ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 4/แผ่นที่ 2
- ราชกิจจานุเบกษา
- ประกาศมาที่ 3 ว่าด้วยจ่ายเงินภาษีเข้าบำรุงพระนคร ลงวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย จ.ศ. 1219 (25 มีนาคม พ.ศ. 2400)
- ประกาศมาที่ 4 พระราชทานนามคลอง ลงวันศุกร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย จ.ศ. 1219 (26 มีนาคม พ.ศ. 2400)
- แจ้งความมาที่ 2 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเล่าเรื่องสลัด ลงวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย จ.ศ. 1219 (16 มีนาคม พ.ศ. 2400)
- แจ้งความมาที่ 3 รับพระราชสาสนกรุงปารีศ แลส่งราชทูตไปกรุงฝรั่งเศส กรุงลอนดอน ลงวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเสง จ.ศ. 1219 (1 มีนาคม พ.ศ. 2400)
- หมายประกาศที่ 2 ว่าด้วยผู้ซึ่งเสพยสุราในวันสงกรานต์ ลงวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเสง จ.ศ. 1219 (28 มีนาคม พ.ศ. 2400)
- เตือนให้สติมาที่ 1 เตือนผู้ใช้คำหยาบ
- ข่าวตาย
- น้ำฝน
คือหนังสือหมายประกาศการเลกน้อยต่าง ๆ แต่ผู้ครองแผ่นดินสยามมาในวันอังคาร เดือนห้า แรมค่ำหนึ่ง ปีมะเมียยังเปนนพศ๗ก เปนปีที่ ๗ ในราชกาลประจุบันนี้ ให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในกรุงนอกกรุงแลราษฎรทั้งปวงทราบทั่วกัน แลทำตาม ประพฤติตาม แลรู้ความตามโดยสมควร เพื่อจะมิให้ทำแลประพฤติผิดพระราชดำริหพระราชประสงค์ แลเล่าฦๅถือการแลเข้าใจความผิด ๆ ไป ๚ะ
มีพระบรมราชโองการให้ประกาษแก่ราษฎรในกรุงนอกกรุงให้ทราบทั่วกันว่า แต่ก่อนในหลวงห้ามปิดเข้าไว้ไม่ให้เอาออกไปขายนอกประเทษ ยอมให้เอาไปแต่ภอเปนเสบียงคนทั้งปวงที่มิไช่ชาวนา แลพ่อค้าเรือต่างประเทศก็มีความสบายด้วยเข้าถูกเกวียนละตำลึงบ้าง ห้าบาทบ้าง ตำลึงกึ่งบ้าง แต่ชาวนาไม่ชอบใจ เพราะขายเข้าได้น้อยไม่ภอกิน ต้องทิ้งนาให้เปนป่ารกแลเวรนาเสียหลายหมื่นไร่ไปหากินอย่างอื่น ถึงพ่อค้าก็ไม่ชอบใจด้วยอยากจะขายเข้าออกไปนอกประเทศต้องลักลอบเอาไป ครั้นเจ้าพนักงานจับได้ ก็ต้องปรับ จึงเปนทุกข์ รวังตัว คนที่ซื้อเข้าเกบไว้มากกินหมดไปช้าเข้าก็ผก็เหมนเสียไปใช้ไม่ได้ จึงภากันซื้อไว้แต่น้อย ครั้นมีฝนแล้งเข้าสัก ๙ วัน ๑๐ วัน ก็ตื่นกันซื้อเข้า ว่าจะเกบไว้กินเมื่อเข้าแพง ชาวนาก็ได้ที กดราคาเข้าให้ขึ้นไปเกวียนหนึ่งสิบตำลึงสิบสองตำลึงเรวทีเดียว บัดนี้ผู้ใหญ่ในกรงพร้อมใจกันยอมเปิดให้ลูกค้าต่างประเทศซื้อเข้าไปนอกประเทศได้ ราษฎรเปนอันมากก็ตื่นกันค้าขายมาก ชาวนาก็ทำมาก ไม่มีว่างทุกแห่งทุกตำบล แต่คนที่มิไช่ชาวนา มิไช่พ่อค้า เหนจะไม่ชอบใจบ้าง ด้วยราคาเข้าไม่ตกลงจนตำลึงหนึ่งห้าบาทตำลึงกึ่งดังแต่ก่อน ต้องเสียเงินซื้อเข้ากินมากไปกว่าแต่ก่อน บัดนี้จึงทรงพระมหากรุณาตักเตือนสติพวกนั้นมาว่า จงอย่าเสียใจแลติเตียนว่าเพราะเปิดเข้าออกไป ราคาเข้าแพงอยู่เสมอไม่ลดลง ต้องเสียเงินซื้อเข้ากินมากไปนั้น จงคิดว่า เมื่อไม่เข้า คนทำนาน้อยไป ฝนแล้ง ก็ต้องเสียเงินซื้อเข้าแพงมาก ชดเชยกับที่เสียน้อยเมื่อเข้าถูกเหมือนกัน ฝ่ายชาวนาได้ผลประโยชน์เพราะนาน้อย ครั้นทิ้งนารกร้างเสีย ต่อเกิดเข้าแพง จึงคิดทำ ก็ต้องถากถางมากกว่าจะเปนนาขึ้นได้ ก็ยากเหนื่อยแรง จะคืนเปนนาได้ก็น้อยไป เพราะฉนั้น คนพวกที่ซื้อเข้ากินก็จงมีใจเอนดูคิดถึงพวกชาวนาแลพ่อค้าด้วยเมตตากรุณาบ้าง แลส่วนตัวเมื่อเหนว่าต้องเสียเงินซื้อเข้ากินนั้นแรงกว่าแต่ก่อนไป ก็จงมีอุสาห์คิดอ่านหาที่ไร่นาทำนาเองบ้าง ฤๅคิดค้าขายทำมาหากินต่าง ๆ บ้างเถิด บ้านเมืองจะได้รุงเรืองด้วยการไร่นาค้าขายที่ทุ่งนาว่างร้างอยู่ไม่มีไร่นาถมไป ๚ เข้าที่คนนอกประเทศซื้อไปนั้นเสียภาษีแก่พระคลังสำรับแผ่นดินเกวียนละตำลึงแลเงินภาษีเข้านั้น บัดนี้ทรงพระราชดำริห์ว่า เพราะเปิดเข้าออกไปนอกประเทศ จึงเกิดขึ้นแก่ท้องพระคลังหลวง ก็เพราะคนทั้งปวงซื้อเข้ากินแรงราคาไปกว่าแต่ก่อน ต้องเสียเงินมากไป เพราะเหตุที่เปิดเข้าให้ขายไปนอกประเทศนั้น จะวิตกว่าเงินของตัวตกเข้ามาเปนภาษีเข้า จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้จ่ายเงินภาษีเข้าจัดซื้ออิดขนาดใหญ่พันละห้าตำลึง แล้วให้กรมเมืองก่อแลส้อมแซมถนนหนทางในพระนคร แลยังจะให้สร้างตพานข้ามคลองในพระนครแลรอบพระนครให้แน่นหนาแขงแรง ให้คนเดินไปมาสดวกสบายด้วยกัน การเปนดังนี้คนทั้งปวงจงยินดีอนุโมทนาเอาเถิดว่า เหมือนกับเรี่ยไรกันส้อมแซมถนนหนทางแลตพานข้ามคลองให้เดินสบายด้วยกันทั้งพระแลคฤหัฐชาววัดชาวบ้านทั้งปวง ประกาษมาวันพฤหัฐ เดือนห้า ขึ้นสิบเอดค่ำ ปีมเมียยังเปนนพศ๗ก เปนวันที่ ๒๕๐๗ ในราชกาลประจุบันนี้ พระศรีสุนทรโวหารฟักเปนผัวเหมือนทาษของท่านผู้หญิงอิ่มขึ้นคาน เปนหลานพระยาศรีสิงหเทพเพง เปนผู้รับสั่ง ๚
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงห์นาทให้ประกาศให้ทราบทั่วกันทั้งในกรุงนอกกรุงว่า คลองขุดใหม่แขวงเมืองนครไชยศรี ปากคลองอยู่ท้ายบ้านนา ปลายคลองจดพระประทมเจดียนั้น บัดนี้พระราชทานนามชื่อว่าคลองเจดียบูชา เพราะได้ทรงบริจาคพระราชทรัพ ๖๐๐ ชั่งเสศจ้างจีนขุดให้เปนคลองขึ้นเพื่อจะให้เปนคลองบูชาพระเจดียนั้น มิไช่คลองของผู้อื่นสร้าง เพราะฉนั้น ให้คนทั้งปวงเรียกนามตามพระราชทานนี้เทอญ ประกาษมาวันศุกร เดือนห้า ขึ้นสิบสองค่ำ ปีมเมียยังเปนนพศ๗ก เปนวันที่ ๒๕๐๘ ในราชกาลประจุบันนี้ ขุนปฏิภาณพิจิตรเปนผู้รับสั่ง ๚
เมื่อวันอาทิตย เดือนสี่ แรมแปดค่ำ ปีมเสงนพศ๗ก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสดจพระราชดำเนินกลับมาแต่ประภาษทเล ถึงพระบวรราชวังแล้ว ทรงพระราชดำรัศเล่าความว่า เสดจพระราชดำเนินลงไปถึงเกาะช้างน่าเมืองตราษ มีผู้กราบทูลว่า เมื่อก่อนเรือพระที่นั่งลงไปถึงเกาะช้างสองสามวัน มีเรืออ้ายจีนสลัดหลายลำมาแล่นเที่ยวอยู่น่าเกาะช้างข้างนอก เรือเล็กน้อยพวกหาปลาหาปลิงกลัว หนีเข้ามาฝั่งฟากเมืองตราษสิ้น ครั้นได้ทรงทราบดังนี้ จึงทรงคาดการเหนว่า สลัดถ้ำมาเที่ยวตำบลนั้นแล้ว เมื่อน้ำในเรือหมด ก็เหนจะแวะมาตักน้ำในคลองสลักคอกที่ตำบลเกาะช้างนั้นเอง จึ่งได้เลื่อนเรือกำปั่นพระที่นั่งมงคลราชปักษีกับกำปั่นพุทธสิงหาศน ๒ ลำมาทอดอยู่ที่ปากคลองสลักคอกคอยจับสลัดอยู่ถึง ๓ วัน ก็หาพบเรือสลัดมาไม่ จึงได้เสดจพระราชดำเนินกลับขึ้นมาทอดประทับเรือพระที่นั่งอยู่ที่แหลมสิงห ปากน้ำเมืองจันทบุรี วันพุทธ เดือนสี่ แรมสี่ค่ำ เพลาบ่าย ๕ โมงเยน คนในเรือพระที่นั่งส่องกล้องลงไปข้างล่าง ใด้เหนเรือใบแล่นอยู่ ๓ ลำที่น่าเกาะปิดเกาะเปิดไกลที่เรือพระที่นั่งทอดอยู่ประมาณ ๒๐๐ เส้นเสศ ลำหนึ่งทอด สองลำแล่นผ่านไปผ่านมาอยู่แล้ว ได้แลเหนไฟวาบขึ้นในเรือลำใหญ่ ได้ยินเสียงปืนใหญ่ ๓ นัด เอาความกราบทูล จึงทรงคาดการสังเกดว่า เหนจะเปนเรืออ้ายจีนสลัดเข้าตีเรือลูกค้าเปนแน่ ขณะนั้นเรือพระที่นั่งก็ม้วนใบไว้สิ้น ดาดเพดานไว้ตลอดลำ ทรงกำหนดการเหนว่า กว่าจะแก้เพดานแล้วชักใบขึ้นให้พร้อมแล้วจะแล่นลงไปได้ ก็จะไม่ทันอ้ายสลัด เวลาก็จะค่ำเสีย เดือนก็มืด ถึงไปก็จะไม่เหนลำเรืออ้ายสลัด จึงได้โปรดให้งดรออยู่ จัดแจงเรือกำปั่นทั้ง ๒ ลำไว้ให้พร้อม ต่อเวลา ๔ ทุ่ม เดือนขึ้นสว่างแล้ว จึงจะแล่นเรือกำปั่น ๒ ลำลงไปสืบความแลตามจับอ้ายสลัด ครั้นเวลาเดือนขึ้นแล้ว ก็ได้แล่นเรือพระที่นั่งเรือพุทธสิงหาศนลงไปตามเวลากำหนด ภอพบเรือลำซึ่งถูกสลัดตีเมื่อเพลาเยนวันนั้นแล่นขึ้นมา จึงโปรดให้เรือช่วงออกไปถาม ได้ความว่า เปนเรือจีนเจ้สัวเล่าแช มีนายเรือลูกเรือคน ๑๕ คน ๑๖ คน อ้ายสลัดแล่นไล่มาแต่เกาะช้าง ทันเข้าที่น่าเกาะปิดเกาะเปิด อ้ายสลัดเอาปืนยิง ๒ นัด เรือลำนั้นได้ยิงสู้ แต่ประจุปืนใส่ดินมากไป ปืนแตก ดินในถังก็ลุกขึ้นด้วย อ้ายสลัดเอาม่อดินทิ้งลงด้วย คนในลำถูกดินลุกตายสองคน นอกนั้นป่วยเจบหมด เหลือเปนคนดีอยู่สี่ห้าคน อ้ายสลัดร้องให้ลดใบแลทอดสมอลง ด้วยความกลัวก็ได้ทำตามใจอ้ายจีนสลัด แต่อ้ายจีนสลัดจะขึ้นบนเรือก็หาทันไม่ ด้วยลมสำเภาพัดกล้า พัดเรืออ้ายสลัดแล่นเลยเรือที่ทอดสมออยู่นั้นขึ้นมา เรืออ้ายจีนสลัดจึงแล่นก้าวไปก้าวมา จะเข้าหาเรือที่ทอดสมออยู่ก็เข้าไม่ติด พวกอ้ายจีนสลัดจึงลงเรือช่วงตีกันเชียงมาจะขึ้นเรือลำนั้นให้ได้ จีนจุ่นจูเรือลำนั้นกลัว เอาขอนไม้ผูกกับตัวโดดน้ำลอยหนีไป คนอีก ๖ คนก็โดดน้ำหนีว่ายจนจมน้ำตาย เรือช่วงอ้ายจีนสลัดเข้ามาใกล้ร้องถามว่า มีสิ่งไรบนเรือ จีนบนเรือบอกว่า ไม่มีสิ่งไร มีแต่จากบันทุกมาขาย อ้ายจีนสลัดก็หาขึ้นบนเรือไม่ ตีกันเชียงกลับไปเรืออ้ายจีนสลัด ครั้นค่ำลงเรืออ้ายจีนสลัดก็หายไป ไม่ทราบว่าไปทางไหน เรือลำนี้ก็แล่นขึ้นมา จึ่งได้แล่นเรือพระที่นั่งลงไปตามในกลางคืน ก็หาพบเรืออ้ายสลัดไม่ พบแต่ตัวจุ่นจูซ่งผูกกับไม้ขอนลอยน้ำอยู่ ได้รับตัวขึ้นเรือได้แต่ในกลางคืนวันนั้นแล้ว ครั้นเวลาเช้าขึ้น ลมอุตราพัดลงกล้า ทอดพระเนตรลงไปเหนเรือลำหนึ่งแล่นหนีอยู่ข้างล่าง ได้ไถ่ถามจีนที่ถูกสลัดตี ก็ยืนยันว่าเรือลำนั้นเปนเรือสลัดแน่แล้ว จึงได้แล่นเรือพระที่นั่งไล่ลงไปใกล้เรือลำนั้นประมาณ ๕๐ เส้น ๖๐ เส้น ลมอุตราก็สงบอ่อนไปเสีย เรือพระที่นั่งแล่นไม่เดิน เรือที่หนีนั้นก็ตีกันเชียงเข้าฝั่งข้างจันทบุรีหายไป ข่าวอันนี้เปนแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัศเล่าเมื่อเสดจกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร เมืองจันทบุรีก็ยังหาได้มีบอกข่าวนั้นเข้ามาไม่จนวันนี้ เปนวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นสองค่ำ ปีมเมียยังเปนนพศ๗ก ๚
วันพุทธ เดือนห้า ขึ้นสามค่ำ ปีมเมียยังเปนนพศ๗ก มิศเตอเฮรติเยว่าแทนที่กงสุนฝรั่งเสศมาแจ้งความว่า ได้หีบหนึ่งส่งมาแต่กรุงปารีศมอบให้มิศเตอเฮรติเย ในหีบนั้นมีพระราชสาสน ๒ ฉบับเพื่อจะให้ถวายในพระบรมมหาราชวังฉบับ ๑ พระบวรราชวังฉบับ ๑ กับหนังสือเสนาบดีถึงเจ้าพระยาพระคลังฉบับ ๑ มิศเตอเฮรติเยขอให้รับตามธรรมเนียมรับพระราชสาสนแต่เมืองใหญ่แต่ก่อน จึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดแจงการแห่รับพระราชสาสนมาส่งในพระบรมมหาราชวัง แลให้มิศเตอเฮรติเยทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แล้วในวันเสาร เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ได้ยิงปืนรับ ๒๑ นัดเมื่อพระราชสาสนขึ้นท่าพระ แลในพระบวรราชวังได้รับพระราชสาสนเมื่อวันใดยังไม่กำหนด ความในพระราชสาสนแลหนังสือถึงเจ้าพระยาพระคลังนั้นก็ไม่มีความเปนสลักสำคัญอไรนัก เปนแต่กล่าวยินดีมาด้วยที่กรุงรับทำหนังสือสัญญาการพระราชไมตรีแลการค้าขายตามที่ได้ทำสัญญากับมองติคนีทูตซึ่งเข้ามากรุงเทพฯ เมื่อปีมโรงอัฐศกนั้น แต่ตอบแก่พระราชสาสนแลหนังสือเสนาบดีที่กรุงซึ่งมีออกไปกับมองติคนีเมื่อกลับไปนั้นว่า ได้รับด้วยความยินดีแลนับถือเปนอันมาก แลว่า เครื่องราชบรรณาการซึ่งทรงยินดีออกไป ได้รับแล้วจัดเรียบเรียงไว้ในห้องอันหนึ่งไว้สำหรับชมแลเหนเปนที่รฦกถึงทางพระราชไมตรีสืบไปภายน่า แลว่า ได้มิหนังสือสั่งให้แม่ทัพเรือฝรั่งเสศซึ่งอยู่ที่เมืองจีนให้คุมเรือมารับราชทูตอุปทูตกรุงไทยออกไปเมืองฝรั่งเสศเหมือนอย่างอังกฤษมารับเมื่อปีหลัง แลรับว่า ถ้าทูตไปถึงแล้ว จะนับถือรับรองโดยเคารพเหมือนพระเจ้าแผ่นดินไทยเสด็จไปเอง บัดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฝ่ายเราทั้งสองพระองค์พร้อมกับความคิดท่านเสนาบดีทรงพระราชดำริห์ไว้ว่า เมื่อใดเรือรบฝรั่งเสศเข้ามารับทูต เมื่อนั้นจะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ท่านพระยาศรีพิพัทรัตนราชโกษาจางวางพระคลังสินค้าเปนราชทูต หลวงนายฤทธิเปนบุตรเจ้าพระยาพลเทพเอี่ยมเปนอุปทูต แลข้าราชการในพระบวรราชวังคนหนึ่งเปนตรียทูต เชิญพระราชสาสนคุมเครื่องมงคลราชบรรณาการออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกรุงฝรั่งเสศให้เหมือนอย่างครั้งเมื่อส่งท่านพระยามนตรีสุริยวงษเปนราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเปนอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษเปนตรียทูต ไปเจริญทางพระราชไมตรีณกรุงลอนดอน เมืองอังกฤษ ในปีหลังนั้นแล
ด้วยเจ้าพระยายมราชชาติเสนางคนรินทรมหินทราธิบดีศรีวิไชยราชมไหยศวรรยบริรักษภูมิพิทักษโลกากรณทัณฑฤธิธรนครบาลสมุหบดีอภัยพิริยปรากรมพาหุรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า เปนเยี่ยงอย่างแต่บูราณ ยามตรุศยามสงกรานต์ ผู้ชายโดยมากเปนนักเลงบ้าง มิใช่นักเลงบ้าง พากันเสพสุราเมามายไปทุกหนทุกแห่ง แล้วก็ออกเที่ยวเดินไปในถนนแลซุกซนเข้าไปในวัดวาอาราม ก่อถ้อยความวิวาทชกตีแทงฟังกัน ตรุศสามวันเปน ๔ ทั้งวันจ่าย เปน ๕ ทั้งวันส่ง สงกรานต์สามวันฤๅสี่วันเปน ๔ ฤๅ ๕ ทั้งวันจ่าย เปน ๕ ฤๅ ๖ ทั้งวันส่งนั้น มักเกิดถ้อยความวิวาทตีรันฟันแทงกันหลายแห่งหลายตำบลนั้น ทั้งในกำแพงพระนครแลภายนอกพระนคร เหลือกำลังที่นายอำเภอแลกองกระเวนจะระวังดูแล แต่นี้ไปในเวลาตรุศแลสงกรานต์ให้เจ้าของบ้านเอาใจใส่ระวังรักษาน่าบ้านของตัว ถ้ามีคนเมาสุรามาเอะอะอื้ออึงที่น่าบ้าน ก็ให้จับเอาตัวมาส่งกรมพระนครบาลที่นาหับเผย ให้ทันเวลาที่ผู้นั้นยังเมาอยู่ อย่าให้ทันส่างเมา แต่ห้ามไม่ให้พวกบ้านอื่น ๆ มาพลอยกลุ้มรุมจับด้วย ถ้าคนเมามีพักพวกมาก ต่อสู้เจ้าของบ้าน ถึงเจ้าของบ้านจะชกตีมีบาดเจบก็ดี ถ้าเมื่อจับตัวไปส่งกรมพระนครบาล ๆ ชันะสูดดูรู้แน่ว่าคนนั้นเมาจริง ก็ให้เจ้าของบ้านเปนชะนะ ถ้าผู้จับมาส่งเหนว่า ถ้าจับตัวคนผู้บุกรุกไปส่ง จะมีพวกของผู้นั้นคอยสกัดทางแก้ไขตามทางที่จะไปส่งจะเกิดวิวาทกัน ถ้าอย่างนั้นก็ให้ยึดเอาตัวไว้มาบอกเล่ากับกรมพระนครบาลฤๅนายอำเพอคนไดคนหนึ่งให้ไปชันะสูดวาเมาฤๅไม่เมา