รวบรวมคำแถลงการณ์และประกาศต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ด้วยในการพระราชทานเพลิงศพนายทหารนายตำรวจผู้กล้าหาญซึ่งได้ประสพภัยวายชีพไปในการปราบกบฏครั้งนี้ มีจำนวนรวม ๑๗ ศพด้วยกัน คือ
- นายพันโท หลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล)
- นายร้อยเอก ขุนศุกรนาคเสนีย์ (เจือ ศุกรนาค)
- นายร้อยตำรวจเอก ขุนประดิษฐสกลการ (ไปล่ จันทประดิษฐ)
- นายร้อยโท น่วม ทองจรรยา
- นายร้อยตำรวจตรี ทอง แก่นอบเชย
- นายดาบ ละมัย แก้วนิมิตร์
- นายดาบ สมบุญ บัวชม
- จ่านายสิบ หล่อ วงศ์พราม
- จ่านายสิบ แฉล้ม ศักดิ์ศิริ
- นายสิบเอก ขั้ว เชือกพุ่งใหญ่
- นายสิบเอก เช้า ศุขสวย
- นายสิบเอก บุญช่วย สุมาลย์มาศ
- นายสิบเอก พัน ยังสว่าง
- นายสิบเอก จัน ศุขเนตร์
- นายสิบเอก ดา ทูคำมี
- นายสิบเอก หลิม เงินเจริญ
- นายสิบเอก ทองอิน เผือกผาศุก
ซึ่งล้วนแต่เปนผู้ที่มีเลือดเนื้อ รักประเทศชาติและรัฐธรรมนูญยิ่งกว่าชีวิต และมีความองอาจกล้าหาญทรหดอดทน โดยเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเปนที่ตั้ง มิได้คิดเปนห่วงหลังอาลัยถึงชีวิตของตนและของครอบครัวแม้แต่น้อย ซึ่งประชาชนทั่วทั้งประเทศสยามจะลืมคุณงามความดีของท่านผู้มีนามปรากฎดังข้างต้นนี้เสียมิได้เลยตราบชั่วกัลปาวสาน
โรงพิมพ์ศรีกรุงสมัครมีส่วนช่วยเหลือร่วมงานในการพระราชทานเพลิงศพท่านผู้กล้าหาญครั้งนี้ด้วย จึงได้รวบรวมคำแถลงการณ์และประกาศต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศแก่ข้าราชการฝ่ายทหาร, พลเรือน และราษฎรทั่วไป ในการที่ได้เกิดมีกบฏขึ้นในพระราชอาณาจักร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ เปนต้นไป หรือเริ่มแต่ประกาศใช้กฎอัยการศึก จนถึงประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก พร้อมด้วยภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ และภาพผู้กล้าหาญทำการปราบกบฏครั้งนี้ พิมพ์ขึ้นเปนของชำร่วย หนังสือเล่มนี้รวมขึ้นจากเล่มย่อย ๖ เล่มซึ่งรัฐบาลได้เคยพิมพ์แจกจ่ายเปนคราว ๆ มาแล้ว
คำแถลงการณ์และประกาศของรัฐบาลเล่มนี้ นับว่าเปนประวัติการณ์อันมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประกอบความจดจำถึงการที่ได้เกิดกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖ ขึ้นในพระราชอาณาจักร์ และเปนประโยชน์ในการที่จะค้นคว้าหาหลักฐานความจริงและเหตุการณ์ใด ๆ ที่ได้ผ่านไปแล้ว ซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ ให้สดวกยิ่งขึ้น มีคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับแจกเปนอย่างดี
อนึ่ง การรวบรวมหนังสือเล่มนี้ได้ทำโดยปัจจุบันทันด่วนเพื่อให้ทันงาน จึงเปนการจำเปนต้องมีความไม่เรียบร้อยด้วยประการต่าง ๆ ทั้งนี้ ขออภัยต่อท่านผู้ได้รับหนังสือนี้ทั่วไปด้วย
ด้วยอำนาจกุศลบุญราษีซึ่งเกิดจากทักษิณานุปทานแห่งการแจกหนังสือนี้ ขอจงเปนวิบากราษีอำนวยอิฏฐวิบูลผลแด่บรรดานายทหารและนายตำรวจผู้มีคุณแก่ประเทศสยาม ตามที่ได้กล่าวนามมาแล้วข้างต้นนั้น ตามควรแก่ฐานะนิยมทุกประการเทอญ
พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ผู้เปนหัวแรงสำคัญฝ่ายทหารในการปราบกบฎ | หลวงประดิษฐมนูธรรม หัวแรงสำคัญฝ่ายพลเรือนในการปราบกบฏ | พ.ท. หลวงพิบูลสงคราม ผู้บังคับกองผสมทำการปราบกบฎอย่างองอาจกล้าหาญ |
พ.ท. พระเริงรุกปัจจามิตร์ ผ.บ.ก. กองรบ มีชัยตอนสำคัญที่หินลับจนยกเข้ายึดโคราชได้ | พ.ต. หลวงวีระโยธา ผ.บ.ก. ร.พัน๖ วึ่งเข้าตลุมบอนที่หินลับ ฆ่า ‘ดิ่น ท่าราบ’ ตาย | พ.ท. พระประจนปัจจนึก ผ.บ.ก. กองรบส่วนที่ ๓ จากโคราชไปถึงอุบล |
พ.ท. หลวงสินาดโยธารักษ์ ผู้บังคับปืนใหญ่ปราบกบฎ | พ.ต. หลวงพรหมโยธี ผ.บ.ก. ร.พัน๓ ทำการปราบกบฎอย่างสามารถ | พ.ต. หลวงวิชิตสงคราม เสนาธิการกองรบตอนตีหินลับและยกเข้ายึดโคราช |
เข้ายึดสถานีปากช่องได้ ก็ไชโยกันสนั่นหวั่นไหว ดังปรากฎในภาพข้างบนนี้
เมื่อมีการสวนสนามครั้งใหญ่
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก