พระราชพงสาวดารกรุงเก่า (ฉบับหลวงประเสิด)/ผู้วายชนม์

  • พันเอก พร้อม มิตรภักดี
  • ไนเครื่องแบบเสวกเอกกรมพระอัสวราช

  • พันเอก พร้อม มิตรภักดี
  • กับพันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก

  • พันเอก พร้อม มิตรภักดี และครอบครัว
  • นายบริบูรน์ มิตรภักดี, พ้นเอก พร้อม มิตรภักดี,
  • พันเอก เชย พันธ์จเริน, นางประไพพิส เกตุรายนาก,
  • คุนหยิงเจิม มิตรภักด, พันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก

พันเอก พร้อม มิตรภักดี

  • พันเอก พร้อม มิตรภักดี
  • ไนเครื่องเต็มยสเมื่อรับราชการไนกองข้าหลวงต่างพระองค์
  • สำเหร็ดราชการเมืองอุดร

ประวัติพันเอก พร้อม มิตรภักดี

พันเอก พร้อม มิตรภักดี เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พุทธสักราช 2415 ตรงกับวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก.

พระยามหานัทีสรีบรรพตภูมิพิทักส์ (จั่น) จางวางเมืองนครสวรรค์ เปนบิดา คุนหยิงมหานัทีสรีบรรพตภูมิพิทักส์ (เจิม) เปนมารดา พระยาไกรเพชรรัตนสงครามภักดีพิริยะพาหะ (มิตร) เปนปู่ พันเอก พร้อม จึงได้เลือกนาม "มิตรภักดี" เปนนามสกุล.

เมื่ออายุ 13 ปี ได้สึกสาวิชาหนังสือไทยนะสำนักโรงเรียนวัดเลไลย จังหวัดนครสวรรค์ สึกสาหยู่ประมาน 4 ปี ตามหลักสูตรไนเวลานั้น แล้วลาออกจากโรงเรียน เข้ารับราชการเปนเสมียนกรมกลาง กะซวงวัง ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 15 บาท เมื่อ พ.ส. 2433.

พ.ส. 2434 ย้ายไปเปนเสมียนไนกองข้าหลวงต่างพระองค์มนทลอุดร ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 20 บาท.

ครั้นถึงเดือนกันยายน พ.ส. 2435 ได้ทำการสมรสกับนางสาวเจิม บุตรีหลวงพรหมสัสดี (ภู่) และนางพรหมสัสดี (ขาว) ซึ่งมีเคหะสถานหยู่ไนเมืองจังหวัดพระนครสรีอยุธยา.

พ.ส. 2436 (ร.ส. 112) ทำหน้าที่แพทย์ไนกองข้าหลวงต่างพระองค์มนทลอุดร ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 40 บาท.

พ.ส. 2441 เลื่อนขึ้นเปนผู้ช่วยข้าหลวงคลังมนทลอุดร ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 100 บาท และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบันดาสักดิ์เปนขุนผจงสรรพกิจ แล้วเลื่อนขึ้นเปนหลวงผจงสรรพกิจไน พ.ส. 2442.

พ.ส. 2443 ย้ายไปเปนเสมียนตรากะซวงกลาโหม รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 200 บาท.

พ.ส. 2447 เลื่อนตำแหน่งขึ้นเปนปลัดบัญชีกะซวงกลาโหม ได้รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 300 บาท และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบันดาสักดิ์เปนพระนรินทร์ราชเสนี ไนปีเดียวกันนี้ (ได้ดำรงตำแหน่งปลัดบัญชีกะซวงกลาโหมตลอดมา และได้รับพระราชทานเงินเดือนเพิ่มปีละ 20 บาททุกปีจนเต็มขั้น 400 บาทไน พ.ส. 2452).

พ.ส. 2451 รับพระราชทานสัญญาบัตรบันดาสักดิ์เปนพระยานรินทร์ราชเสนี (เมื่อได้มีประกาสยกเลิกบันดาสักดิ์ไน พ.ส. 2485 แล้ว พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ไช้นามตัวและนามสกุลเดิม).

พ.ส. 2453 ย้ายไปเปนผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกะซวงกลาโหม.

