มหาสมยสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตร เอวัมเม สุตัง. อันข้าพเจ้า(พระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา กุรูสุ วิหะระติ กัมมะสะธัมมัง นามะ กุรูนัง. สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ, ตัตตระโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ในกาลนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายดังนี้, ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ดังนี้, ภะคะวา เอตะทะโวจะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพุทธภาษิตนี้ว่า, เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค สุตตานัง วิสุทธิยา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก (เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว เป็นที่ไปในที่แห่งเดียว) เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย,โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ. เพื่อความก้าวล่วง ซึ่งความโศกและความร่ำไร, ทุกขะโทมะนัสสานัง อัฏฐังคะมายะ. เพื่อความอัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส, ญายัสสะ อธิคะมายะ. เพื่อบรรลุญายธรรม(ธรรมที่ควรรู้ ธรรมที่ถูก คือ อริยมรรค), นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ. เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง, ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา. ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง,
-๑- กาย
กะตะมา จัตตาโร. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง คืออะไรบ้าง?, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ,
-๒- เวทนา
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
-๓- จิต
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ, ธัมเมสุ
-๔- ธรรม
-๔- ธรรม
ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ,
อุทเทโส จบอุทเทส กายานุปัสสนา -๑- อานาปานสติบรรพ
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ กเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ อย่างไรเล่า?, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, อะรัญญะคะโต วา. ไปแล้วสู่ป่าก็ดี, รุกขะมูละคะโต วา. ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ดี, สุญญาคาระโต วา.ไปแล้วสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี, นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิตตะวา. นั่งคู้บัลลังก์, อุชุ กายัง ปะณิธายะ. ตั้งกายให้ตรง, ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปตตะวา. ดำรงสติเฉพาะหน้า, โส สะโต วา อัสสะสะติ. เธอย่อมมีสติหายใจเข้า, สะโต ปัสสะสะติ. ย่อมมีสติหายใจออก, ทีฆัง วา อัสสะสันโต. เมื่อหายใจเข้ายาว, ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว, ทีฆัง วา ปัสสะสันโต. หรือเมื่อหายใจออกยาว, ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว, รัสสัง วา อัสสะสันโต. เมื่อหายใจเข้าสั้น, รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น, รัสสัง วา ปัสสะสันโต. หรือเมื่อหายใจออกสั้น, รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น, สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า, สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก, ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร(คือลมอัสสาสะปัสสาสะ)หายใจเข้า, ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก, เสยยะถาปิ ภิกขะเว ทุกโข ภะมะกาโร วา ภะมะการันเตวาสี วา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด, ทีฆัง วา อัญฉันโต ทีฆัง อัญฉามีติ ปะชานาติ. เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว, รัสสัง วา อัญฉันโต รัสสัง อัญฉามีติ ปะชานาติ. หรือเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น, เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น นั่นแลฯ, ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว, ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ. หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว, รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น, รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ. หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น, สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า, สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก, ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า, ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ กายสังขาร หายใจออก,
-๒- อิริยาบถบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุ, คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ. เมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า (เดี๋ยวนี้) เราเดิน, ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ. หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า (เดี๋ยวนี้) เรายืน, นิสินโน วา นิสินโนมหีติ ปะชานาติ. หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า (เดี๋ยวนี้) เรานั่ง, สะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชานาติ. หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า (เดี๋ยวนี้) เรานอน, ยะถา ยะถา วา ปะนัสสะ กาโย ปะณิหิโต โหติ. อนึ่ง เมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้แล้วอย่างใดๆ, ตะถา ตะถา นัมปะชานาติ. ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ,
-๓- สัมปชัญญะบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, อะภิกกันเต ปะฏิกกันเต สัมปะชานะการี โหติ. ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ(ความเป็นผู้รู้ทั่วพร้อม) ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง, อาโลกิเต วิโลกิเต สัมปะชานะการี โหติ. ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการแลไปข้างหน้า และเหลียวไปข้างซ้าย ข้างขวา, สัมมิญชิเต ปะสาริเต สัมปะชานะการี โหติ. ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก, สังฆาฏิ ปัตตะ จีวะระ ธาระเณ สัมปะชานะการี โหติ. ย่อมเป็นผู้ทำสัมปะชัญญะ ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร, อะสิเต ปิเต ขายิเต สายิเต สัมปะชานะการี โหติ. ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการ กิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม, อุจจาระปัสสาวะ กัมเม สัมปะชานะการี โหติ. ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ, คะเต ฐิเต นิสินเน สุตเต ชาคะริเต ภาสิเต ตุณหีภาเว สัมปะชานะการี โหติ. ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นี่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่,
-๔- ปฏิกูลมนสิการบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, อิมะเมวะ กายัง อุทธัง ปาทะตะลา อะโธ เกสะมัตถะกา ตะจะปะริยันตัง ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ. ย่อมพิจารณากายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า, อัตถิ อิมัสสมิง กาเย. มีอยู่ในกายนี้, เกสา ผม โลมา ขน นะขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง มังสัง เนื้อ นะหารู เอ็น อัฏฐี กระดูก อัฏฐีมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ม้าม หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ กิโลมะกัง พังผืด ปิหะกัง ไต ปัปผาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่ อันตะคุณัง ไส้น้อย อุทะริยัง อาหารใหม่ กะรีสัง อาหารเก่า (หมายเหตุ ในบทสวดมนต์ มีการเพิ่ม มัตถะเก มัตถะลุงคัง เยื่อในสมองศีรษะ) ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด ปุพโพ น้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น อัสสุ น้ำตา วะสา น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฆาณิกา น้ำมูก ละสิกา น้ำไขข้อ มุตตันติ น้ำมูต เสยยะถาปิ ภิกขะเว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด, อุภะโตมุขา มูโตฬี. ไถ้มีปาก ๒ ข้าง, ปูรา นานาวิหิตัสสะ ธัญญัสสะ. เต็มด้วยธัญญชาติมีประการต่างๆ, เสยยะถีทัง. คืออะไรบ้าง, สาลีนัง วีหีนัง. คือข้าวสาลี ข้าวเปลือก, มุคคานัง มาสานัง. ถั่วเขียว ถั่วเหลือง, ติลานัง ตัณฑุลานัง. งา ข้าวสาร, ตะเมนัง จักขุมา ปุริโส มุญจิตวา. บุรุษมีจักษุแก้ไถ้นั้นออกแล้ว, ปัจจะเวกเขยยะ. พึงเห็นได้ว่า, อิเม สาลี. เหล่านี้ ข้าวสาลี, อิเม วีหี. เหล่านี้ ข้าวเปลือก, อิเม มุคคา. เหล่านี้ ถั่วเขียว, อิเม มาสา. เหล่านี้ ถั่วเหลือง, อิเม ติลา. เหล่านี้ งา, อิเม ตัณฑุลาติ. เหล่านี้ ข้าวสาร, เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแลภิกษุ, อิมะเมวะ กายัง อุทธัง ปาทะตะลา อะโธ เกสะมัตถะกา ตะจะปะริยันตัง ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ. ย่อมพิจารณากายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดโดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า, อัตถิ อิมัสสมิง กาเย. มีอยู่ในกายนี้, เกสา ผม โลมา ขน นะขา เล็บ ทันตา ฟัน ตะโจ หนัง มังสัง เนื้อ นะหารู เอ็น อัฏฐี กระดูก อัฏฐีมิญชัง เยื่อในกระดูก วักกัง ม้าม หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ กิโลมะกัง พังผืด ปิหะกัง ไต ปัปผาสัง ปอด อันตัง ไส้ใหญ่ อันตะคุณัง ไส้น้อย อุทะริยัง อาหารใหม่ กะรีสัง อาหารเก่า ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด ปุพโพ น้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น อัสสุ น้ำตา วะสา น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฆาณิกา น้ำมูก ละสิกา น้ำไขข้อ มุตตันติ น้ำมูต
-๕- ธาตุมนสิการบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, อิมะเมวะ กายัง ยะถาฐิตัง ยะถาปะณิหิตัง ธาตุโส ปัจจะเวกขะติ. ย่อมพิจารณากายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี่แล โดยความเป็นธาตุว่า, อัตถิ อิมัสสมิง กาเย. มีอยู่ในกายนี้, ปะฐะวีธาตุ อาโปธาตุ. ธาตุดิน ธาตุน้ำ, เตโชธาตุ วาโยธาตุ. ธาตุไฟ ธาตุลม, เสยยะถาปิ ภิกขะเว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด, ทุกโข โคฆาตะโก วา โคฆาตะกันเตวาสี วา. คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด, คาวิง วะธิตวา. ฆ่าแม่โคแล้ว, จาตุมมะหาปะเถ วิละโส ปะฏิวิภะชิตตะวา นิสินโน อัสสะ. พึงแบ่งออกเป็นส่วน แล้วนั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง, เอวะเมวะ โข ภิกขะเว ภิกขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุ,ฯ อิมะเมวะ กายัง ยะถาฐิตัง ยะถาปะณิหิตัง ธาตุโส ปัจจะเวกขะติ. ย่อมพิจารณากาย อันตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แล โดยความเป็นธาตุว่า, อัตถิ อิมัสสมิง กาเย. มีอยู่ในกายนี้, ปะฐะวีธาตุ ธาตุดิน อาโปธาตุ ธาตุน้ำ, เตโชธาตุ ธาตุไฟ วาโยธาตูติ ธาตุลม,
-๖- นวสีวถิกาบรรพ (พิจารณาซากศพในป่าช้า ๙ ลักษณะ) (๑)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, เอกาหะมะตัง วา. ตายแล้ววันหนึ่ง, ทวีหะมะตัง วา. หรือตายแล้ว ๒วัน, ตีหะมะตัง วา. หรือตายแล้ว ๓ วัน, อุทธุมาตะกัง วินีละกัง. อันพองขึ้น สีเขียวน่าเกลียด, วิปุพพะกะชาตัง. เป็นสีระมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด,
(๒)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, กาเกหิ วา ขัชชะมานัง. อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง, คิชเฌหิ วา ขัชชะมานัง. ฝูงแร้งกินจิกอยู่บ้าง, กุละเลหิ วา ขัชชะมานัง. ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง, สุวาเณหิ วา ขัชชะมานัง. หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง, สิงคาเลหิ วา ขัชชะมานัง. หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง, วิวิเธหิ วา ปาณะกะชาเตหิ ขัชชะมานัง. หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง,
(๓)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, อัฏฐิสังขะลิกัง. เป็นร่างกระดูก, สะมังสะโลหิตัง. ยังมีเนื้อและเลือด, นะหารุสัมพันธัง. อันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่,
(๔)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, อัฏฐิสังขะลิกัง. เป็นร่างกระดูก, นิมมังสะโลหิตัง มักขิตัง. เปื้อนด้วยเลือด แต่ปราศจากเนื้อแล้ว, นะหารุสัมพันธัง. ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่,
(๕)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, อัฏฐิสังขะลิกัง. เป็นร่างกระดูก, อะปะคะตะมังสะโลหิตัง. ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว, นะหารุสัมพันธัง. ยังมีเอ็นรัดรึงอยู่,
(๖)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, อัฏฐิกานิ. คือเป็น(ท่อน) กระดูก, อะปะคะตะนะหารุสัมพันธานิ. ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้ว, ทิสาวิทิสา วิกขิตตานิ. กระจายไปแล้วในทิศน้อย และทิศใหญ่, อัญเญนะ หัตถัฏฐิกัง. คือกระดูกมือ(ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ ปาทัฏฐิกัง. กระดูกเท้า(ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะชังฆัฏฐิกัง. กระดูกแข้ง (ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ อูรัฏฐิกัง. กระดูกขา (ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ กะกิฏฐิกัง. กระดูกสะเอว (ไปอยู่)ทางอื่น, อัญเญนะ ปิฏฐิกัณฏะกัฏฐิกัง. กระดูกสันหลัง(ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ ผาสุกัฏฐิกัง. กระดูกซี่โครง (ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ อุรัฏฐิกัง. กระดูกหน้าอก(ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ พาหุฏฐิกัง. กระดูกแขน (ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ อังสัฏฐิกัง. กระดูกไหล่ (ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ คีวัฏฐิกัง. กระดูกคอ (ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ หะนุฏฐิกัง. กระดูกคาง(ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ ทันตัฏฐิกัง. กระดูกฟัง (ไปอยู่) ทางอื่น, อัญเญนะ สีสะกะฏาหัง. กะโหลกศีรษะ(ไปอยู่) ทางอื่น,
(๗)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, อัฏฐิกานิ. คือเป็น(ท่อน)กระดูก, เสตานิ สังขะวัณณุปะนิภานิ. มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์,
(๘)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, อัฏฐิกานิ. คือเป็น(ท่อน)กระดูก, ปุญชะกิตานิ. เป็นกองเรี่ยรายแล้ว, เตโรวัสสิกานิ. มีในภายนอก(เกิน) ปีหนึ่งไปแล้ว,
(๙)
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, เสยยะถาปิ ปัสเสยยะ สะรีรัง. เหมือนกะว่าจะพึงเห็นสะรีระ(ซากศพ), สีวะถิกายะ ฉัฑฑิตัง. ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า, อัฏฐิกานิ. คือเป็น(ท่อน)กระดูก, ปูตีนิ จุณณะกะชาตานิ. ผุละเอียดแล้ว,
โส อิมะเมวะ กายัง อุปะสังหะระติ. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า, อะยัมปิ โข กาโย. ถึงร่างกายอันนี้เล่า, เอวังธัมโม. ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา, เอวังภาวี. คงเป็นอย่างนี้, เอวัง อะนะตีโตติ. ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้,
นะวะสีวะถิกาปัพพัง จบข้อกำหนดด้วยป่าช้า ๙ ข้อ
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง, พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง, อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง, สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสสมิง วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง, วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสสมิง วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง, สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสสมิง วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง, อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ. ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น, ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, ปะติสสะติมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก, อะนิสสิโต จะ วิหะระติ. เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย, นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ. ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย, เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
กายนุปัสสนาสติปัฏฐานัง จบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนา -๗- เวทนาบรรพ กำหนดพิจารณาเวทนา ๓ ประเภท
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุ, เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา (ความเสวยอารมณ์) ในเวทนาเนืองๆอยู่, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, สุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. เมื่อเสวยสุขเวทนา, สุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวยสุขเวทนา, ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. เมื่อเสวยทุกขะเวทนา, ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา, อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ไม่สุข) อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา, สามิสัง วา สุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. หรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส(คือเจือกามคุณ), สามิสัง สุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส, นิรามิสัง วา สุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส (คือไม่เจือกามคุณ), นิรามิสัง สุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส, สามิสัง วา ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนามีอามิส, สามิสัง ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส, นิรามิสัง วา ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. หรือเมื่อเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส, นิรามิสัง ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส, สามิสัง วา อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา มีอามิส, สามิสัง อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส, นิรามิสัง วา อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน. หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส, นิรามิสัง อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ. ก็รู้ชัดว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส, อิติ อัชฌัตตัง วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในบ้าง, พะหิทธา วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเวทนาในเวทนา เป็นภายนอกบ้าง, อัชฌัตตะพะหิทธา วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง, สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง, วะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง, สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง, อัตถิ เวทะนาติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ. ก็หรือสติว่าเวทนามีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น, ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, ปะติสสะติมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก, อะนิสสิโต จะ วิหะระติ. เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย, นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ. ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย, เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่อย่างนี้แล.ฯ
เวทะนานุปัสสะนาสะติปัฏฐานัง จบเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนา -๘- จิตตานุปัสสนาบรรพ (พิจารณาจิต ๑๖ ประเภท)
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุ, จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, ๑. สะราคัง วา จิตตัง สะราคัง จิตตันติ ปะชานาติ. อนึ่ง จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ, ๒. วีตะราคัง วา จิตตัง วีตะราคัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ, ๓. สะโทสัง วา จิตตัง สะโทสัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ, ๔. วีตะโทสัง วา จิตตัง วีตะโทสัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ, ๕. สะโมหัง วา จิตตัง สะโมหัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ, ๖. วีตะโมหัง วา จิตตัง วีตะโมหัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโมหะ, ๗. สังขิตตัง วา จิตตัง สังขิตตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่, ๘. วิกขิตตัง วา จิตตัง วิกขิตตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน, ๙. มะหัคคะตัง วา จิตตัง มะหัคคะตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตเป็นมหรคต (คือถึงความเป็นใหญ่ หมายเอาจิตที่เป็นฌานหรืออัปปมัญญา พรหมวิหาร) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต, ๑๐. อะมะหัคคะตัง วา จิตตัง อะมะหัคคะตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต, ๑๑. สะอุตตะรัง วา จิตตัง สะอุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตเป็นสะอุตตระ (คือกามาวจรจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสอุตตระ, ๑๒. อะนุตตะรัง วา จิตตัง อะนุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมายเอาอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ, ๑๓. สะมาหิตัง วา จิตตัง สะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น, ๑๔. อะสะมาหิตัง วา จิตตัง อะสะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น, ๑๕. วิมุตตัง วา จิตตัง วิมุตตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตวิมุติ (คือหลุดพ้นด้วยตทังคะวิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่า จิตวิมุติ, ๑๖. อะวิมุตตัง วา จิตตัง อะวิมุตตัง จิตตันติ ปะชานาติ. หรือจิตยังไม่วิมุติ ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่วิมุติ, อิติ อัชฌัตตัง วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในบ้าง, พะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกบ้าง, อัชฌัตตะพะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง, สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัสสมิง วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง, วะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัสสมิง วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในจิตบ้าง, สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัสสมิง วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในจิตบ้าง, อัตถิ จิตตันติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ. ก็หรือสติว่า จิตมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น, ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, ปะติสสะติมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก, อะนิสสิโต จะ วิหะระติ. เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย, นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ. ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย, เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่อย่างนี้แล,ฯ
จิตตานุปัสสะนาสะติปัฏฐานา จบจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา -๙- นิวรณ์บรรพ
