ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีแดงที่ 278 พ.ศ. 2482"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bitterschoko (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{header <!-- ข้อมูลหลัก --> | title = {{PAGENAME}} | year = | author = ศาลอุทธรณ์ | editor = | tra..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัดที่ 1:
{{header
{{คุณภาพเนื้อหา|100%}}
<!-- ข้อมูลหลัก -->
{{หัวเรื่อง2
| title = {{PAGENAME}}
| ชื่อเรื่อง = คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
| year =
| ชื่อเรื่องย่อย = ในคดีหมายเลขแดงที่ ๒๗๘ พ.ศ. ๒๔๘๒ ระหว่าง กระทรวงการคลัง โจทก์ <br> พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จำเลยที่ ๑ <br> กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จำเลยที่ ๒ <br> เรื่อง คำสั่งลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒ <br> ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๘๒ <br>
| author = ศาลอุทธรณ์
| วิกิพีเดียชื่อเรื่อง =
| editor =
| พระราชนิพนธ์ =
| translator =
| พระนิพนธ์ =
| section =
| ผู้แต่ง =
| contributor =
| ผู้แต่งไม่ลิงก์ = [[ศาลยุติธรรม|ศาลอุทธรณ์]]
| previous =
| วิกิพีเดียผู้แต่ง =
| ผู้แปลnext =
| notes =
| เรื่องก่อนหน้า =
<!-- ข้อมูลย่อย (สำหรับจัดระเบียบหรือเชื่อมโยงไปหน้าอื่น) -->
| เรื่องถัดไป =
| categories =
| ก่อนหน้า =
| ถัดไปdisambiguation =
| edition =
| หมายเหตุ =
| portal =
| related_author =
| wikipedia =
| commons =
| commonscat =
| wikiquote =
| wikinews =
| wiktionary =
| wikibooks =
| wikilivres =
| wikidata =
| wikivoyage =
| wikiversity =
| wikispecies =
| meta =
}}
<pages index="2482-278 (Ministry of Finance v. Prajadhipok & Rambai Barni).pdf" from="2" to="6" tosection="6-1" />
{{รุ่น}}
{{pb}}
<pages index="2482-278 (Ministry of Finance v. Prajadhipok & Rambai Barni).pdf" include="6" onlysection="6-2" />
==บรรณานุกรม==
 
* ศาลอุทธรณ์. (2482). "{{PAGENAME}}". สำนักงานโฆษณาการ, ''ข่าวโฆษณาการ, 2''(6), 3–7.
 
{{สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น}}
 
[[หมวดหมู่:งานในปี พ.ศ. 2482]]
 
[[หมวดหมู่:คำพิพากษา]]
 
{{หัวหนังสือราชการ 2
| บนซ้าย = คำพิพากษา
| บนขวา =
| กลางซ้าย =
| กลางขวา = คดีดำที่ ๑๙๗ พ.ศ. ๒๔๘๒ <br> คดีแดงที่ ๒๗๘ พ.ศ. ๒๔๘๒
| กลาง_1 = '''ศาลอุทธรณ์'''
| กลาง_2 =
| กลาง_3 = <br>วันที่ ๒๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒
| กลาง_4 = <br>ความแพ่ง
}}
{| {{Brace table parameters}} style="margin-left:3em;"
|-
|
| {{brace|r|mb}}
| style = "width:30em;" | กระทรวงการคลัง
| โจทก์
|-
|
| {{brace|l|s}}
|
|
|-
| ในระหว่าง
|{{brace|l|m}}
|
|
|-
|
| {{brace|l|s}}
|สมเด็จพระปกเกล้าฯ {{g|7em}} ที่ ๑
| จำเลย
|-
|
| {{brace|r|mt}}
| สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี {{g|3.2em}} ที่ ๒
|
|}
 
 
'''คำสั่งลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒'''
 
 
 
 
 
ผู้พิพากษาซึ่งมีนามต่อไปข้างท้ายนี้ได้พร้อมกันตรวจสำนวนคดีเรื่องนี้แล้วจึ่งพิพากษาเด็ดขาดดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
 
