ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวงตรา 3 ดวง/เล่ม 2/ส่วนที่ 2
(เปลี่ยนทางจาก พระไอยการทาษ)
งานนี้ยังไม่เสร็จ สามารถดูและร่วมพัฒนาได้ที่ดัชนีนี้: 1 |
พระไอยการทาษ[1]
1
จักกล่าวลักษณะมูลคดีวิวาทด้วยทาษสินไถ่ทาษชะเลยชาย หญิง เปนต้นที่จะให้เกิดคดีตามคำภีรพระธรรมสาตรว่า ทาสี จ ทาสํ ทาษอันควรจะใช้ได้มี ๗ ประการโดยพระบาฬี ดั่งนี้ |
อธิบายว่า ทาสวฺณณา[4] อันว่าปรเพศแห่งทาษทังหลาย สตฺตมา มีเจตจำพวก อันควรจะใช้ได้นั้น ธเนน วิกิเนยฺยวา คือทาษไถ่มาด้วยทรัพย ๑ ปุตฺตทาสา คือลูกทาษเกิดในเรือนเบี้ย ๑ มาตาปิตา จ ทาสกา คือทาษได้มาแต่ฝ่ายข้างบิดามานดา ๑ ทินฺนกา จ คือทาษมีผู้ให้ ๑ อฏฺฏทาสา จ คือทาษอันได้ด้วยช่วย[5] กังวลทุระทุกขแห่งคนอันต้องทันธโทษ ๑ ภตฺตกา จ คือทาษอันได้เลี้ยงไว้ในกาลเมื่อเข้าแพง ๑ ธชาหตา จ ทาสกา คือนำธงไชยไปรบศึกแล้วแลได้มาเปนทาษชะเลย ๑ ทาษ ๗ ประการดั่งนี้ควรจะใช้ได้ |
อนึ่ง ทาษอันมิควรจะใช้ได้นั้น ๖ ประการ มีบาฬีดังนี้ |
- มุญฺจนา ภิกฺขุทาสา จ พฺราหฺมณทานทาสกา[6]
- ทาโส เม ติ ภิกฺขุํ อตฺถิสิลา อญฺเญชนา
- เขตฺตทาสา ติ ฉฏฺเฐว ทาสกมฺเม น ลพฺภเร
อธิบายว่า ฉฏฺฐ เอว ทาสา อันว่าทาษไม่ควรจะว่า ทาษไม่ควรจะใช้ มี ๖ ประการ มุญฺจนา[7] จ คือทาษอันโปรดเสียมิได้ใช้ ๑ ภิกฺขุทาสา จ คือทาษอันตนโปรดให้บวดเปนสมณ ๑ พฺราหฺมณทานทาสกา[8] คือทาษอันตนโปรดให้ไปแก่พราหมณหนึ่ง ทาโส เม ติ ภิกฺขุํ ภิกฺขุ คือภิกษุต่อภิกษุจะว่ากัน[9] เปนทาษนั้นมิได้ ๑ อตฺถิสิลา อญฺเญชนา คือผู้อื่นอันมั่นในศิลาธิคุณมาพึ่งพำนักอยู่ จะว่าเปนทาษนั้นมิได้ ๑ เขตฺตทาสา คือผู้มาอาไศรยอยู่ในคามเขดที่เรือนสวนไร่นาแห่งตน ตนจะว่าผู้นั้นเปนทาษมิได้ ๑ เปน ๖ ประการด้วยกัน ทาษ ๖ ปรการนี้ ทาสกมฺเม น ลพฺภเร อันบุทคนมิควรจะพึ่งใช้ในทาษกรรมกรแห่งตนได้ |
ทีนี้ จะกล่าวสาขคดีอันมีตามมูลคดีวิวาท โดยพระราชบัญญัติจัดเปนบทมาตราสืบมาดั่งนี้ |
ศุภมัศดุ ๑๓๕๙ มะแมนักสัตว อาสาทมาศ ศุกขปักษย เอกาทัศมีดฤษถี จันทวาร พระบาทสมเดจพระเจ้ารามาธิบดินทรนะรินทรบรมมหา[วซ 1] จักระพรรดิราเมศวรราชเดโชไชยะ พรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศ บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว เสดจณพระธินั่งบุษบกมาลามหาไพชยณปราสาทโดยบูรรพาพิมุกข ทรงพระอนุสรคำนึงตามคำภีรพระธรรมสาตรแล้ว มีพระราชโองการมาณพระบันทูล[10] สุรสีหนาทพระราชบัญญัตไว้ว่า |
