รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐/รายงาน

รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ


ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐


วันจันทร์ที่ ๘ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๐


ณ ตึกรัฐสภา





เริ่มประชุมเวลา ๐๙:๒๕ นาฬิกา


จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๑๐๐ คน



นายพิทูร พุ่มหิรัญ (เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ): เรียนท่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครับ ผม นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเรียนชี้แจงในเบื้องต้นว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้นำข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาใช้บังคับในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยอนุโลมด้วย และเนื่องจากสมาชิกขณะนี้ได้มีมาลงชื่อแปดสิบสี่ท่านแล้วนะครับ ซึ่งพอจะเป็นองค์ประชุมได้ ผมขออนุญาตดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ ๕ ประกอบกับข้อ ๑๒ (๒) กำหนดว่า ในการเลือกประธานสภาและรองประธานสภาครั้งแรกนั้น ให้เลขาธิการเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งมาประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการเลือกประธานและรองประธานตามข้อบังคับต่อไปนะครับ ซึ่งปรากฏว่า ในที่ประชุมนี้ ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ท่านเป็นสมาชิกซึ่งอาวุโสสูงสุดนะครับ ผมขออนุญาตให้ท่านรองเลขาธิการฯ เรียนเชิญท่านขึ้นมาทำหน้าที่ประธานชั่วคราวของที่ประชุมครับ

(นายพิทูร พุ่มหิรัญ (เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ) ได้เชิญนายสวัสดิ์ โชติพานิช สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้มีอายุสูงสุด ทำหน้าที่ประธานชั่วคราว)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านสมาชิกที่เคารพครับ ผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งนะครับที่ได้มาทำหน้าที่ประธานชั่วคราวของที่ประชุมในวันนี้ บัดนี้ มีสมาชิกมาประชุมครบองค์ประชุมแล้วนะครับ ผมขอดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระต่อไปนะครับ

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม

๑.๑ รับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครับ

ด้วยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จึงขอเชิญท่านสมาชิก โปรดยืนขึ้นรับฟังพระบรมราชโองการครับ ขอเชิญท่านเลขาฯ อ่านพระบรมราชโองการครับ

(สมาชิกและผู้อยู่ในที่ประชุมได้ยืนขึ้นเพื่อรับฟังพระบรมราชโองการ)

นายพิทูร พุ่มหิรัญ (เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ):


“ประกาศ
“พระบรมราชโองการ
“แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ




“(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ปร.