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ มีใจความว่า จำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลย โจทก์จึ่งฟ้องเรียกเงินรวมทั้งดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง เป็นเงินหกล้านสองแสนเจ็ดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยสิบสองบาท เก้าสิบสามสตางค์
 
ในวันเดียวกันนั้นเอง โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยได้ทั้งหมด รวมทั้งทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยด้วย และโดยที่กรณีมีเหตุฉุกเฉิน จึ่งขอให้ศาลมีคำสั่งจัดให้มีวิธีคุ้มครองตามคำขอโดยไม่ชักช้า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๒ และ ๒๖๗
 
ศาลแพ่งได้ทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งในวันนั้นเอง ให้ยกคำร้องของโจทก์เสีย คำสั่งนี้เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๗
 
ในวันที่ ๒๐ เดือนเดียวกัน โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอใหม่ตามความในมาตรา ๒๖๗ วรรค ๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
 
ในคำร้องฉบับหลังนี้ โจทก์คงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยได้ทั้งหมด รวมทั้งทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยด้วย เช่นเดียวกับคำขอในคำร้องฉบับแรก โดยอ้างเหตุว่า เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ จำเลยที่ ๑ ได้โอนขายที่ดินโฉนดที่ ๕๕๓๒ ของจำเลยที่ ๑ ให้แก่หม่อมเจ้ารัตยากรวิสุทธิ์ไปเป็นเงินห้าพันบาท และในวันที่ ๑๒ เดือนเดียวกัน จำเลยที่ ๑ ได้ให้ผู้แทนมาขอต่อเจ้าพนักงานทะเบียนที่ดินและโลหกิจ จังหวัดพระนครและธนบุรี เพื่อนำนิติกรรมโอนขายที่ดินอีกแปดแปลงตามบัญชีท้ายคำร้องให้แก่หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล เป็นราคาหนึ่งแสนสองหมื่นแปดพันสามร้อยยี่สิบบาท การกระทำของจำเลยที่ ๑ ดั่งกล่าวมานี้เป็นการที่จำเลยตั้งใจจะโอนขายทรัพย์สินของจำเลยไปให้พ้นอำนาจศาลซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยและเพื่อฉ้อโกงโจทก์ และนอกจากนั้น ตัวจำเลยอยู่นอกอำนาจศาลด้วย
 
ศาลแพ่งได้ไต่สวนคำร้องฉบับนี้แล้วมีคำสั่งให้ยกเสีย
 
โจทก์อุทธรณ์ต่อมา
 
คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนและประชุมปรึกษาแล้ว
 
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๕๕ การที่ศาลจะอนุญาตตามคำขอของโจทก์ ศาลจะต้องพอใจจากพยานที่โจทก์นำมาสืบหรือที่ศาลได้เรียกมาสืบว่า
 
(๑) {{g|0.5em}} คำฟ้องที่ผู้ขอยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควร และ
 
(๒) {{g|0.5em}} มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ กล่าวคือ
 
{{color|white|(๒)}} {{g|0.5em}} (ก) {{g|0.5em}} จำเลยตั้งใจจะโอนขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือยักย้ายไปเสียให้พ้นจากอำนาจศาล เพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำบังคับอย่างใดซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือเพื่อจะฉ้อโกงโจทก์ หรือ
 
{{color|white|(๒)}} {{g|0.5em}} (ข) {{g|0.5em}} มีเหตุอื่นใดในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น ตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็นการยุติธรรมและสมควร
 
ในข้อ (๑) นั้น โจทก์ได้นำหลวงกาจสงคราม<ref>พลอากาศโท หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม)</ref> ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานในคณะกรรมการตรวจรับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เมื่อประมาณห้าเดือนมานี้ และหลวงดำริอิศรานุวรรต<ref>หลวงดำริอิศรานุวรรค (หม่อมหลวงดำริ อิศรางกูร ณ อยุธยา)</ref> ซึ่งเป็นกรรมการร่วมอยู่ในขณะนี้ และเป็นประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าที่ตรวจบัญชีของสำนักงานพระคลังข้างที่ มาเบิกความเป็นพยาน ได้ความว่า ในการตรวจรับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ปรากฏตามบัญชีว่า จำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยเป็นจำนวนดั่งที่โจทก์กล่าวไว้ในฟ้อง การที่พยานยืนยันว่าเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ก็โดยพยานตรวจทราบจากบัญชีของสำนักงานพระคลังข้างที่ เพราะมีการแยกบัญชีไว้เป็นสองประเภท คือ ประเภทหนึ่ง ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ อีกประเภทหนึ่ง ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เงินที่จ่ายและโอนไปนั้นจ่ายและโอนไปจากบัญชีทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น
 