ทาษควรจะใช้ในทาษกรรมมี ๗ ปรการในคำภีรพระธรรมสาตร คือข้าสีนไถ่ปรการ ๑ คือลูกทาษเกิดในเรือนเบี้ย[11] ปรการ ๑ คือทาษได้มาแต่บิดา มารดา ปรการ ๑ คือทาษท่านให้ปรการ ๑ คือทาษอันได้ด้วยช่วยกังวลแห่งคนอันต้องทันธโทษประการ[12] ๑ คือทาษอันได้เลี้ยงมาเมื่อกาลทุภิกขะปรการ ๑ คือทาษอันได้ด้วยชะเลยปรการ ๑ เปนเจตปรการดั่งนี้ |
2
จักกล่าวลักษณทาษสีนไถ่ก่อน ไถ่ทาษมี ๓ ปรการโดยพระธรรมสาตรกล่าว ดั่งนี้ ประการหนึ่ง ไถ่มิได้ขาดข้า (ประการหนึ่งไถ่ขาดข้า)[13] ปรการหนึ่งไถ่มิได้ใช้ อันว่าไถ่มิได้ขาดคานั้น คือว่า ไถ่ฝากมีผู้ฃายนายประกัน ถ้ามันหลบลี้หนีหาย เอาแก่ผู้ฃายนายประกันได้ อันว่าข้าไถ่ขาดค่านั้น คือว่า ไถ่เตมค่า แลท่านมิได้ปรกัน มันหลบหลีกหนีหาย จะเอาแก่ผู้ฃายนั้นมิได้ อันว่าไถ่ทาษมิได้ใช้นั้น คือว่า ไถ่แล้วให้ผูกดอกเบี้ยไปก็ดี แลทาษนั้น[14] ฃอผูกดอกไปเองก็ดี ผู้[15] ไถ่มิได้ไช้ |
3
๑มาตราหนึ่ง ถ้าผัวแลพ่อแม่นายเงินเอาชื่อลูกเมียข้าคนใส่ในกรมธรรมฃาย ท่านว่า เปนสิทธิ แม้นว่าเจ้าสีนบอกก็ดี มิได้บอกก็ดี แก่ตัวเรือนเบี้ยซึ่งมีชื่ออยู่ในกรมธรรม์นั้น ท่านว่า เปนสิทธิได้โดยกระบิลเมืองท่าน เหดุว่าเจ้าผัวพ่อแม่นายเงินนั้นเปนอิศรภาพแล |
4
๒มาตราหนึ่ง เมียก็ดีลูกก็ดีเอาชื่อพ่อ แม่ แลผัวใส่ในกรมธรรม์ฃาย ท่านว่า มิเปนสิทธิเลย เหดุว่าเมีย ลูก นั้นมิได้เปนอิศระแก่ผัวแลพ่อแม่นั้นเลย |
5
๓มาตราหนึ่ง ผู้ใดขาดแคลนมีอาสนเอาพี่น้อง ลูกหลาน ญาติไปฃายฝากประจำเชิงกระยาเบี้ย[16] แสนหนึ่ง๒ ๓ แสนขึ้นไป ให้ค่อยใช้ค่อยสอย อย่าให้ทำร้ายแก่ผู้คนท่าน ถ้ามันหมีดี ให้เอาไปเวนแก่ผู้ฃายคืนเรียกเอาเงิน ถ้าเจ้าเบี้ยมีคดีประการใด ๆ เอามันผู้ทาษให้ไปต่างตัว แลมันต้องตีจำโซ่ ตรวน ขื่อคา ทวนด้วยหนังจำตากแดดตากฝนแช่น้ำทาระกรรมต่างตัวก็ดี ต่างบุตรภรรยา พี่น้อง พ้องพันธุตนก็ดี ท่านว่า เจ้าเบี้ยนั้นมิชอบ ให้ผูกโทษแก่เจ้าเบี้ย เบี้ยค่าคนนั้นเท่าใด ให้ลดเสียกึ่งหนึ่ง ถ้าเอามันไปทวนด้วยลดหนังไซ้ จะเอาค่าตัวทาษนั้นมิได้เลย ถ้าฃายขาดค่า เจ้าเบี้ยนายเงินผิดระแวงราชการพระเจ้าอยู่หัวประการใด ถ้าต้องโทษแทนนายเงิน ท่านว่า หาโทษแก่เจ้าเบี้ยนายเงินมิได้ เพราว่าขาดค่าเปนสิทธิแล้ว ถ้าหนีหายตายไซ้ ตกแก่นายเงิน |
6
๔มาตราหนึ่ง ผู้ใดขายคนลูกเมียสิงอันใดแก่ท่าน แลทำสารกรมธรรม์ให้เจ้าสีน ๆ ก็ภาซื่อให้เงินแก่ผู้ฃาย ๆ เอาเงินท่านไป แล้วมิได้เอาสิ่งอันฃายมาให้แก่ท่าน ๆ ว่า ลวงท่าน ถ้าพิจารณาเปนสัจ ให้เอาต้นสีนตั้งใหมทวีคูน ยกทุนให้เจ้าของ เหลือนั้นเปนสีนไหม พิไนย กึ่ง |
