รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2491
คณะอภิรัฐมนตรี ในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ เพื่อให้เอกสิทธิคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐ แก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ โดยความเห็นชอบของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตรารัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา๑รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑"
มาตรา๒รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อจากมาตรา ๙๕ อัฏฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ เป็นมาตรา ๙๕ นว
"มาตรา ๙๕ นว ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ มาใช้บังคับแก่สภาร่างรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม
เอกสิทธิตามที่ระบุไว้ในมาตรานี้ ให้มีผลตั้งแต่วันเริ่มต้นดำเนินกิจการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ"
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- นายกรัฐมนตรี
บรรณานุกรม
แก้ไข- "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2491". (2491, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 65, ตอน 48 ก. หน้า 477–479.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"