อนึ่ง หลวงกาจสงครามได้เบิกความด้วยว่า ได้ตรวจพบเอกสารซึ่งจำเลยที่ ๑ สั่งให้กรมพระกำแพงเพ็ชรฯ<ref>พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน</ref> เสนอโครงการส่งเงินทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ไปต่างประเทศ โครงการที่เสนอมานั้นมีหลายวิธี การประกันชีวิตเป็นวิธีหนึ่งในโครงการที่เสนอ และจำเลยได้จ่ายเงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปในการประกันชีวิตของจำเลยกับบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศ การส่งเงินไปประกันชีวิตนั้นเป็นเวลาติด ๆ กับที่กรมพระกำแพงเพ็ชร์ฯ เสนอโครงการ
 
ศาลแพ่งเห็นว่า ตามคำพยานโจทก์ดั่งกล่าวนี้ คดียังไม่พอฟังเป็นมูลได้ว่า จำเลยได้โอนและจ่ายเงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลย พอแก่การที่จะออกคำสั่งก่อนคำพิพากษาให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยตามคำขอของโจทก์ เพราะโจทก์มิได้นำบัญชีแม้แต่แผ่นเดียวหรือหนังสือสั่งการของจำเลยที่ ๑ แม้แต่ชิ้นเดียวมาแสดง พยานสองปากนี้ทราบเป็นข้อเท็จจริงมาได้ก็โดยตรวจพบจากเอกสารต่าง ๆ จึ่งมีค่าเสมือนพยานบอกเล่า โจทก์หาได้นำพยานที่รู้เรื่องเดิมแม้แต่ปากเดียวมาสืบประกอบไม่
 
ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยกับความเห็นนี้ บทบัญญัติในมาตรา ๒๕๕ อนุมาตรา (๑) มีแต่เพียงว่า คำฟ้องที่ผู้ขอยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรเท่านั้น กฎหมายไม่ประสงค์ถึงกับว่า ศาลต้องพอใจจากพยานที่โจทก์นำมาสืบหรือที่ศาลได้เรียกมาสืบว่า คดีของโจทก์มีพยานหลักฐานมั่นคง เมื่อฟังได้ว่า คดีของโจทก์มีเค้ามูลควรเชื่อว่าเป็นความจริงก็เพียงพอแล้ว ยิ่งในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ศาลอาจมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ก่อนคำพิพากษาโดยเพียงแต่ฟังจากคำแถลงของโจทก์เท่านั้น ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๗ วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
 
ในเรื่องนี้ โจทก์ได้นำหลวงการสงครามและหลวงดำริอิศรานุวรรตซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ราชการดั่งกล่าวแล้วมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยดั่งคำฟ้องของโจทก์ นับว่า โจทก์ได้นำพยานมาสืบเป็นที่พอใจของศาลแล้ว ตามมาตรา ๒๕๕ อนุมาตรา (๑)
 
