พระราชพงษาวดาร/เล่ม 1/ส่วน 4/ภาค 3
(๑)ลุศักราช ๗๑๒ ปีขาล โทศก, พระเจ้าอู่ทอง ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี, เปนปฐมราชวงษ์ สร้างกรุงศรีอยุทธยา เสวยสมบัติ์ได้ ๒๐ ปี, สวรรคตในปีรกา เอกศก.
(๒)ลุศักราช ๗๓๑ ปีรกานั้น, สมเด็จพระราเมศวรราชบุตร์เสวยราชสมบัติ์ได้ปี ๑.
(๓)ลุศักราช ๗๓๒ ปีจอ โทศก, ขุนหลวงพงัว ทรงพระนาม สมเด็จบรมราชาธิราช, เข้ามาแต่เมืองสุพรรณบูรี, พระราเมศวรถวายสมบัติ์, เสด็จขึ้นเสวยสมบัติ์ได้ ๑๓ ปี, เสด็จสวรรคตในปีจอ จัตวาศก.
(๔)ลุศักราช ๗๔๔ ในปีจอนั้น, เจ้าทองจันทร์ราชบุตร์, นัยหนึ่งว่า เจ้าท้องลั่น ได้เสวยราชราชสมบัติ์ ๗ วัน. สมเด็จพระราเมศวรจับสำเร็จโทษเสีย, แล้วขึ้นเสวยสมบัติ์อีกครั้งหลังได้ ๖ ปี, สวรรคตในปีเถาะ นพศก.
(๕)ลุศักราช ๗๕๙ ในปีเถาะนั้น, สมเด็จพระเจ้ารามราชบุตร์, ได้เสวยสมบัติ์ได้ ๑๕ ปี, ต้องเนียรเทศในปีมเสง ตรีศก.
(๖)ลุศักราช ๗๖๓ ในปีมเสงนั้น, สมเด็จพระนครินทราชาธิราช, เสวยราชสมบัติ์ได้ ๑๘ ปี สวรรคตในปีจอ สัมฤทธิศก.
(๗)ลุศักราช ๗๘๐ ในปีจอนั้น, เจ้าสามพระยาราชบุตร์ ทรงพระนาม สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสวยราชสมบัติ์ได้ ๑๗ ปี, สวรรคตในปีขาล ฉอศก.
(๘)ลุศักราช ๗๙๖ ในปีขาลนั้น, สมเด็จพระบรมไตรยโลกยนารถราชบุตร์, เสวยราชสมบัติ์ได้ ๑๖ ปี, สวรรคตในปีมเสง เอกศก,
(๙)ลุศักราช ๘๑๑ ในปีมเสงนั้น, สมเด็จพระอินทร์ราชาราชบุตร์, เสวยราชสมบัติ์ได้ ๒๒ ปี, สวรรคตในปีขาล โทศก.
(๑๐)ลุศักราช ๘๓๒ ในปีขาลนั้น, สมเด็จพระรามาธิบดีราชบุตร์, เสวยสมบัติ์ ๔๐ ปี สวรรคตในปีมเสง เอกศก.
(๑๑)ลุศักราช ๘๗๑ ในปีมเสงนั้น, สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูรราชบุตร์, เสวยสมบัติได้ ๕ ปี ประชวรทรพิษสวรรคตในปีรกา เบ็ญจศก.
(๑๒)ลุศักราช ๘๗๕ ในปีรกานั้น, พระรัษฎาธิราชกุมารราชบุตร์, พระชนม์ห้าขวบ เสวยสมบัติ์ได้ ๕ เดือน, พระไชยราชาธิราชจับสำเร็จโทษเสีย.
(๑๓)สมเด็จพระไชยราชาธิราช, เสวยสมบัติ์ได้ ๑๕ ปี, สวรรคตในปีกุน นพศก.
(๑๔)ลุศักราช ๘๘๙ ในปีกุนนั้น, พระแก้วฟ้าราชบุตร์พระชนม์ได้ ๑๑ ขวบ, เสวยสมบัติ์ได้ ๒ ปีกับ ๖ เดือน.
(๑๕)ลุศักราช ๘๙๑ ปีฉลู เอกศก, ขุนวรวงษาธิราชจับพระแก้วฟ้าสำเร็จโทษเสีย, ได้สมบัติ์ ๕ เดือน. ขุนพิเรนทรเทพ, จับขุนวรวงษาธิราฆ่าเสีย แล้วอัญเชิญพระเธียรราชาลาผนวชมาเสวยสมบัติ์, ทรงพระนาม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช, อยู่ในสมบัติ์ได้ ๒๗ ปี, สวรรคตในปีเถาะ สัปตศก.
(๑๖)ลุศักราช ๙๑๗ ในปีเถาะนั้น, พระมหินทราธิราชโอรสเสวยสมบัติ์ปี ๑. ถึงศักราช ๙๑๘ ปีมโรง อัฐศก, เสียกรุงแก่ข้าศึกมอญหงษาวดีครั้งแรก.
(๑๗)ในปีมโรงนั้น, สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติ์ได้ ๒๓ ปี, สวรรคตในปีขาล สัมฤทธิศก.