พ.ส. 2454 ย้ายไปเปนผู้รั้งเจ้ากรมสัสดี และได้รับยสเปนว่าที่พันเอก และต่อมาไนปีเดียวกันนี้ ได้เปนเจ้ากรมสัสดี คงได้รับพระราชทานเงินเดือนไนอัตราพันเอกชั้น 1 ไนเวลานั้น เดือนละ 400 บาท.

พ.ส. 2455 รับพระราชทานสัญญาบัตรยสทหานเปนพันเอก ต่อมาไนปีเดียวกันนี้ ได้ย้ายไปสำรองราชการกรมพระคชบาลทหานบก แล้วย้ายไปเปนผู้ช่วยอธิบดีกรมแสงสรรพาวุธ.

พ.ส. 2459 รับพระราชทานเงินเดือนไนอัตราพันเอก ชั้น 2 เดือนละ 550 บาท.

พ.ส. 2460 พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ทำรายงานยื่นต่อกะซวงกลาโหมว่า การงานไนหน้าที่ผู้ช่วยอธิบดีกรมแสงสรรพาวุธมีน้อย ขอไห้เพิ่มงานขึ้น หรือย้าย หรือไห้ออกจากประจำการ กะซวงกลาโหมได้สอบสวนเห็นว่า มีงานน้อยจิง ซึ่งควนเลิกตำแหน่งดั่งกล่าว จึงอนุญาตไห้พันเอก พร้อม มิตรภักดี ออกจากประจำการตามคำสั่งประกาสทหานบก ฉบับที่ 137/12375 พ.ส. 2460 กับตามรายงานพันเอก พร้อม มิตรภักดี ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ส. 2460 พันเอก พร้อม มิตรภักดี จึงเปนนายทหานกองหนุนเบี้ยหวัดสังกัดกรมแสงสรรพาวุธ.

พ.ส. 2463 ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้กลับเข้ารับราชการไนกรมบัญชาการพระอัสวราช รับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ 300 บาท.

พ.ส. 2464 ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้เปนปลัดบัญชาการกรมพระอัสวราช และได้รับพระราชทานยสไห้เปนหัวหมื่น ไนปีนี้ ส่วนการทหานนั้น เนื่องแต่ได้กลับเข้ารับราชการเปนปลัดบัญชาการกรมพระอัสวราช กะซวงกลาโหมจึงได้ออกคำสั่งไห้เปนนายทหานกองหนุน ไม่มีเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญ สังกัดกรมแสงสรรพาวุธ.

พ.ส. 2466 รับพระราชทานเงินเดือนเพิ่มขึ้นเปนเดือนละ 330 บาท.

พ.ส. 2468 ได้ออกจากราชการ รับพระราชทานบำนาญเดือนละ 176 บาท 75 สตางค์.

ไนส่วนสังกัดราชการทางกะซวงกลาโหมนั้น ได้ย้ายมาหยู่ไหนสังกัดกรมพลาธิการทหานบกไน พ.ส. 2470 ครั้นถึง พ.ส. 2471 อายุเกินกำหนดประเภทนายทหานกองหนุน จึงเปนนายทหานนอกราชการ คงสังกัดกรมพลาธิการทหานบก แล้วเปลี่ยนจากสังกัดเดิมมาสังกัดกองบังคับการจังหวัดทหานบกกรุงเทพฯ ไน พ.ส. 2478 ครั้นถึงวันที่ 1 เมสายน พ.ส. 2476 เปนนายทหานพ้นราชการทหานเพราะอายุพ้นกำหนดนายทหานนอกราชการแล้ว.

พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ไปราชการทัพโดยตามสเด็ดพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมหลวงประจักส์สิลปาคม เมื่อเปนข้าหลวงต่างพระองค์สำเหร็ดราชการเมืองอุดร ซึ่งขนะนั้น ได้มีกรนีพิพาทกับฝรั่งเสสเรื่องเขตแดน.

นอกจากราชการประจำและราชการทัพแล้ว พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ปติบัติราชการพิเสส คือ

1. เปนข้าหลวงพิเสสตัดสินปักปันเขตแดนเมืองสกลนคร เมืองนครพนม เมืองมุกดาหาร และทำแผนที่บริเวนเมืองเหล่านี้.