ในข้อ (๒) นั้น โจทก์ได้นำหลวงสารสินทะเบียนสิษฐ์ นายวินิต นาวิกบุตร์ และนายเฉลียว ปทุมรส มาเบิกความฟังได้ว่า เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ จำเลยที่ ๑ ได้โอนขายที่ดินตำบลสวนดุสิตหนึ่งแปลงให้แก่หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ เป็นราคาห้าพันบาท ครั้นวันที่ ๑๒ เดือนเดียวกัน ผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ได้มาขอทำนิติกรรม ณ หอทะเบียนที่ดินเพื่อขายที่ดินอีกแปดแปลง ราคาหนึ่งแสนสองหมื่นแปดพันสามร้อยยี่สิบบาท ให้แก่บุคคลคนเดียว คือ หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล ที่ดินรายแรกที่จำเลยขายให้แก่หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ์นั้น ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ ได้โอนขายให้แก่หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่ เป็นราคาสี่พันบาท หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ และหม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล มิใช่เป็นคนอื่นไกล แต่เป็นคนที่อยู่ในวังศุโขทัยซึ่งเคยเป็นที่ประทับของจำเลยและในบัดนี้อยู่ในความครอบครองของจำเลย และบุคคลทั้งสองนี้เป็นผู้ที่จำเลยที่ ๑ เคยอุปการะมา นอกจากนั้น หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล ก็เป็นน้องชายของหม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล ซึ่งเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์สมบัติของจำเลยที่ ๑ ด้วย อนึ่ง หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ ไม่มีฐานะพอที่จะซื้อที่ดินราคาตั้งห้าพันบาทได้
 
ศาลแพ่งเห็นว่า ไม่มีเหตุผลจะฟังได้ว่า จำเลยตั้งใจจะโอนขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยไปให้พ้นอำนาจศาลซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยและเพื่อฉ้อโกงโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ได้สืบว่า จำเลยรู้ถึงการเรียกทรัพย์สินเหล่านั้นคืน การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำธรรมดาของบุคคลในการดำเนินอาชีพ และฐานะหม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ ก็ดี การที่หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ ได้โอนที่ดินที่ได้รับซื้อไว้ต่อไปก็ดี เป็นเรื่องส่วนตัวของหม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ ไม่ปรากฏว่า จำเลยได้รู้เห็นด้วยอย่างไร ทั้งเป็นจำนวนเงินที่น้อยเมื่อเทียบกับทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องและทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่
 
ความเห็นของศาลแพ่งในข้อนี้ ศาลอุทธรณ์ก็ไม่เห็นพ้องด้วยอีก เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตามที่โจทก์ได้นำพยานมาสืบประกอบกันเข้าแล้ว จะเห็นได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นไปโดยสุจริตและเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ อันเป็นเนื้อแท้ของบทบัญญัติในมาตรา ๒๕๕ (๒) (ก) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ อาศัยอยู่ในวังศุโขทัยก็ดี ได้เคยรับความอุปการะจากจำเลยก็ดี ตลอดจนไม่มีฐานะพอที่จะซื้อที่ดินราคาตั้งห้าพันบาทได้นั้น ส่อให้เห็นว่า จำเลยไม่ได้กระทำไปอย่างธรรมดาของบุคคลในการดำเนินอาชีพ ยิ่งกว่านี้ ต่อมาอีกเพียงสี่วัน หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ ได้โอนขายที่รายนั้นให้แก่หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่ ไปเพียงราคาสี่พันบาท ยอดขาดทุนถึงหนึ่งพันบาทชั่วเวลาสี่วัน ในแง่กฎหมาย การที่หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ โอนขายที่รายนั้นไปอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ อาจเป็นผลให้โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้จำเลยเสื่อมเสียสิทธิยิ่งขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๘ การที่จะหาพยานหลักฐานโดยตรงมาแสดงให้ศาลเห็นว่า จำเลยได้รู้เห็นด้วยกับหม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ ถ้าไม่พ้นวิสัยก็เห็นจะไม่ง่ายนัก แต่ศาลย่อมสันนิษฐานเอาได้ตามพฤติการณ์นั้น
 
นอกจากนี้ โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่า เมื่อได้โอนขายที่ดินให้หม่อมเจ้ารัตยากร วิสุทธิ แล้ว ต่อมาอีกสองวัน ผู้แทนของจำเลยที่ ๑ ยังได้มาขอทำนิติกรรม ณ หอทะเบียนที่ดินเพื่อโอนขายที่ดินอีกแปดแปลง ราคาหนึ่งแสนสองหมื่นแปดพันสามร้อยยี่สิบบาท ให้แก่หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล ซึ่งเป็นคนอยู่ในวังศุโขทัยนั้นเอง และเป็นน้องชายหม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล ซึ่งเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์สมบัติของจำเลยที่ ๑
 