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่ อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, ปัญจะสุ นีวะระเณสุ. คือนิวรณ์ณ์ ๕, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, สันตัง วา อัชฌัตตัง กามะฉันทัง. เมื่อกามฉันท์ (ความพอใจในกามารมณ์) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง กามะฉันโทติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง กามะฉันทัง. หรือเมื่อกามฉันไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง กามะฉันโทติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ กามะฉันทัสสะ ปะหานัง โหติ. อนึ่ง ความละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, ยะถา จะ ปะหีนัสสะ กามะฉันทัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, ยะถา จะ ปะหีนัสสะ กามะฉันทัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง พะยาปาทัง. อนึ่ง เมื่อพยาบาท (ความคิดแช่งสัตว์ให้พินาศ) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง พะยาปาโทติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง พะยาปาทัง. หรือเมื่อพยาบาทไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง พะยาปาโทติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ พะยาปาทัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่พยาบาทอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, ยะถา จะ ปะหีนัสสะ พะยาปาทัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่พยาบาทอันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด. ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง ถีนะมิทธัง. อนึ่ง เมื่อถีนะมิทธะ (ความคร้านกายและง่วงเหงา) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง ถีนะมิทธันติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ถีนะมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ถีนะมิทธัง. หรือ เมื่อถีนะมิทธะไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง ถีนะมิทธันติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ถีนะมิทธะไม่มี ณ ภายในจิตขงเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ถีนะมิทธัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่ถีนะมิทธะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ถีนะมิทธัสสะ ปะหานัง โหติ. อนึ่ง ความละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้น, ยะถา จะ ปะหีนัสสะ ถีนะมิทธัสสะ อายะติง อนุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่ถีนะมิทธะอันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจัง. อนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจันติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจัง. หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ ภายในจิต. นัตถิ เม อัชฌัตตัง อุทธัจจะกุกกุจจันติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ อุทธัจจกุกกุจจัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, ยะถา จะ ปะหีนัสสะ อุทธัจจะกุกกุจจัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง วิจิกิจฉัง. อนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง วิจิกิจฉาติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง วิจิกิจฉัง. หรือ เมื่อวิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง วิจิกิจฉาติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนายะ วิจิกิจฉายะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่วิจิกิจฉาอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนายะ วิจิกิจฉายะ ปะหานัง โหติ. อนึ่ง ความละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย, ยะถา จะ ปะหีนายะ วิจิกิจฉายะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่วิจิกิจฉาอันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ประการนั้นด้วย,
จบนีวรณ์บรรพ
-๑๐- ขันธบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ. คืออุปาทานขันธ์ ๕, กถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ. คืออุปาทานขันธ์ ๕, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า), อิติ รูปัง. อย่างนี้ รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม), อิติ รูปัสสะ สะมุทะโย. อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของรูป, อิติ รูปัสสะ อัตถังคะโม. อย่างนี้ ความดับไปของรูป, อิติ เวทะนา. อย่างนี้ เวทนา (ความเสวยอารมณ์), อิติ เวทะนายะ สะมุทะโย. อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของเวทนา, อิติ เวทะนายะ อัตถังคะโม. อย่างนี้ ความดับไปของเวทนา, อิติ สัญญา. อย่างนี้ สัญญา (ความจำ), อิติ สัญญายะ สะมุทะโย. อย่างนี้ ก็ความเกิดขึ้นของสัญญา, อิติ สัญญายะ อัตถังคะโม. อย่างนี้ ความดับไปของสัญญา, อิติ สังขารา. อย่างนี้สังขาร (ความคิด), อิติ สังขารานัง สะมุทะโย. อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของสังขาร, อิติ สังขารานัง อัตถังคะโม. อย่างนี้ ความดับของสังขาร, อิติ วิญญาณัง. อย่างนี้ วิญญาณ (ความรู้สึก), อิติ วิญญาณัสสะ สะมุทะโย. อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของวิญญาณ, อิติ วิญญาณัสสะ อัตถังคะโมติ. อย่างนี้ ความดับไปของวิญญาณ,
-๑๑- อายตนะบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ. คืออายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖ (อย่างละ ๖), กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, ฉะสุ อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ. คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้, จักขุญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักตาด้วย, รูเป จะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักรูปด้วย, ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง. อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูก) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย, โสตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักหูด้วย, สัทเท จะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักเสียงด้วย, ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง. อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยหูและเสียงทั้ง ๒ นั้นอันใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย, ฆานัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักจมูกด้วย, คันเธ จะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักกลิ่นด้วย, ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง. อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้นอันใด. ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย, ชิวหิญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักลิ้นด้วย, ระเส จะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักรสด้วย, ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง. อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒นั้นอันใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย, กายัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักกายด้วย, โผฏฐัพเพ จะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักโผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย) ด้วย, ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง. อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้นอันใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย, มะนัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักใจด้วย, ธัมเม จะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักธรรมารมณ์ (สิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยใจ) ด้วย, ยัญจะ ตะทุภะยัง ปะฏิจจะ อุปปัชชะติ สัญโญชะนัง. อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้นอันใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย,
ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สัญโญชะนัสสะ ปะหานัง โหติ. อนึ่ง ความละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย, ยะถา จะ ปะหีนัสสะ สัญโญชะนัสสะ อายะติง อะนุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ ด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย,
จบอายตนะบรรพ
-๑๒- โพชฌงคบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, สัตตะสุ โพชฌังเคสุ. คือโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง), กะถัญจะ ภิกขะเว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, สัตตะสุ โพชฌังเคสุ. คือโพชฌงค์ ๗, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, สันตัง วา อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังคัง. อนึ่ง เมื่อสติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือสติ) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มี ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังคัง. หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง สะติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สะติสัมโพชฌงคัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่สติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สะติสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของสติสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌงคัง. อนึ่ง เมื่อธัมมะวิจยสัมโพชฌงค์(องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังคัง. หรือเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ธัมมะวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌงคัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ธัมมะวิจะยะสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌงคัง. อนึ่ง เมื่อวิริยะสัมโพชฌงค์(องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือความเพียร) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า วิริยสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌังคัง. หรือเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง วิริยะสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า วิริยสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ วิริยะสัมโพชฌงคัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่วิริยสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ วิริยะสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของวิริยสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง ปิติสัมโพชฌงคัง. อนึ่ง เมื่อปิติสัมโพชฌงค์(องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือปิติความปลื้มกายปลื้มใจ) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง ปิติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ปิติสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ปิติสัมโพชฌังคัง. หรือเมื่อปิติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง ปิติสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ปิติสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ปิติสัมโพชฌงคัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่ปิติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ปิติสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของปิติสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌงคัง. อนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือปัสสัทธิ ความสงบกายสงบจิต) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌังคัง. หรือเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง ปัสสัทธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ ปัสสัทธิสัมโพชฌงคัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ ปัสสัทธิสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ. อนึ่งความเจริญบริบูรณ์ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌงคัง. อนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์(องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือสมาธิ ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌังคัง. หรือเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง สะมาธิสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ สมาธิสัมโพชฌงคัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่สมาธิสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ สะมาธิสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, สันตัง วา อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌงคัง. อนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์(องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คืออุเบกขา ความที่จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง) มี ณ ภายในจิต, อัตถิ เม อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา, อะสันตัง วา อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌังคัง. หรือเมื่ออุเบขาสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต, นัตถิ เม อัชฌัตตัง อุเปกขาสัมโพชฌังโคติ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา, ยะถา จะ อะนุปปันนัสสะ อุเปกขาสัมโพชฌงคัสสะ อุปปาโท โหติ. อนึ่ง ความที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย, ยะถา จะ อุปปันนัสสะ อุเปกขาสัมโพชฌังคัสสะ ภาวะนาปาริปูริ โหติ. อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด, ตัญจะ ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย,