“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ดังต่อไปนี้


  • “๑. นายกนก โตสุรัตน์
  • “๒. นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร
  • “๓. นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล
  • “๔. นายกล้านรงค์ จันทิก
  • “๕. นายการุณ ใสงาม
  • “๖. นายกิตติ ตีรเศรษฐ
  • “๗. นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
  • “๘. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
  • “๙. นายคมสัน โพธิ์คง
  • “๑๐. นายจรัญ ภักดีธนากุล
  • “๑๑. นายจรัส สุวรรณมาลา
  • “๑๒. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
  • “๑๓. นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์
  • “๑๔. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
  • “๑๕. นายช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง
  • “๑๖. นายชนินทร์ บัวประเสริฐ
  • “๑๗. นายชวลิต หมื่นนุช
  • “๑๘. นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์
  • “๑๙. นายชาติชาย แสงสุข
  • “๒๐. นายชาลี กางอิ่ม
  • “๒๑. นายชำนาญ ภูวิลัย
  • “๒๒. นายชูชัย ศุภวงศ์
  • “๒๓. นายโชคชัย อักษรนันท์
  • “๒๔. นายไชยยศ เหมะรัชตะ
  • “๒๕. นางดวงสุดา เตโชติรส
  • “๒๖. นายเดโช สวนานนท์
  • “๒๗. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์
  • “๒๘. พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
  • “๒๙. นายธวัช บวรวนิชยกูร
  • “๓๐. นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
  • “๓๑. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
  • “๓๒. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
  • “๓๓. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
  • “๓๔. นายนิตย์ วังวิวัฒน์
  • “๓๕. นายนิมิตร ชัยจีระธิกุล
  • “๓๖. นายนุรักษ์ มาประณีต
  • “๓๗. นายปกรณ์ ปรียากร
  • “๓๘. นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
  • “๓๙. นายประพันธ์ นัยโกวิท
  • “๔๐. นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ
  • “๔๑. นายประสงค์ พิทูรกิจจา
  • “๔๒. นายปริญญา ศิริสารการ
  • “๔๓. นางพรรณราย แสงวิเชียร
  • “๔๔. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
  • “๔๕. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
  • “๔๖. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
  • “๔๗. พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล
  • “๔๘. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
  • “๔๙. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
  • “๕๐. นายมนตรี เพชรขุ้ม
  • ๕๑. นางมนูญศรี โชติเทวัญ
  • ๕๒. นายมานิจ สุขสมจิตร
  • ๕๓. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ
  • ๕๔. นายรัฐ ชูกลิ่น
  • ๕๕. นางรุจิรา เตชางกูร
  • ๕๖. นายวรากรณ์ สามโกเศศ
  • ๕๗. นายวัชรา หงส์ประภัศร
  • ๕๘. นายวิชัย รูปขำดี
  • ๕๙. นายวิชัย เรืองกุลฤทธิ์
  • ๖๐. นายวิชัย ศรีขวัญ
  • ๖๑. นายวิชา มหาคุณ
  • ๖๒. นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์
  • ๖๓. นายวิทยา คชเขื่อน
  • ๖๔. นายวิทยา งานทวี
  • ๖๕. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
  • ๖๖. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
  • ๖๗. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร
  • ๖๘. นายวุฒิสาร ตันไชย
  • ๖๙. นายศรีราชา เจริญพานิช
  • ๗๐. นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล
  • ๗๑. นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น
  • ๗๒. นายศิวะ แสงมณี
  • ๗๓. นายเศวต ทินกูล
  • ๗๔. นางสดศรี สัตยธรรม
  • ๗๕. นายสนั่น อินทรประเสริฐ
  • ๗๖. นายสมเกียรติ รอดเจริญ
  • ๗๗. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
  • ๗๘. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
  • ๗๙. นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย
  • ๘๐. นายสวัสดิ์ โชติพานิช
  • ๘๑. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์
  • ๘๒. นายสวิง ตันอุด
  • ๘๓. นายสามขวัญ พนมขวัญ
  • ๘๔. นายสุนทร จันทร์รังสี
  • ๘๕. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
  • ๘๖. นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
  • ๘๗. นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์
  • ๘๘. นายเสรี นิมะยุ
  • ๘๙. นายเสรี สุวรรณภานนท์
  • ๙๐. นายหลักชัย กิตติพล
  • ๙๑. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
  • ๙๒. นายอภิชาติ ดำดี
  • ๙๓. นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์
  • ๙๔. นายอรัญ ธรรมโน
  • ๙๕. นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์
  • ๙๖. นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์
  • ๙๗. นางอังคณา นีละไพจิตร
  • ๙๘. นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์
  • ๙๙. นายอุทิศ ชูช่วย
  • ๑๐๐. นายโอกาส เตพละกุล

“ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

“ประกาศ ณ วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน


“ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

“พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

“ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ”


นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ระเบียบวาระที่ ๑.๒ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมประกาศแต่งตั้งดังกล่าวปฏิญาณตนต่อที่ประชุมนะครับ ก่อนที่จะมีการกล่าวคำปฏิญาณตน ผมขอเรียนที่ประชุมว่า ถึงแม้ว่าไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับกำหนดไว้เกี่ยวกับการปฏิญาณตนของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๔๙๑ และปี ๒๕๔๐ ก็ได้มีการกล่าวปฏิญาณตนก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาแบบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ผมจึงขอเชิญท่านสมาชิกโปรดยืนขึ้นกล่าวปฏิญาณตน โดยผมจะกล่าวนำ และท่านโปรดระบุชื่อท่านด้วยในตอนต้นครับ

“ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ ในการร่างรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนเป็นสำคัญ จะไม่อยู่ในอาณัติมอบหมายหรือคิดถึงประโยชน์ของบุคคลใดหมู่ใด คณะใดโดยเฉพาะ”

(สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ และได้มาประชุมวันนี้ ได้ยืนขึ้นและกล่าวคำปฏิญาณตนต่อที่ประชุมตามที่ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้กล่าวนำพร้อมกัน)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ขอบคุณครับ เชิญนั่ง