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า โจทก์ได้สืบเป็นที่พอใจของศาลในข้อนี้แล้ว อันที่จริง เพียงแต่สืบว่า จำเลยตั้งใจจะโอนขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยก็พอกับที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๕ (๒) (ก) ที่กล่าวมาแล้ว แต่ในคดีนี้ โจทก์ได้สืบไปถึงว่า จำเลยได้โอนขายไปเสียซ้ำไป และเมื่อตั้งใจจะโอนขายหรือจำหน่ายเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำบังคับอย่างใดซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยหรือเพื่อจะฉ้อโกงโจทก์แม้เพียงเล็กน้อยเท่าใด ก็ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายที่กล่าวแล้ว
 
อย่างไรก็ดี บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๓ ได้ระวังความเสียหายของจำเลยอยู่แล้ว ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น จึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลแพ่ง ในคดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยถึงหกล้านสองแสนเจ็ดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยสิบสองบาท เก้าสิบสามสตางค์ แต่ทรัพย์สินของจำเลยที่ ๑ เท่าที่โจทก์ได้สอบสวนมานั้น ตามบัญชีปรากฏว่า มีราคาต่ำกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้อง จึ่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งไว้ก่อนพิพากษา รวมจำนวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยตามความในมาตรา ๒๕๔ อนุมาตรา (๑) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และโดยเหตุที่โจทก์เป็นองค์การส่วนใหญ่ในระเบียบราชการบริหารของประเทศ จึ่งไม่จำเป็นที่จะสั่งให้โจทก์นำเงินมาวางศาลเพื่อเป็นประกันสำหรับค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยอาจได้รับก่อนศาลจะออกหมายยึดหรืออายัด ค่าธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ผู้แพ้คดีในที่สุดเสีย
 
 
 
 
 
:: {{fs|120%|มนูเวทย์วิมลนาถ}}<ref>พระมนูเวทย์วิมลนาถ (เบี๋ยน สุมาวงศ์)</ref>
 
 
:: {{fs|120%|พิจารณาปรีชามาตย์}}
 
 
:: {{fs|120%|เลขวณิชธรรมวิทักษ์}}<ref>พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์มนูญประจักษ์ภักดีสภา (เหยียน เลขะวนิช)</ref>
 
 
 
 
 
{{pb}}
 
 
 
 
 
{{c|{{fs|120%|'''การติดต่อกับสำนักงานจัดการผลประโยชน์ของสมเด็จพระปกเกล้า'''ฯ}}}}
 
 
{{r|8em}}
 
 
 
 
 
เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของสมเด็จพระปกเกล้าฯ และพระนางเจ้ารำไพพรรณี จำเลยทั้งสอง ทั้งหมดไว้ก่อนคำพิพากษา รวมทั้งจำนวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยแล้ว
 
จึ่งขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า บัดนี้ สำนักงานจัดการผลประโยชน์ของสมเด็จพระปกเกล้าฯ คงดำเนินการไปตามเดิมภายใต้ความควบคุมของคณะกรรมการตรวจรับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ เจ้าหน้าที่แห่งสำนักงานจัดการผลประโยชน์นี้ก็คือเจ้าหน้าที่เดิมนั้นเอง ฉะนั้น ขอให้บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานนี้มาชำระหนี้สินและติดต่อตามเคย
 
 
 
 
 
{{c|สำนักงานจัดการผลประโยชน์สมเด็จพระปกเกล้าฯ}}
 
{{c|วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๒}}
 
 
 
 
 
: สำนักงานโฆษณาการ
 
: ๒๕ สิงหาคม ๒๔๘๒
 
 
 
 
 
== เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ ==
 
{{reflist}}
 
 
 
 
 
----
{{ท้ายเรื่อง}}
----
{{ข้อมูลข่าวสารของราชการ-ไทย}}
 
[[หมวดหมู่:ศาลยุติธรรม]]
[[หมวดหมู่:พระมนูเวทย์วิมลนาถ (เบี๋ยน สุมาวงศ์)]]
[[หมวดหมู่:พระพิจารณาปรีชามาตย์]]
[[หมวดหมู่:พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์มนูญประจักษ์ภักดีสภา (เหยียน เลขะวนิช)]]
[[หมวดหมู่:กลับ]]