จบโพชฌงค์บรรพ
-๑๓- สัจจบรรพ
ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ, ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม, จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ. คือ อริยสัจ (ความจริงของพระอริยเจ้า) ๔, กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุ, จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ. คือ อริยสัจ ๔,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้, อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์, อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. ยอมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี่ทุกข์สมุทัย, อะยัง ทุขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. นี่ทุกขะนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์), อะยัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทาติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์),
ทุกข์ ๑. ชาติปิ ทุกขา.
กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของจริงแห่งพระอริยเจ้า คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ชาติปิ ทุกขา. แม้ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์, ชะราปิ ทุกขา. แม้ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์, มะระณัมปิ ทุกขัง. แม้มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์, โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา. แม้โสกะ (ความโศก) ปะริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์, อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข. ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์, ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข. ความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์, ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ. สัตว์ปรารถนาสิ่งใด ย่อมไม่ได้. ตัมปิ ทุกขัง. แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้น ก็เป็นทุกข์. สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา. โดยย่อ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ประกอบด้วยอุปาทาน ความถือมั่น) ก็เป็นทุกข์,
กะตะมา จะ ภิกขะเว ชาติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติ(ความเกิด) เป็นอย่างไร?, ยา เตสัง เตสัง สัตตานิ ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อะภินิพพัตติ ขันธานัง ปาตุภาโว อายะตะนานัง ปะฏิลาโภ. ความเกิด เกิดพร้อม (คือมีอายตนะบริบูรณ์) ความหยั่งลง (คือ เป็นชลาพุชะ หรืออัณฑชะปฏิสนธิ) เกิด (คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ) เกิดจำเพาะ (คือเป็นอุปปาติกปฏิสนธิ) ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆอันใด, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชาติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ชาติ (ความเกิด),
๒. ชะราปิ ทุกขา
กะตะมา จะ ภิกขะเว ชะรา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชรา (ความแก่) เป็นอย่างไร?, ยา เตสัง เตสัง สัตตานัง ตัมหิ ตัมหิ สัตตะนิกาเย ชะรา ชีระณะตา ขัณฑิจจัง ปาลิจจัง วะลิตจะตา อายุโน สังหานิ อินทริยานัง ปะริปาโก. ความแก่ ความคร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังหดเหี่ยว เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆของสัตว์นั้นๆอันใด, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ชะรา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ชรา (ความแก่),
๓. มรณัมปิ ทุกขัง
กะตะมัญจะ ภิกขะเว มะระณัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณะ (ความตาย) เป็นอย่างไร?, ยา เตสัง เตสัง สัตตานัง ตัมหา ตัมหา สัตตะนิกายา จุติ จะวะนะตา เภโท อันตะระธานัง มัจจุมะระณัง กาละกิริยา ขันธานัง เภโท กะเฬวะรัสสะ นิกเขโป ชีวิตินทริยัสสะอุปัจเฉโท. ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆอันใด, อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว มะระณัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า มรณะ (ความตาย),
๔. โสกะ ทุกขัง
กะตะมา จะ ภิกขะเว โสโก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสกะ (ความแห้งใจ) เป็นอย่างไรเล่า?, โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ สะมันนาคะตัสสะ อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ ผุฏฐัสสะ โสโก โสจะนา โสจิตัตตัง อันโต โสโก อันโต ปะริโสโก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความโศก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความโศก ณ ภายในของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันใดเล่า, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว โสโก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า โสกะ (ความแห้งใจ),
๕. ปริเทวะ ทุกขัง
กะตะมา จะ ภิกขะเว ปะริเทโว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน) เป็นอย่างไรเล่า?, โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเสนะ สะมันนาคะตัสสะ อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ ผุฏฐัสสะ อาเทโว ปะริเทโว อาเทวะนา ปะริเทวะนา อาเทวิตัตตัง ปะริเทวิตัตตัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ ความที่ร่ำไรรำพัน ความที่สัตว์ร่ำไรรำพัน ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหาย อันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันใดเล่า, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปะริเทโว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน),
๖.ทุกขัง
กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) เป็นอย่างไรเล่า?, ยัง โข ภิกขะเว กายิกัง ทุกขัง กายิกัง อะสาตัง กายะสัมผัสะชัง ทุกขัง อะสาตัง เวทิยัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในกาย ความไม่ดีเกิดในกาย เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์ เกิดแต่สัมผัสทางกาย อันใด?, อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ทุกข์ (ความไม่สบายกาย),
๗.โทมนัสสัง ทุกขัง
กะตะมัญจะ ภิกขะเว โทมะนัสสัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัส(ความเสียใจ) เป็นอย่างไร?, ยัง โข ภิกขะเว เจตะสิกัง ทุกขัง เจตะสิกัง อะสากัง เจโตสัมผัสสะชัง ทุกขัง อะสาตัง เวทะยิตัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในใจ ความไม่ดีเกิดในใจ เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์ เกิดแต่สัมผัสทางใจอันใด?, อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว โทมะนัสสัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าโทมนัส(ความเสียใจ),
๘. อุปายาส ทุกขัง
กะตะโม จะ ภิกขะเว อุปายาโส. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปายาส (ความคับแค้น) เป็นอย่างไร?, โย โข ภิกขะเว อัญญะตะรัญญะตะเรนะ พังยะสะเนนะ สะมันนาคะตัสสะ อัญญะตะรัญญะตะเรนะ ทุกขะธัมเมนะ ผุฏฐัสสะ อายาโส อุปายาโส อายาสิตัตตัง อุปายาสิตัตตัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความแค้น ความคับแค้น ความที่สัตว์แค้น ความที่สัตว์คับแค้น ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันใด?, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว อุปายาโส. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่าอุปายาส (ความคับแค้น),
๙.อัปปิเยหิ สัมปะโยค ทุกขัง
กะตะโม จะ ภิกขะเว อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ อย่างไร?, อิธะ ภิกขะเว ยัสสะ เต โหนติ อะนิฏฐา อะกันตา อะมะนาปา รูปา สัทธา คันธา ระสา โผฏฐัพพา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ปลื้มใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอารมณ์ที่พึงถูกต้องด้วยกาย ย่อมมีแก่ผู้นั้น, เย วา ปะนัสสะ เต โหนติ อะนัตถะกามา อะโยคักเขมะกามา. อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความฉิบหาย ใคร่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่สำราญ และใคร่ความไม่เกษม จากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น, ยาเตหิ สังคะติ สะมาคะโม สะโมธานัง มิสสีภาโว. ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ความประสบกับสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์,
๑๐.ปิเยหิ วิปปะโยค ทุกขัง
กะตะโม จะ ภิกขะเว ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ อย่างไร?, อิธะ ภิกขะเว ยัสสะ เต โหนติ อิฏฐา กันตา มะนาปา รูปา สัททา คันธา ระสา โผฏฐัพพา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ปลื้มใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอารมณ์ที่พึงจะถูกต้องด้วยกายย่อมมีแก่ผู้นั้น, เย วา ปะนัสสะ เต โหนติ อัตถะกามา หิตะกามา ผาสุกามา โยคักเขมะกามา. อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ความสำราญ และใคร่ความเกษม จากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น, มาตา วา ปิตา วา. คือมารดา หรือบิดา, ภาตา วา ภะคินี วา. พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง, มิตตา วา อะมัจจา วา. มิตรหรืออำมาตย์, ญาติสาโลหิตา วา. หรือญาติสาโลหิต, ยา เตหิ อะสังคะติ อะสะมาคะโม อะสะโมธานัง อะมิสสีภาโว. ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่ระคน กับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์,
๑๑. ยัมปิจฉัง นะ ลภติ ตัมปิ ทุกขัง
กะตะมัญจะ ภิกขะเว ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ของที่ไม่สมประสงค์นั้น เป็นทุกข์อย่างไรเล่า?, ชาติธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า, อะโห วะตะ มะยัง นะ ชาติธัมมา อัสสามะ. เออหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเกิดเป็นธรรมดาเถิด, นะ จะ วะตะ โน ชาติ อาคัจเฉยยาติ. อนึ่ง ขอความเกิดอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้, นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง. ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้, อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง. แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ (สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์), ชะราธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ที่มีความแก่ เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า, อะโห วะตะ มะยัง นะ ชะราธัมมา อัสสามะ. เออหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความแก่เป็นธรรมดาเถิด, นะ จะ วะตะ โน ชะรา อาคัจเฉยยาติ. อนึ่ง ขอความแก่อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้, นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง. ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้, อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง. แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์, พะยาธิธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ ที่มีความเจ็บๆไข้ๆ เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า, อะโห วะตะ มะยัง นะ พะยาธิธัมมา อัสสามะ. เออหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเถิด, นะ จะ วะตะ โน พะยาธิธัม อาคัจเฉยยาติ. อนึ่ง ขอความเจ็บไข้อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา, นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง. ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้, อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง. แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์, มะระณะธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ ที่มีความตาย เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า, อะโห วะตะ มะยัง นะ มะระณะธัมมา อัสสามะ. เออหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความตายเป็นธรรมดาเถิด, นะ จะ วะตะ โน มะระณะธัม อาคัจเฉยยาติ. อนึ่ง ขอความตายอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้, นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง. ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้, อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง. แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์, โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสะธัมมานัง ภิกขะเว สัตตานัง เอวัง อิจฉา อุปปัชชะติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ ที่มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า, อะโห วะตะ มะยัง นะ โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสะธัมมา อัสสามะ. เออหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดาเถิด, นะ จะ วะตะ โน โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา อาคัจเฉยยาติ. อนึ่ง ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้, นะ โข ปะเนตัง อิจฉายะ ปัตตัพพัง. ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้, อิทัมปิ ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง. แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์, (สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์)
๑๒.ปัญจุปาทานักขันธา(เบญจขันธ์) ทุกขา
กะตะมา จะ ภิกขะเว สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์อย่างไร, เสยยะถีทัง. นี้คือ รูปูปาทานักขันโธ. อุปาทานขันธ์ คือรูป, เวทะนูปาทานักขันโธ. อุปาทานขันธ์ คือเวทนา, สัญญูปาทานักขันโธ. อุปาทานขันธ์ คือสัญญา, สังขารูปาทานักขันโธ. อุปาทานขันธ์ คือสังขาร, วิญญาณูปาทานักขันโธ. อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ, ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา. ที่กล่าวว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์, อิเม วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขัง อริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริยสัจ คือทุกข์,
ทุกขสมุทัย
กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) เป็นอย่างไร, ยายัง ตัณหา. ตัณหา (ความทะยานอยาก) นี้ อันใด, โปโนพภะวิกา. มีความเกิดอีกเป็นปกติ, นันทิราคะสะหะคะตา. ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลิน, ตัตระ ตัตราภินันทินี. มักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ, เสยยะถีทัง. นี้คือ,
๑. กามตัณหา กามะตัณหา. ความอยากในอารมณ์ที่สัตว์รักใคร่, ๒.ภวตัณหา ภะวะตัณหา. ความอยากมีอยากเป็น, ๓.วิภวตัณหา วิภะวะตัณหา. ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น (น่าจะแปลว่า ความอยากในความไม่มีไม่เป็น หรืออยากในวิภพ),
สา โข ปะเนสา ภิกขะเว ตัณหา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นแล, กัตถะ อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. เมื่อจะเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นที่ไหน, กัตถะ นีวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน,
ความพอใจ, ความเกิด,และความตั้งอยู่แห่งตัณหา
ยัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ที่ใด เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น,
๑. ตา
กิญจิ โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นพอใจในโลก, จักขุ โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ตานั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ตานั้น,
๒.หู
โสตัง โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. หู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่หูนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่หูนั้น,
๓. จมูก
ฆานะ โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. จมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่จมูกนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จมูกนั้น,
๔. ลิ้น
๔. ลิ้น
ชิวหา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ลิ้นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ลิ้นนั้น,
๕. กาย
กาเย โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. กาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายนั้น,
๖. ใจ มะโน โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ใจนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น, ๗.รูป
รูปา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. รูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปนั้น,
๘. เสียง
สัททา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. เสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เสียงนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เสียงนั้น,
๙. กลิ่น
คันธา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. กลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กลิ่นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กลิ่นนั้น,
๑๐. รส
ระสา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. รส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รสนั้น,
๑๑. โผฏทัพพะ ๑๑. โผฏทัพพะ
โผฏฐัพพา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. โผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โผฏฐัพพะนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โผฏฐัพพะนั้น,
๑๒. ธรรมารมณ์
ธัมมา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นั้น,
๑๓. ความรู้ทางตา
จักขุวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความรู้ทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความรู้ทางตานั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความรู้ทางตานั้น,
๑๔. ความรู้ทางหู
โสตะวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความรู้ทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความรู้ทางหูนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความรู้ทางหูนั้น,
๑๕. ความรู้ทางจมูก
ฆานะวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความรู้ทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความรู้ทางจมูกนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความรู้ทางจมูกนั้น,
๑๖. ความรู้ทางลิ้น ชิวหาวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความรู้ทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความรู้ทางลิ้นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความรู้ทางลิ้นนั้น, ๑๗. ความรู้ทางกาย
กายะวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความรู้ทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความรู้ทางกายนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความรู้ทางกายนั้น,
๑๘. ความรู้ทางใจ
๑๘. ความรู้ทางใจ
มะโนวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความรู้ทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความรู้ทางใจนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความรู้ทางใจนั้น,
๑๙. ความกระทบทางตา
จักขุสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความกระทบทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความกระทบทางตานั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความกระทบทางตานั้น,
๒๐. ความกระทบทางหู
โสตสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความกระทบทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความกระทบทางหูนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความกระทบทางหูนั้น,
๒๑. ความกระทบทางจมูก
ฆานะสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความกระทบทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความกระทบทางจมูกนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความกระทบทางจมูกนั้น,
๒๒. ความกระทบทางลิ้น
ชิวหาสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความกระทบทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความกระทบทางลิ้นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความกระทบทางลิ้นนั้น,
๒๓. ความกระทบทางกาย กายะสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความกระทบทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความกระทบทางกายนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความกระทบทางกายนั้น, ๒๔. ความกระทบทางใจ
๒๔. ความกระทบทางใจ
มะโนสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความกระทบทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความกระทบทางใจนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความกระทบทางใจนั้น,
๒๕. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางตา
จักขุสัมผัสสะชา เวทะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางตานั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางตานั้น,
๒๖. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางหู
โสตะสัมผัสสะชา เวทะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางหูนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางหูนั้น,
๒๗. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางจมูก ฆานะสัมผัสสะชา เวทะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางจมูกนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางจมูกนั้น, ๒๘. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางลิ้น
ชิวหาสัมผัสสะชา เวทะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางลิ้นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางลิ้นนั้น,
๒๙. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางกาย
กายะสัมผัสสะชา เวทะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางกายนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางกายนั้น,
๓๐ . เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางใจ
มะโนสัมผัสสะชา เวทะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. เวทนาที่เกิดขึ้นแต่สัมผัสทางใจ เป็นทีรักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจนั้น,
๓๑. ความจำรูป
รูปะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความจำรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความจำรูปนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความจำรูปนั้น,
๓๒. ความจำเสียง
สัททะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความจำเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความจำเสียงนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความจำเสียงนั้น,
๓๓. ความจำกลิ่น
คันธะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความจำกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความจำกลิ่นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความจำกลิ่นนั้น,
๓๔. ความจำรส
ระสะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความจำรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความจำรสนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความจำรสนั้น,