อย่าให้ทันคนเมานั้นสางเมา จะเปนคำโต้เถียงกันไป อนึ่ง ในยามตรุศยามสงกรานต์นั้น ผู้ใดจะเสพสุราเมามาย ก็ให้อยู่แต่ในบ้านเรือนของตัว ถึงจะมีที่ไป ก็ให้งดรอต่อส่างเมาแล้วจึงไป หมายประกาศมาวันอาทิตย เดือนห้า ขึ้นสิบสี่ค่ำ ปีมเมียยังเปนนพศก เปนวันที่ ๒๕๑๐ ในราชกาลประจุบันนี้ ๚
ท่านทั้งปวงจงรำพึงดูการทุกวันนี้ คนไทยทั้งปวงจะแต่งหนังสือฤๅจะพูดเจรจากันก็เปนแต่เลียนตาม ๆ กัน คำบางอันเปนคำอยาบช้าไม่ควรจะพูดจะเขิยน แต่ไม่มีใครสังเกด ก็เอามาพูดมาเขียนวุ่นไป เหนเปนเพราะไป ใช้ทั้งพระทั้งคฤหัฐทั้งวัดทั้งบ้าน คำนั้นคือที่ว่ากันกลุ้มว่าชอบเนื้อเจริญใจก็ดี ติดเนื้อต้องใจก็ดี ไว้เนื้อเชื่อใจก็ดี ขึ้นเนื้อขึ้นใจก็ดี วางเนื้อวางใจก็ดี แลคำอื่น ๆ บันดาที่จะเอาคำว่าเนื้อมาพูดควบกับคำว่าใจนั้นทั้งปวง เหนเปนคำอยาบทั้งสิ้น เพราะว่าที่แท้จริง สิ่งอื่นนอกจากการที่จะให้ว่าเปนผัวเมียกัน ฤๅเปนชู้กัน ฤๅว่าทั้งผิดโลกยธรรมดา คือการที่เรียกกันว่าเล่นสวาดในผู้ชาย แลว่าเล่นเพื่อนในผู้หญิง แล้วสิ่งใดที่จะติดเนื้อจะต้องใจ ฤๅชอบเนื้อจะเจริญใจ แลอย่างไร ๆ ทั้งเนื้อทั้งใจนั้น ไม่มี เพราะว่าปิดขีพึ่งเข้าทึทะรุงรังรำคาญไป ยาทาเข้าก็เลอะเทอะรำคาญใจไป แต่จะใคร่หายโรคก็ต้องทนเอา การที่ใจจะตามเนื้อนั้นมีแต่การที่ว่ามาก่อนนั้นอย่างเดียวจำพวกเดียว เพราะฉนั้น คำอย่างนี้ไม่ควรจะใช้ในหนังสือราชการแลเจรจาเปนคำผู้ดีเลย ให้ท่านทั้งปวงสังเกดเว้นเสียอย่าเอาคำว่าเนื้อพูดกระทบควบกับใจ ถ้าคำว่าเนื้อไม่ว่ากับใจ เหมือนหนึ่งว่าเสียเงินเสียทอง พูดกันว่าต้องเข้าเนื้อเข้าหนังก็ดี จะว่าใครเปนญาติ ก็ว่ากันว่าเปนเนื้อเปนไขก็ดี ดังนี้ไม่เปนคำยาบ ๚ะ
๏ข่าวตาย ๚ วันอังคาร เดือนห้า ขึ้นเก้าค่ำ นายสุจินด⟨า⟩ถึงแก่กรรม ป่วยมาสามปีแล้ว เปนโรคไอผอมแห้ง ๚ วันพฤหัฐ เดือนห้า ขึ้นสิบเอดค่ำ พระมหาราชครูปโรหิตาจาริยถึงแก่กรรม ป่วยมานานแล้ว แต่วันนั้นให้ลงแล้วแน่นเสียดลมจับแก้ไม่ฟื้น ๚ะ
๏น้ำฝน ๚ะ ในปักษข้างขึ้นเดือนห้าปีนี้ ฝนตกสองวัน วันขึ้นเก้าค่ำกลางคืนฝนตก รองได้น้ำนิ้วหนึ่งกับ ๖ ทสางค์ วันสิบสี่ค่ำวันหนึ่งรองได้น้ำสามสิบแปด แต่เพลาเอยนจนรุ่งฝนตั้งมาแต่ศีศะเขาแลตวันออกทั้งสองวัน ๚ะ