้าแลของสามัญชนทั่วไปบรรดาที่เปนชาติชาวสยาม

ธงนำร่อง

ที่๑๔ธงนำร่อง คือ ธงชาติ มีขอบสีขาวโดยรอบ ถ้าเรือลำใดต้องการนำร่อง พึงชักขึ้นบนเสาน่า

ตราตำแหน่ง

มาตราข้าทูลลอองธุลีพระบาทบรรดามีตำแหน่งนาที่ราชการอันหนึ่งอันใดจะใช้ธงเปนที่หมายตำแหน่งน่าที่ ให้ปรากฏในคราวไปราชการ ก็จงชักธงเรือหลวงนั้นเปนที่หมาย แต่ต้องเติมรูปตราตำแหน่ง ฤๅตรานามกรม ฤๅตรานามเมือง ลงไว้ที่มุมธงข้างบนข้างน่าช้างเปนสำคัญ ถ้าผู้ใด ตำแหน่งใด กรมใด จะใช้ตราอย่างใดเปนเครื่องหมายในธง ต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงให้ใช้ได้ ตราตำแหน่งอันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า๚ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วนั้น คือ ตราราชทูตแลข้าหลวงต่างพระองค์

ราชทูตฤๅข้าหลวงใหญ่ในสถานตำแหน่งผู้ที่แทนพระองค์พระเจ้าแผ่นดินฤๅผู้แทนรัฐบาล ใช้ตรารูปโล่หตราแผ่นดิน มีจักรกรีมหามงกุฎอยู่เบื้องบน (ดู หมายเลข ๑๕)

ตรากงสุล

กงสุลประจำราชการต่างประเทศ ใช้ตรารูปโล่ห์ตราแผ่นดิน (ดู หมายเลข ๑๖)

น่าที่สำหรับรักษาพระราชบัญญัติ

มาตราพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าน่าที่ทุกกระทรวงทุกกรมผู้ซึ่งจะต้องใช้ธงต่าง ๆ ตามนาที่รักษาพระราชบัญญัตินี้ทุกกระทรวงทุกกรม อย่าให้ทำนอกเหนือเหลือขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เปนอันขาด