7 |
---|
๕มาตราหนึ่ง ฃายทาษฝากประจำเชิงกระยาเบี้ย แลผู้ฝากรับเอาเงินไป ผู้ไถ่มิเตมใจเอาคนไปเวนแก่ผู้ฃายฝาก ๆ มิรับเอาคน มิคืนเงินให้เจ้าเงิน ๆ เอาคนนั้นไปไว้แก่กระลาการ ๆ เรียกผู้ฃายมาให้รับเอาคนคืนแล้วให้ส่งเงินแก่เจ้าเงิน ถ้าผู้ฃายบังอาจมิรับเอาคนไป ตกอยู่ในกลางกระลาการ มีผู้มาช่วยไถ่ส่งเงินทุนให้แก่เจ้าเงิน คนนั้นเปนสิทธิแก่ผู้ไถ่ ถ้าคนนั้นต้องพิภาษหายหนีเมื่อหน้า ให้ผู้ฃายฝากคนก่อนนั้นใช้ต้นเงินท่านจงถ้วนตามฃายก่อนนั้น อย่าให้ลด |
8
๖มาตราหนึ่ง ผู้ใดคึ่งเคียดแก่ข้าคนตนไซ้ ท่านให้ตีแต่ภอให้หลาบ ปราบแต่ภอให้กลัว ท่านมิให้ล้มตายเลย ถ้ามันคนร้ายสั่ง[17] สอนมิได้ ให้ฃายมันเสีย ถ้าตีมันตาย ให้ไหมโดยศักดิมือ ไม้ เหลก นั้นแล |
9
๗มาตราหนึ่ง เขนใจขาดแคลนเอาบุตรภรรยา พี่น้อง พ้องพันธุญาติทาษชาย หญิง ไปฃายฝากไว้แก่ท่านให้ใช้ประจำเชิงกระยาเบี้ย[18] ถ้าหญิง ชาย ค่าตัวต่ำกว่า๑๒ ๑๔ แสน ให้ค่อยใช้ สอย ผิดพลั้งสิ่งใด ทำแต่ภอควร อย่าให้เจ้าสีนข่มเหงใส่ฃื่อ[19] คา โซ่ตรวน ตีจำทำโดยอุก มีบาดเจบค้นหักบอดประการใด ท่านว่า เจ้าสีนมิชอบ แลให้ใหมผู้ทำนั้นเปนส่วนทาษ ไท ให้ยกแต่เบี้ยส่วนทาษนั้นไว้ เอาส่วนไทนั้นใหมผู้ทำเปนสีนใหม พิไนย กึ่ง |
10
๘มาตราหนึ่ง มีอาสนฃายตัวฝากไว้แก่ท่านก็ดี ฃายเมียลูกหลานไว้แก่ท่านก็ดี เอาเงินท่านไป[20] มิได้ให้สารกรมธรรม์แก่ท่านมาให้ท่านใช้อยู่ ครั้นท่านตักเตือนจะเอาสารกรมธรรม์แก่มัน แต่มันผัดวัน คืน อยู่ได้๙ ๑๐ เดือนปีหนึ่ง ให้สิทธแก่เจ้าทาษเหมือนไถ่มาแต่ท้องสำเภา ถ้าเกิดลูกชาย หญิง ไซ้ ให้เอาเสมอลูกทาษเปนสิทธิ เพราะมันดูบงเหดุแก่ท่าน |
11
๙มาตราหนึ่ง ผู้ใดฃาดแคลนเอาลูกเมียญาติพี่น้องหลานเหลนผู้คนทาษไท ไปฃายฝากไว้แก่ท่าน ๆ จะให้เบี้ยเงินแก่ผู้ฝาก ๆ ว่ายังมิเอา แลผู้ฝากว่าให้เอาคนไว้ก่อน แลผู้จะช่วยเอาตัวคนฝากไว้ใช้ มันทำให้ของท่านแตกหักหาย ท่านว่า ยังมิให้เบี้ยเงินแก่ผู้ฃายมักง่ายใช้คน ถ้าของนั้นแต่แสนหนึ่งลงมา ท่านมิให้มันใช้เลย ถ้าของนั้นมากกว่าแสน[21] หนึ่งขนไป ให้ทำเปนสามส่วน ให้มันใช้ส่วนหนึ่ง สองส่วนนั้นเปนพับแก่เจ้าของ |
