มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๖
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๓๑ ง | ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ | ที่มา : [1]
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
แก้ไขเรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๖
แก้ไขเพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ จึงเห็นสมควรกําหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เพื่อให้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา ใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตผู้สําเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพและเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิผู้สําเร็จการศึกษา
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงออกประกาศไว้ดังนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๖”
๒. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแตว่ ันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๒” ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
๔. ชื่อคุณวุฒิการศึกษา ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ทล.บ.
๕. คุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ กําหนดให้ผู้สําเร็จการศึกษามีคุณภาพครอบคลุมอย่างน้อย ๓ ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะ หลักและสมรรถนะทั่วไป และด้านสมรรถนะวิชาชีพ สามารถศึกษาค้นคว้า พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในวิชาการสัมพันธ์กับวิชาชีพเพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบตัิงานในขอบเขตที่กว้างขวาง วางแผนและบริหารงานการผลิตหรือบริการในงานอาชีพ มีส่วนร่วมพัฒนาและริเริ่มวิธีการปฏิบัติ รับผิดชอบ ต่อตนเอง ผู้อื่นและหมู่คณะ มีอิสระในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนหรือจัดการงานผู้อื่น รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสยที่หมาะสมในการทํางาน
๖. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะของสาขาวิชานั้น ๆ ในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลิตผู้มีความรอบรู้และมีสมรรถนะในการปฏิบัติ และพัฒนางานระดับเทคโนโลยี สามารถจัดการและควบคุมการทํางาน มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยในการทํางาน สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุมชนและสถานประกอบการ สามารถประกอบอาชีพอิสระ พัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
๗. การจัดการศึกษาในระบบและระบบทวิภาคีใช้ระยะเวลา ๒ ปีการศึกษา การจัดภาคเรียน ให้ใช้ระบบทวิภาค โดยกําหนดให้ ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน และใน ๑ ภาคเรียนปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๘ สัปดาห์ สําหรับภาคเรียนฤดูร้อน ให้กําหนดระยะเวลาและจํานวน หน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติ การจัดภาคเรียนระบบอื่น ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น รวมทั้งการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน
๘. การคิดหน่วยกิตต่อภาคเรียน
- ๘.๑ รายวิชาทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปราย ไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
- ๘.๒ รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า ๓๖ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
- ๘.๓ รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
- ๘.๔ การฝกอาช ึ ีพในการศึกษาระบบทวิภาคี ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
- ๘.๕ การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
- ๘.๖ การทําโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๙. จํานวนหน่วยกิต มีจํานวนหน่วยกิตรวมระหว่าง ๗๒ - ๘๗ หน่วยกิต
๑๐. โครงสร้างหลักสูตร
- ๑๐.๑ หมวดวิชาทักษะชีวิต ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการปรับตัวและดําเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่ เห็นคุณค่าของตนและการพัฒนาตน มีความใฝ่รู้ แสวงหาและพัฒนาความรู้ใหม่ มีความสามารถในการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการจัดการ มีทักษะในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทํางานร่วมกับผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม มนุษยสัมพันธ์ รวมถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต
- การจัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต สามารถทําได้ในลักษณะเป็นรายวิชา หรือลักษณะบูรณาการให้ครอบคลมกลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของหมวดวิชาทักษะชีวิต
- ๑๐.๒ หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ประกอบด้วยกลุ่มวิชาที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะวิชาชีพ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ประเมินผล แก้ปัญหา ควบคุมงานสอนงาน และพัฒนางาน โดยบูรณาการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน รวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพ รวมไม่น้อยกว่า ๕๑ หน่วยกิต ประกอบด้วย ๔ กลุ่ม ดังนี้
- ๑๐.๒.๑ กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
- ๑๐.๒.๒ กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก
- ๑๐.๒.๓ ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
- ๑๐.๒.๔ โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
- ในการกําหนดให้เป็นสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ต้องศึกษากลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะในสาขาวิชานั้น ๆ รวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต นอกจากนี้กําหนดให้มีโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ จํานวน ๖ หน่วยกิต ในกรณีที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคีอาจยกเว้นการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพได้
- ๑๐.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี ประกอบด้วยวิชาที่เกี่ยวกับทักษะชีวิตหรือทักษะวิชาชีพ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อรวมไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
- การยกเว้นการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรีสามารถทําได้โดยการเทียบโอนผลการเรียน หรือโดยการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิตตามหลักสูตร ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด
๑๑. เงื่อนไขการจัดการเรียนรู้
- ๑๑.๑ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดเตรียมความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ให้เหมาะสมและเพียงพอในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
- ๑๑.๒ การจัดอัตราส่วนของเวลาการเรียนรู้ภาคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ประมาณ ๔๐ ต่อ ๖๐ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา
- ๑๑.๓ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องให้ความสําคัญกับการฝึกอาชีพเน้นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี โดยร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด
- ๑๑.๔ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทําโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพตามโครงสร้างหลักสูตร จํานวน ๖ หน่วยกิต สอดคล้องกับงานอาชีพสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- ๑๑.๕ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดให้มีการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในแต่ละหลักสูตร เพื่อเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา
- ๑๑.๖ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ระเบียบวินัย ปลูกฝังจิตสํานึกและเสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ทํานุบํารุงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และส่งเสริมการทํางานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทําประโยชน์ต่อชุมชน
๑๒. คุณสมบัติผู้เรียน เป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในสาขาวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กัน
๑๓. คุณสมบัติผู้สอน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด
๑๔. การเรียกชื่อปริญญา ใช้ชื่อปริญญาตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชาและการใชช้ื่ออักษรย่อสําหรับสาขาวิชา
๑๕. การวัดผลและประเมินผลการเรียน และการสําเร็จการศึกษา
- ๑๕.๑ การวัดผลและประเมินผลการเรียน ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
- ๑๕.๒ การสําเร็จการศึกษา ต้องได้จํานวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้างที่กําหนดไว้ในหลักสูตร และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า ๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนน และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ การให้ปริญญาตรีเกียรตินิยมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด
๑๖. การประกันคุณภาพหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกําหนดระบบประกันคุณภาพไว้ให้ชัดเจน อย่างน้อยประกอบด้วย ๔ ประเด็น คือ
- ๑๖.๑ คุณภาพของผู้สําเร็จการศึกษา
- ๑๖.๒ การบริหารหลักสูตร
- ๑๖.๓ ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา
- ๑๖.๔ ความต้องการกําลังคนของตลาดแรงงาน
๑๗. การกําหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา หลักสูตร และการอนุมัติ
- ๑๗.๑ การปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เป็นหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และให้ทําเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
- ๑๗.๒ การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงสาระสําคัญของหลักสูตรตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ให้เป็นหน้าที่ของสถาบันการอาชีวศึกษา และเสนอสภาสถาบันการอาชีวศึกษาให้ความเหนชอบ ็
- ๑๗.๓ การอนุมัติใช้หลักสูตรให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- ๑๗.๔ การประกาศใช้หลักสูตรให้ทําเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๑๘. ให้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาจัดให้มีการประเมิน เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก ๕ ปี
๑๙. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศน้ีได้ หรือมีความจําเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