๓๕. ความจำโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความจำโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความจำโผฏฐัพพะนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความจำโผฏฐัพพะนั้น, ๓๖. ความจำธัมมารมณ์
ธัมมะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความจำธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความจำธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความจำธัมมารมณ์นั้น,
๓๗. ความคิดถึงรูป
รูปะสัญเจตะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความคิดถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงรูปนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงรูปนั้น,
๓๘. ความคิดถึงเสียง
สัททะสัญเจตะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความคิดถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงเสียงนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงเสียงนั้น,
๓๙. ความคิดถึงกลิ่น
คันธะสัญเจตะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความคิดถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงกลิ่นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงกลิ่นนั้น,
๔๐. ความคิดถึงรส
ระสะสัญเจตะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความคิดถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงรสนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงรสนั้น,
๔๑. ความคิดถึงโผฏฐัพพะ
โผฏฐัพพะสัญเจตะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความคิดถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น,
๔๒. ความคิดถึงธัมมารมณ์
ธัมมะสัญเจตะนา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความคิดถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น,
๔๓. ความอยากในรูป
รูปะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความอยากในรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในรูปนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในรูปนั้น,
๔๔. ความอยากในเสียง
สัททะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความอยากในเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในเสียงนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในเสียงนั้น,
๔๕. ความอยากในกลิ่น
คันธะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความอยากในกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในกลิ่นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในกลิ่นนั้น,
๔๖. ความอยากในรส
ระสะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความอยากในรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในรสนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในรสนั้น,
๔๗. ความอยากในโผฏฐัพพะ
โผฏฐัพพะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความอยากในโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น,
๔๘. ความอยากในธัมมารมณ์
ธัมมะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความอยากในธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น,
๔๙. ความตรึกถึงรูป
รูปะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรึกถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงรูปนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงรูปนั้น,
๕๐. ความตรึกถึงเสียง
สัททะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรึกถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงเสียงนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงเสียงนั้น,
๕๑. ความตรึกถึงกลิ่น
คันธะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรึกถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น,
๕๒. ความตรึกถึงรส
ระสะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรึกถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงรสนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงรสนั้น,
๕๓. ความตรึกถึงโผฏทัพพะ
โผฏฐัพพะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรึกถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น,
๕๔. ความตรึกถึงธัมมารมณ์
ธัมมะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรึกถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น,
๕๕. ความตรองถึงรูป
รูปะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรองถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงรูปนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงรูปนั้น,
๕๖. ความตรองถึงเสียง
สัททะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรองถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงเสียงนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงเสียงนั้น,
๕๗. ความตรองถึงกลิ่น
คันธะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรองถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น,
๕๘. ความตรองถึงรส
ระสะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรองถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงรสนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงรสนั้น,
๕๙. ความตรองถึงโผฏทัพพะ
โผฏฐัพพะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรองถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น,
๖๐. ความตรองถึงธัมมารมณ์
ธัมมะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สะตะรูปัง. ความตรองถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา อุปปัชชะมานา อุปปัชชะติ. ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิวีสะมานา นิวีสะติ. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น, อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าอริยสัจ คือทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)
ทุกขนิโรธ
กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าอริยสัจคือทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์) เป็นอย่างไร?, โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย. (คือ) ความสำรอกและความดับโดยไม่มีเหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัย ในตัณหานั้นนั่นแล อันใด, สา โข ปะเนสา ภิกขะเว ตัณหา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานั้นนั่นแล, กัตถะ ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. เมื่อบุคคลละเสีย ย่อมละเสียได้ในที่ไหน, กัตถะ นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน, ยัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับในที่นั้น,
๑. ตา
จักขุ โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ตานั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ตานั้น,
๒. หู
โสตัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. หู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่หูนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่หูนั้น,
๓. จมูก
ฆานัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. จมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่จมูกนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่จมูกนั้น,
๔. ลิ้น
ชิวหา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ลิ้นนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ลิ้นนั้น,
๕ กาย
กาโย โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. กาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่กายนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่กายนั้น,
๖. ใจ
มะโน โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ใจนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ใจนั้น,
๗. รูป
รูปา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. รูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่รูปนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่รูปนั้น,
๘. เสียง
สัททา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. เสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เสียงนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เสียงนั้น,
๙. กลิ่น
๙. กลิ่น
คันธา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. กลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่กลิ่นนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่กลิ่นนั้น,
๑๐. รส
ระสา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. รส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่รสนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่รสนั้น,
๑๑. โผฏฐัพพะ
โผฏทัพพา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. โผฏทัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่โผฏทัพพา นั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่โผฏทัพพะนั้น,
๑๒. ธัมมารมณ์
ธัมมา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ธัมมารมณ์นั้น,
๑๓. ความรู้ทางตา
จักขุวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความรู้ทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางตานั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางตานั้น,
๑๔. ความรู้ทางหู โสตะวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความรู้ทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางหูนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางหูนั้น, ๑๕. ความรู้ทางจมูก
ฆานะวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความรู้ทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางจมูกนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางจมูกนั้น,
๑๖. ความรู้ทางลิ้น
ชิวหาวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความรู้ทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางลิ้นนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางลิ้นนั้น, ๑๗. ความรู้ทางกาย กายะวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความรู้ทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางกายนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางกายนั้น,
๑๘. ความรู้ทางใจ
มะโนวิญญาณัง โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความรู้ทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางใจนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางใจนั้น,
๑๙. ความกระทบทางตา
จักขุสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความกระทบทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางตานั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางตานั้น,
๒๐. ความกระทบทางหู
โสตะสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความกระทบทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางหูนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางหูนั้น,
๒๑. ความกระทบทางจมูก
ฆานะสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความกระทบทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางจมูกนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางจมูกนั้น,
๒๒. ความกระทบทางลิ้น
ชิวหาสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความกระทบทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางลิ้นนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางลิ้นนั้น,
๒๓. ความกระทบทางกาย
กายะสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความกระทบทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางกายนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางกายนั้น,
๒๔. ความกระทบทางใจ
มะโนสัมผัสโส โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความกระทบทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางใจนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางใจนั้น,
๒๕. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางตา
จักขุสัมผัสชา เวทนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางตานั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางตานั้น,
๒๖. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางหู
โสตะสัมผัสชา เวทนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางหูนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางหูนั้น,
๒๗. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางจมูก
ฆานะสัมผัสชา เวทนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางจมูกนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางจมูกนั้น,
๒๘. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น
ชิวหาสัมผัสชา เวทนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางลิ้นนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางลิ้นนั้น,
๒๙. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางกาย
กายะสัมผัสชา เวทนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางกายนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางกายนั้น,
๓๐. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ
มะโนสัมผัสชา เวทนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. เวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจนั้น,
๓๑. ความจำรูป
รูปะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความจำรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำรูปนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำรูปนั้น,
๓๒. ความจำเสียง
สัททะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความจำเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำเสียงนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำเสียงนั้น,
๓๓. ความจำกลิ่น
คันธะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความจำกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำกลิ่นนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำกลิ่นนั้น,
๓๔. ความจำรส
ระสะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความจำรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำรสนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำรสนั้น,
๓๕. ความจำโผฏฐัพพะ
โผฏทัพพะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความจำโผฎทัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำโผฏทัพพะนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำโผฏทัพพะนั้น,
๓๖. ความจำธัมมารมณ์
ธัมมะสัญญา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความจำธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจำธัมมารมณ์นั้น,
๓๗. ความคิดถึงรูป
รูปะสัญเจตนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความคิดถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรูปนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงรูปนั้น,
๓๘. ความคิดถึงเสียง
สัททะสัญเจตนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความคิดถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงเสียงนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงเสียงนั้น,
๓๙. ความคิดถึงกลิ่น
คันธะสัญเจตนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความคิดถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงกลิ่นนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงกลิ่นนั้น,
๔๐. ความคิดถึงรส
ระสะสัญเจตนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความคิดถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรสนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงรสนั้น,
๔๑. ความคิดถึงโผฏทัพพะ
๔๑. ความคิดถึงโผฏทัพพะ
โผฏทัพพะสัญเจตนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความคิดถึงโผฏทัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงโผฏทัพพะนั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงโผฏทัพพะนั้น,
๔๒. ความคิดถึงธัมมารมณ์
ธัมมะสัญเจตนา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความคิดถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิ รุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น,
๔๓. ความอยากในรูป
รูปะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความอยากในรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรูปนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในรูปนั้น,
๔๔. ความอยากในเสียง
สัททะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความอยากในเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในเสียงนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในเสียงนั้น,
๔๕. ความอยากในกลิ่น
คันธะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความอยากในกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในกลิ่นนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในกลิ่นนั้น,
๔๖. ความอยากในรส
ระสะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความอยากในรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรสนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในรสนั้น,
๔๗. ความอยากในโผฏทัพพะ
๔๗. ความอยากในโผฏทัพพะ
โผฏทัพพะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความอยากในโผฏทัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในโผฏทัพพะนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในโผฏทัพพะนั้น,
๔๘. ความอยากในธัมมารมณ์
ธัมมะตัณหา โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความอยากในธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น,
๔๙. ความตรึกถึงรูป
รูปะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรึกถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรูปนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงรูปนั้น,
๕๐. ความตรึกถึงเสียง
สัททะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรึกถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงเสียงนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงเสียงนั้น,
๕๑. ความตรึกถึงกลิ่น
คันธะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรึกถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น,
๕๒. ความตรึกถึงรส
ระสะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรึกถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรสนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงรสนั้น,
๕๓. ความตรึกถึงโผฏทัพพะ
๕๓. ความตรึกถึงโผฏทัพพะ
โผฏทัพพะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรึกถึงโผฏทัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงโผฏทัพพะนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงโผฏทัพพะนั้น,
๕๔. ความตรึกถึงธัมมารมณ์
ธัมมะวิตักโก โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรึกถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น,
๕๕. ความตรองถึงรูป
รูปะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรองถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงรูปนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงรูปนั้น,
๕๖. ความตรองถึงเสียง
สัททะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรองถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงเสียงนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงเสียงนั้น,
๕๗. ความตรองถึงกลิ่น
คันธะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรองถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น,
๕๘. ความตรองถึงรส
ระสะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรองถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงรสนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงรสนั้น,
๕๙. ความตรองถึงโผฏทัพพะ
๕๙. ความตรองถึงโผฏทัพพะ
โผฏทัพพะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรองถึงโผฏทัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงโผฏทัพพะนั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงโผฏทัพพะนั้น,
๖๐. ความตรองถึงธัมมารมณ์
ธัมมะวิจาโร โลเก ปิยะรูปัง สาตะรูปัง. ความตรองถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก, เอตเถสา ตัณหา ปะหิยยะมานา ปะหิยยะติ. ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น, เอตถะ นิรุชฌะมานา นิรุชฌะติ. เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น,
อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขนิโรโธ อะริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์)
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(มรรค)
กะตะมัญจะ ภิกขะเว ทุกขนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์) เป็นอย่างไร?,
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโกมัคโค. ทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ทางเดียวนี้แล, เสยยะถีทัง. ทางนี้เป็นอย่างไร, สัมมาทิฏฐิ. ความเห็นชอบ, สัมมาสังกัปโป. ความดำริชอบ, สัมมาวาจา. วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ, สัมมากัมมันโต. วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ, สัมมาอาชีโว. วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยงชีพชอบ, สัมมาวายาโม. ความพยายามชอบ, สัมมาสะติ. ความระลึกชอบ, สัมมาสะมาธิ. ความตั้งจิตมั่นชอบ,
๑ - ความเห็นชอบ-
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างร?, ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง ทุกขะนิโรเธ ญาณัง ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ อันใดแล, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ),
๒ -ความดำริชอบ-
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) เป็นอย่างไร?, เนกขัมมาสังกัปโป. ความดำริในการออกบวช (คือออกจากกามารมณ์) อัพพะยาปาทะสังกัปโป. ความดำริในความไม่พยาบาท, อะวิหิงสาสังกัปโป. ความดำริในการไม่เบียดเบียน, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ),
๓ -ความเจรจาชอบ-
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา (วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ) เป็นอย่างไร?, มุสาวาทา เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการกล่าวเท็จ, ปุณายะ วาจายะ เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากวาจาส่อเสียด, ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากวาจาหยาบคาย, สัมผัปปะลาปา เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากเจรจาสำราก เพ้อเจ้อ, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาวาจา (วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ),
๔ -การงานชอบ-
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ (วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ) เป็นอย่างไร?, ปาณาติปาตา เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์, อะทินนาทานา เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี. เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากความประพฤติผิดในกาม, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมัมมันตะ (วิรัติธรรมเป็นเครื่องกระทำชอบ)
๕ -ความเลี้ยงชีพชอบ-
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ (วิรัติธรรมเป็นที่เลี้ยงชีพชอบ) เป็นอย่างไร?, อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้, มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ. ละความเลี้ยงชีพผิดเสียแล้ว, สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ. ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ (วิรัติธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพชอบ)