ถ้าแลเจ้าเงินได้ให้เงินแก่ผู้ฃาย ๆ ไดทำสารกรมธรรม์ให้แล้ว คนฝากมันทำให้ฃองท่านแตกหักหายไซ้ ให้มันใช้ของท่านจงถ้วน ถ้าเจ้าเงินใช้ให้มันเลี้ยงโคกระบือช้างม้าสัตวมีชีวิตร มันมิได้นำภาปล่อย[22] ปละละโคกระบือช้างม้า[23] นั้นไว้ ทำให้ของท่านหาย ให้ใช้ของท่านจงถ้วน ถ้ามันติดตามโคกระบือท่านไป แลโจรผู้ร้ายตีด่า[24] มัดผูกมันผู้ทาษแล้วเอาวัวควายช้างม้านั้นไป ท่านมิให้มันไช้เลย ถ้าช้างม้าโคกระบือนั้นมากเหลือที่จะเลี้ยงรักษาแลหายด้วยประการใด ให้ทำเปนสองส่วนให้มันใช้ส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งเปนพับแก่เจ้าเงิน ถ้าแลมีโจรผู้ร้ายปล้นตีชิงเอาช้างม้าโคกระบือ ในบ้างแลกลางทุ่ง นา กลางป่า ดง กลางวัน คืน เปนสัจไซ้ ท่านมิให้มันใช้เลย เพราะเหลือกำลังมันที่จะพิทักรักษาไว้ |
12 |
---|
๑๐มาตราหนึ่ง ทาษฝากเจ้าเงินให้เลี้ยงช้างม้า โคกระบือ สัตวให้เลี้ยงนั้นตาย เจ้าเงินจะคิดเอาค่าสัตวแก่ทาษนั้นมิได้ |
13
๑๑มาตราหนึ่ง ฃายพี่น้องผู้คนไว้แก่ท่าน ๆ ใช้อยู่ ถ้าแต่สามขวบลงมา แลมันเปนผู้ร้ายคุมพวกพ้องปล้นสดมฆ่าฟันท่านตายให้เปนจุลาจลในแผ่นดินท่าน เอามาพิจารณาเปนสัจ ให้ผู้เปน[25] เชิงเบี้ยใช้จงเตมค่า เพราะมันฬ่อลวงเอาผู้ร้ายให้ท่านใช้ ถ้าพ้นสามขวบขึ้นไป จะเอาค่าคนคืนมิได้เลย เปนพับแก่นายเงินแล |
14
๑๒มาตราหนึ่ง ผู้ใดมีทาษทาษี แลทรัพยอันจะคิดเอาแก่ทาษทาษีนั้นก็ยังมาก แลถ้อยความอันจะว่าแก่ทาษทาษีนั้นก็หลายกะทงแต่ยังอยู่ที่ตนนั้น มิได้ว่ากล่าวแลจะคิดเอาสิ่งของ[26] นั้น ครั้นฃายไปอยู่แก่ท่านผู้อื่นแล้ว แลจะคิดเอาสิ่งของนั้น แลจะว่าความนั้น มิพึงให้คิดเอาแลว่ากล่าวเลย |
15
- ↑ ฉะบับหลวงสูญหายทั้งสามฉะบับ จึงพิมพ์ตามฉะบับรองทรง
- ↑ ต้นฉะบับว่า: คำว่า จ ตกไป
- ↑ ต้นฉะบับ: อฏ
- ↑ ต้นฉะบับ: ทาวณฺณา
- ↑ ต้นฉะบับ: คำว่า ช่วย ตกไป
- ↑ ต้นฉะบับ: พฺรหฺมณทาสตา
- ↑ ต้นฉะบับ: มญฺจนา
- ↑ ต้นฉะบับ: พฺราหฺมณทาสกา
- ↑ ต้นฉะบับ: คำว่า กัน ตกไป
- ↑ ต้นฉะบับ: พระทูล
- ↑ ต้นฉะบับ: เบีย
- ↑ ต้นฉะบับ: คำว่า ประการ ตกไป
- ↑ ในต้นฉะบับ คำในวงเล็บตกไป เพิ่มตามฉะบับพิมพ์ ปี จ.ศ. ๑๒๑๑
- ↑ ต้นฉะบับ: นัน
- ↑ ต้นฉะบับ: คำว่า ผู้ ตกไป
- ↑ ต้นฉะบับ: กระเบี้ย
- ↑ ต้นฉะบับ: สัง
- ↑ ต้นฉะบับ: เบีย
- ↑ ต้นฉะบับ: ฃือ
- ↑ ต้นฉะบับ: เอาเงินเงินไป
- ↑ ต้นฉะบับ: คำว่า แสน ตกไป
- ↑ ต้นฉะบับ: ปลอย
- ↑ ต้นฉะบับ: มา
- ↑ ต้นฉะบับ: ดา
- ↑ ต้นฉะบับ: คำว่า เปน ตกไป
- ↑ ต้นฉะบับ: ข้อง
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "วซ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="วซ"/>
ที่สอดคล้องกัน