2. เปนข้าหลวงพิเสสไปรับข้าหลวงฝรั่งเสสซึ่งสำเหร็ดราชการฝ่ายแม่น้ำโขงนะที่เมืองเวียงจันทน์

3. ได้เปนผู้รักสาพยาบาลคนป่วยไข้ที่ก่อนเข้ามากองทัพไน พ.ส. 2436 (ร.ส. 112) และเมื่อรักสาพยาบาลหายแล้ว ก็ส่งคนหายป่วยเข้าประจำกองทัพทางแก่งเจ๊กและนะเมืองหล่มสักดิ์.

4. ได้ตรวดราชการทางแม่น้ำโขงและทำหน้าที่สื่อสารด้วยราชการสำคันต่าง ๆ ระหว่างกรุงเทพฯ กับมนทลอุดรหลายครั้ง.

5. ได้ทำแผนที่ตั้งแต่จังหวัดสระบุรีผ่านดงพระยากลางจนถึงจังหวัดหนองคาย.

6. ได้ทำการแทนปลัดทูลฉลองกะซวงกลาโหม 4 ครั้ง.

พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรน์ ดั่งต่อไปนี้

1. พ.ส. 2436 เหรียนรัชดาภิเสก
2. พ.ส. 2437 เหรียนจักรพัดิมาลา
3. พ.ส. 2441 เหรียนประพาสมาลา
4. พ.ส. 2444 ตรามงกุดสยาม ชั้นที่ 5
5. พ.ส. 2446 เหรียนทวีธาภิเสก
6. พ.ส. 2450 เหรียนรัชมงคล
7. พ.ส. 2451 เหรียนรัชมังคลา
8. พ.ส. 2452 เหรียนบุสปมาลา
9. พ.ส. 2354 เสมา ส.ผ. ทองคำลงยาประดับเพชร
10. พ.ส. 2454 เหรียนบรมราชาภิเสก
11. พ.ส. 2456 ตราช้างเผือก ชั้นที่ 4
12. พ.ส. 2458 เสมาทองคำมีอักสรพระบรมนามาภิธัยย่อ ว.ป.ร. ลงยา ชั้น 3
13. พ.ส. 2459 เข็มข้าหลวงเดิม
14. พ.ส. 2459 ตรามงกุดสยาม ชั้นที่ 3
15. พ.ส. 2466 ตราช้างเผือก ชั้นที่ 3
16. พ.ส. 2468 เข็มอักสรพระบรมนามาภิธัยย่อ ร.ร.6 ชั้น 2
17. พ.ส. 2468 เหรียนบรมราชาภิเสก (เงิน)
18. พ.ส. 2475 เหรียนเฉลิมพระนคร 150 ปี เงิน

พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้มีบุตรและธิดาดั่งต่อไปนี้

1. เด็กชาย ไม่ปรากตนาม (ถึงแก่กัม)
2. นายบริบูรน์ มิตรภักดี
3. ด.ย.พูนสวัสดิ์ มิตรภักดี (ถึงแก่กัม)
4. พันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก (ทัสนัย มิตรภักดี) (ถึงแก่กัม)
5. นางประไพพิส เกตุรายนาก
6. พันโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รนภักดิ์
7. นางอัมพร ภุมโรดม
8. ด.ย.พจนา มิตรภักดี
9. ด.ช.พาที มิตรภักดี

พันเอก พร้อม มิตรภักดี ได้ป่วยเปนโรคอำมะพาธมาหลายปี ภรรยาและบุตรธิดาได้ช่วยกันหาแพทย์มารักสา และได้ช่วยพยาบาล อาการมีแต่ซงกับซุดตลอดมา ได้ถึงแก่กัมเมื่อวันที่ 7 กรกดาคม พ.ส. 2486 นะบ้านเลขที่ 547 ถนนเพชรบุรี จังหวัดพระนคร

เพื่อเปนอนุสรน์แก่พันตรี หลวงทัสนัยนิยมสึก ซึ่งได้ทำความชอบแก่ประเทสชาติโดยเปนหัวหน้าไนการเปลี่ยนแปลงการปกครองขอพระราชทานรัถธัมนูญผู้หนึ่ง จึงได้ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองลายสลักและเครื่องยสประกอบสพแก่พันเอก พร้อม มิตรภักดี.