(๑๘)ลุศักราช ๙๔๐ ในปีขาลนั้น, สมเด็จพระนเรศวรราชบุตร์เสวยสมบัติ์ได้ ๑๖ ปี, สวรรคตในปีมเสง เบ็ญจศก.
(๑๙)ลุศักราช ๙๔๖ ในปีมเสงนั้น, สมเด็จพระเอกาทศรฐราชอนุชาเสวยสมบัติ์ ๙ ปี, สวรรคตในปีฉลู ตรีศก.
(๒๐)ลุศักราช ๙๖๓ ในปีฉลูนั้น, เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ราชบุตร์เสวยสมบัติ์ได้ปี ๑ กับ ๒ เดือน.
(๒๑)ลุศักราช ๙๖๔ ปีขาล จัตวาศก, พระพิมลธรรมจับเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์สำเร็จโทษเสีย, ขึ้นเสวยสมบัติ์ผลัดพระวงษ์ใหม่, ทรงพระนาม พระเจ้าทรงธรรม อยู่ในสมบัติ์ ๒๖ ปี, สวรรคตปีเถาะ นพศก.
(๒๒)ลุศักราช ๙๘๙ ในปีเถาะนั้น, พระเชษฐาธิราชโอรสเสวยสมบัติ์ได้ปี ๑ กับ ๗ เดือน
(๒๓)ลุศักราช ๙๙๑ ปีมเสง เอกศก, เจ้าพระยากลาโหมสุริวงษจับพระเชษฐาธิราชสำเร็จโทษเสีย, แล้วยกพระอาทิตยวงษ์อนุชาพระชนม์ ๙ ขวบ, ขึ้นเสวยสมบัติ์ได้ ๖ เดือน.
(๒๔)ลุศักราช ๙๙๒ ปีมะเมีย โทศก, มุขมนตรีเนียรเทศพระอาทิตยวงษ์เสีย, อัญเชิญเจ้าพระยากลาโหมสุริวงษ์ขึ้นเสวยสมบัติ์, ผลัดพระวงษ์ใหม่ ทรงพระนาม พระเจ้าปราสาททอง, อยู่ในสมบัติ์ได้ ๒๖ ปี, สวรรคตในปีมแม สัปตศก.
(๒๕)ลุศักราช ๑๑๑๗ ในปีมแมนั้น, เจ้าฟ้าไชยราชบุตร์เสวยสมบัติ์ได้ ๙ เดือน.
(๒๖)ลุศักราช ๑๐๑๘ ปีวอก อัฐศก, พระศรีสุธรรมราชาพระเจ้าอาว, จับเจ้าฟ้าไชยสำเร็จโทษเสีย, แล้วขึ้นเสวยสมบัติ์ได้ ๒ เดือนกับ ๒๐ วัน.
(๒๗)ในปีวอกนั้น, สมเด็จพระนารายน์ราชบุตร์พระเจ้าปราสาททอง, จับพระศรีสุธรรมราชาพระเจ้าอาวสำเร็จโทษเสีย, แล้วขึ้นเสวยสมบัติ์ได้ ๒๖ ปี, สวรรคตในปีจอ จัตวาศก.
(๒๘)ลุศักราช ๑๐๔๔ ในปีจอนั้น, พระเพทราชาได้เสวยสมบัติ์ ๑๖ ปี, สวรรคตในปีฉลู นพศก. (วงษ์บ้านพลูหลวงแทรก)
(๒๙)ลุศักราช ๑๐๕๙ ในปีฉลูนั้น, พระพุทธเจ้าเสือราชบุตร์สมเด็จพระนารายน์ได้เสวยสมบัติ์ ๑๐ ปี, สวรรคตในปีจอ อัฐศก.
(๓๐)ลุศักราช ๑๐๖๘ ในปีจอนั้น. พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระราชบุตร์เสวยสมบัติ์ได้ ๒๗ ปี, สวรรคตในปีชวด จัตวาศก.
(๓๑)ลุศักราช ๑๐๙๔ ในปีชวดนั้น, พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษพระอนุชาเสวยสมบัติ์ได้ ๒๖ ปี, สวรรคตในปีขาล สัมฤทธิศก.
(๓๒)ลุศักราช ๑๑๒๐ ในปีขาลนั้น, เจ้าฟ้าดอกมเดื่อกรมขุนพรพินิจราชบุตร์, ได้เสวยสมบัติ์ประมาณ ๑๐ วัน, ถวายสมบัติ์แก่พระเชษฐาธิราช.
(๓๓)เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีพระเชษฐาธิราชเสวยสมบัติ์, ทรงพระนาม พระเจ้าที่นั่งสุริยามรินทร์, อยู่ในสมบัติ์ได้ ๙ ปี, เสียกรุงแก่พม่าข้าศึกครั้งหลัง.
นับลำดับพระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้ครองสมบัติ์กรุงเก่าได้ ๕ พระวงษ์ เปนกษัตร์ ๓๓ พระองค์, คิดเปนปีได้ ๔๑๗ ปี.