๖ -ความเพียรชอบ-
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ (ความพยายามชอบ) เป็นอย่างไร?, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
๑.สังวรปธาน
อะนุปปันนัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ. เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น, ฉันทัง ชะเนติ. ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด, วายะมะติ. ย่อมพยายาม, วิริยัง อาระภะติ. ย่อมปรารภความเพียร, จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ . ย่อมประคองตั้งจิตไว้,
๒.ปหานปธาน
อุปปันนานัง. ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ. เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว, ฉันทัง ชะเนติ. ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด, วายะมะติ. ย่อมพยายาม, วิริยัง อาระภะติ. ย่อมปรารภความเพียร, จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ . ย่อมประคองตั้งจิตไว้,
๓.ภาวนาปธาน
อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ. เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น, ฉันทัง ชะเนติ. ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด, วายะมะติ. ย่อมพยายาม, วิริยัง อาระภะติ. ย่อมปรารภความเพียร, จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ . ย่อมประคองตั้งจิตไว้,
๔.อนุรักขนาปธาน
อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ เวปุลลายะ ภาวะนายะ ปาริปูริยา. เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบสูญ เจริญยิ่ง ไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว, ฉันทัง ชะเนติ. ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด, วายะมะติ. ย่อมพยายาม, วิริยัง อาระภะติ. ย่อมปรารภความเพียร, จิตตัง ปัคคันหาติ ปะทะหะติ . ย่อมประคองตั้งจิตไว้,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ), หมายเหตุ: ความเพียรชอบนี้คือสัมมัปปธาน ๔ คือเพียรในที่ ๔ สถาน ได้แก่ ๑.สังวรปธาน ๒.ปหานปธาน ๓.ภาวนาปธาน ๔.อนุรักขนาปธาน ๗
-ความระลึกชอบ-
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นอย่างไร?, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
๑ ตั้งสติระลึกในกาย
กาเย กายนุปัสสี วิหะระติ. ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ,
๒ ตั้งสติระลึกในเวทนา
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ,
๓ ตั้งสติระลึกในจิต
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ,
๔ ตั้งสติระลึกในธรรม
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่, อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา. มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา โทมะนัสสัง. พึงนำอภิชฌาและโทมนัส(ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสติ (ความระลึกชอบ), หมายเหตุ: สัมมาสติหมายถึงการมีสติระลึกไปในกาย,เวทนา,จิต,และธรรม
๘ - ความตั้งจิตมั่นชอบ-
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นอย่างไร?, อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ. สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล, สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกชัมปิติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชฌะ วิหะระติ. เข้าถึงปฐมฌาน (ความเพ่งที่ ๑) ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดจากวิเวก, วิตักกะวิจารานัง วุปะสะมา. เพราะความวิตกวิจาร (ทั้ง๒)ระงับลง, อัชฌัตตัง สัมปะทานัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัมปิติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. เข้าถึงทุติยะฌาน (ความเพ่งที่๒) เป็นเครื่องผ่องใส ณ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิ, ปิติยา จะ วิราคา. อนึ่ง เพราะความที่ปิติวิราศ(ปราศ)ไป, อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน. ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ, สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ. และเสวยความสุขด้วยกาย, ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ. อาศัยคุณคืออุเบกขา สติ สัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, ตะติยาฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. เข้าถึงตติฌาน (ความเพ่งที่ ๓) สุขัสสะ จะ ปะหานา. เพราะละสุขเสียได้, ทุกขัสสะ จะ ปะหานา. เพราะละทุกข์เสียได้, ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา. เพราะความที่โสมนัส และโทมนัส(ทั้ง๒) ในกาลก่อนอัสดงค์ดับไป, อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปะริสุทธิง จตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. เข้าถึงจตุตถฌาน (ความเพ่งที่ ๔) ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา, อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) อิทัง วุจจะติ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์แล้ว)
สัจจะบัพพัง จบข้อกำหนดด้วยสัจจะ
อิติ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ, ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง, พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง, อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในบ้างทั้งภายนอกบ้าง, สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง, วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในธรรมบ้าง, สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง,
อัตถิ ธัมมาติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ. ก็หรือสติว่า ธรรมมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น, ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, ปะติสสะติมัตตายะ. แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก, อะนิสสิโต จะ วิหะระติ. เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย, นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ. ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย, เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม. จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ. คือ อริยสัจ ๔ อย่างนี้แลฯ,
ธัมมานุปัสสนาสะติปัฏฐานัง จบธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
-อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน๔-
โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น,** สัตตะ วัสสานิ. ตลอด ๗ ปี, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว สัตตะวัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, ฉะ วัสสานิ. ตลอด ๖ ปี, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว ฉะ วัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ ปียกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, ปัญจะ วัสสานิ. ตลอด ๕ ปี, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว ปัญจะ วัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปียกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, จัตตาริ วัสสานิ. ตลอด ๔ ปี, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว จัตตาริ วัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ปียกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, ตีณิ วัสสานิ. ตลอด ๓ ปี, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว ตีณิ วัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ ปียกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, เทว (ทเว) วัสสานิ. ตลอด ๒ ปี, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว เทว(ทเว) วัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ ปียกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, เอกัง วัสสานิ. ตลอด ๑ ปี, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)
ติฏฐันตุ ภิกขะเว เอกัง วัสสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑ ปียกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, สัตตะ มาสานิ. ตลอด ๗ เดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)
ติฏฐันตุ ภิกขะเว สัตตะ มาสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, ฉะ มาสานิ. ตลอด ๖ เดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)
ติฏฐันตุ ภิกขะเว ฉะ มาสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เดือนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, ปัญจะ มาสานิ. ตลอด ๕ เดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว ปัญจะ มาสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ เดือนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, จัตตาริ มาสานิ. ตลอด ๔ เดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว จัตตาริ มาสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ เดือนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, ตีณิ มาสานิ. ตลอด ๓ เดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว ตีณิ มาสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ เดือนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, เทว(ทเว) มาสานิ. ตลอด ๒ เดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว เทว(ทเว) มาสานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ เดือนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, เอกัง มาสัง. ตลอด ๑ เดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่) ติฏฐันตุ ภิกขะเว มาโส. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑ เดือนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, อัฑฒะมาสัง. ตลอดกึ่งเดือน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)
ติฏฐันตุ ภิกขะเว อัฑฒะมาสัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกึ่งเดิอนยกไว้, โย หิ โกจิ ภิกขะเว อิเม จัตตาโร สะติปัฏฐาเน เอวัง ภาเวยยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น, สัตตาหัง. ตลอด ๗ วัน, ตัสสะ ทวินนัง ผะลานัง อัญญะตะรัง ผะลัง ปาฏิกังขัง. ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ อันใดอันหนึ่ง, ทิฏเฐวะ ธัมเม อัญญา คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑, สะติ วา อุปาทิเสเส อะนาคามิตา. หรือเมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี๑ (คือผู้นั้นจะได้อรหัตตผล หรืออนาคามิผล ในปัจจุบันชาตินี้เป็นแน่)
- หมายถึงการเจริญสตินั้นสามารถ เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง เป็นภายนอกบ้าง เป็นทั้งภายในบ้างทั้งภายนอกบ้าง เห็นความเกิดขึ้นบ้าง ความเสื่อมไปบ้าง และทั้งความเกิดขึ้นบ้างทั้งความเสื่อมไป ของกาย เวทนา จิต ธรรมนั้นบ้าง
เอกายะโน ภิกขะเว อะยัง มัคโค. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก สัตตานัง วิสุทธิยา. เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย, โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความร่ำไร, ทุกขะโทมะนัสสานัง อัฏฐังคะมายะ. เพื่ออัศดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส, ญายัสสะ อะธิคะมายะ. เพื่อบรรลุญายธรรม, นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ. เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง, ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานาติ. ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้, อิติ ยันตัง วุตตัง. คำอันใดที่กล่าวแล้วอย่างนี้, อิทะเมตัง ปะฏิจจะ วุตตันติ. คำอันนั้น ที่อาศัยทางอันเอก(คือสติปัฏฐาน๔) นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้, อิทะมะโวจะ ภะคะวา อัตตะมะนา เต ภิกขู. ภิกษุเหล่านี้มีใจยินดี, ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ. เพลิดเพลินนักซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แลฯ,