ระเบียบวาระที่ ๒ เลือกประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๑๙ วรรคสอง บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญอีกไม่เกินสองคน ตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ข้อบังคับ ข้อ ๖ กำหนดให้การเลือกประธานสภาฯ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน เชิญท่านสมาชิกเสนอชื่อครับ แล้วก็ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าสิบคนครับ เชิญคุณสมคิดครับ

ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์: ท่านประธานที่เคารพ กระผม สมคิด เลิศไพฑูรย์ ครับ ขออนุญาตเสนอท่านรองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอความกรุณาท่านสมาชิกช่วยรับรองด้วยครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): มีท่านสมาชิกจะเสนอท่านใดอีกไหมครับ เชิญท่านครับ

นายเศวต ทินกูล: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม นายเศวต ทินกูล ขอเสนอ ท่านอาจารย์จรัญ ภักดีธนากุล ครับ ขอบคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ผู้รับรองสิบท่านนะครับ เชิญผู้รับรองครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): มีผู้รับรองครบนะครับ เชิญท่านอาจารย์จรัญ ครับ

นายจรัญ ภักดีธนากุล: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผมคิดว่าไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตามที่ท่านกรุณาเสนอชื่อกระผมได้นะครับ ผมไม่มั่นใจ ผมจะขออนุญาตถอนตัวได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ก็ไม่มีใครห้ามนะครับ เป็นอันว่าอาจารย์จรัญจะถอนตัวใช่ไหมครับ อย่างนั้นใช่ไหมครับ

นายจรัญ ภักดีธนากุล: ครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ถ้าอย่างนั้นมีท่านใดจะเสนอท่านใดอีกไหมครับ เชิญท่านครับ กรุณาเสียบบัตรด้วยนะครับ เพื่อจะใช้ไมโครโฟนครับ

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย: กราบเรียนท่านประธาน ผม สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ครับ ขอเสนอ ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ครับ ท่านสมาชิกช่วยกรุณารับรองด้วยครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ผมก็ขอขอบคุณนะครับ แต่ว่าผมได้แสดงเจตนาไว้แล้วต่อสื่อมวลชนว่า ผมไม่ขอรับการเสนอชื่อนะครับ แต่ว่าท่านคงไม่ทราบ ผมก็ขอขอบคุณนะครับ ผมขอถอนนะครับ เชิญท่านอื่นนะครับ เสนอท่านใดอีกไหมครับ ถ้าไม่มี ผมขอปิดการเสนอชื่อนะครับ

ท่านสมาชิกครับ เนื่องจากท่านสมาชิกได้เสนอ ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเพียงชื่อเดียว ซึ่งตามข้อบังคับ ข้อ ๖ วรรคสาม มีผลให้ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นผู้ได้รับเลือก แต่เนื่องจากข้อบังคับ ข้อ ๖ วรรคสอง กำหนดไว้ว่า ก่อนที่จะดำเนินการเลือกประธานสภาฯ ให้ผู้ได้รับเสนอชื่อกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุมสภาฯ ซึ่งผมเห็นว่า ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นผู้ได้รับเลือกตามมติของสภาแห่งนี้แล้ว จึงไม่สมควรที่จะกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ จะมีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ เชิญครับ

นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ: กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หมายเลข ๔๕ นะครับ กระผมมีความเห็นดังนี้นะครับ คือ การมาเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของพวกเราทุกคนทั้งหนึ่งร้อยท่าน ก็ถือว่า เราเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งชาติทั้งหกสิบสามล้านคน เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า การเข้าสู่ตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นความหวังแล้วก็เป็นความตั้งใจของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งชาติที่ต้องการจะเห็นการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นไปด้วยความโปร่งใส แล้วก็เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงนะครับ กระผมมีความเห็นว่า น่าที่จะให้ท่านว่าที่ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญได้กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ แล้วก็ได้กล่าวถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่ท่านได้แบกอยู่บนสองบ่าของท่าน แล้วก็เป็นความหวังของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งชาติ ท่านจะทำอะไรบ้างในฐานะประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อที่อย่างน้อย ๆ ก็จะได้เป็นคำมั่นสัญญาหรือว่าเป็นสัญญาประชาคมกับพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งชาติ แล้วก็เป็นหลักประกันความมั่นใจว่า เราจะได้รับรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด แล้วก็เป็นรัฐธรรมนูญที่จะเป็นความหวังเพื่ออนาคตของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง กระผมยังคงคิดว่า น่าที่จะให้ท่านว่าที่ประธานได้แสดงวิสัยทัศน์ แล้วก็ได้กล่าวถึงความรู้สึกของท่านในการที่จะได้รับเกียรติอันสูงยิ่งนี้ในการที่จะให้พี่น้องประชาชนแล้วก็คนไทยทั่วประเทศได้ติดตาม กระผมก็ขออนุญาตให้ท่านได้มีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์ด้วยครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านสมาชิกท่านใดจะเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ

(ไม่มีสมาชิกมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ถ้าไม่มีก็ขอเชิญท่านศาสตราจารย์นรนิติแสดงวิสัยทัศน์ครับ

นายนรนิติ เศรษฐบุตร: กราบเรียนท่านประธานและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เคารพ กระผมขอขอบพระคุณสำหรับการที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธาน ผมขอเรียนท่านประธานและท่านสมาชิกที่เคารพว่า ภาระหน้าที่อันสำคัญของพวกเราสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทั้งหนึ่งร้อยล้านคน ก็คือ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่ดี เป็นที่ยอมรับของประชาชนออกมาให้ทันเวลาที่กำหนดไว้หนึ่งร้อยแปดสิบวัน อันหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญให้เสร็จทันในเวลาที่ค่อนข้างสั้นมาก และให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน จึงเป็นภาระงานที่หนัก ท่านทั้งหลายคงทราบกันดีว่า ภาวะการเมืองขณะนี้มิใช่ภาวะปกติ และประชาชนเองก็คาดหวังว่า พวกเรา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะได้ช่วยกันจัดทำรัฐธรรมนูญที่ดี เป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยสามารถแก้ไขปัญหาการเมืองที่รู้และเห็นกันอยู่ในปีที่ผ่านมาให้ดีขึ้น การมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็เพื่อนำการเมืองสู่ภาวะปกติ ฉะนั้น ความคาดหวังของประชาชนในเวลานี้จึงไม่ใช่ได้มาเพียงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ต้องร่างเสร็จเรียบร้อยภายในเวลาที่จำกัดมากเท่านั้น หากแต่ต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย และแก้ปัญหาการเมืองไทยได้ด้วย สำหรับระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จนั้นได้ถูกกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาเอาไว้ค่อนข้างจะตายตัวที่จะต้องให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทำให้เสร็จในขั้นตอนแรกทั้งฉบับ พร้อมกับคำชี้แจงทั้งความแตกต่างและเหตุผลเพื่อนำเสนอต่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไปในเวลาเดียวกันกับที่นำเสนอต่อองค์กรและบุคคลอีกมากกว่าหนึ่งร้อยองค์กรตลอดจนประชาชนทั่วไปเพื่อให้ทราบและรับฟังความคิดเห็นกลับมาด้วย โดยจากนั้น ในอีกสามสิบวัน คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงจะได้พิจารณาความเห็นต่าง ๆ รวมทั้งคำแปรญัตติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเอง และนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการพิจารณาในขั้นนี้เสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ทั้งนี้ การดำเนินการตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญและการฟังความคิดเห็นขององค์กรบุคคลและประชาชนเพื่อนำมาทำร่างรัฐธรรมนูญไปผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เรียบร้อยนั้น ต้องอยู่ในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่านประธานและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เคารพครับ หน้าที่ของเราสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นมิได้อยู่ที่การร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น เราจะต้องร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนยอมรับด้วย การให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในตัวร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะต้องจัดให้มีอย่างกว้างขวางและทั่วถึงในการที่จะฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้นต้องดำเนินการ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนประกอบไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในความเป็นจริงที่มีอยู่ ดังนั้น วิธีจัดการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องที่จะต้องจัดวางไว้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจะได้ความคิดเห็นมาเสนอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาระหว่างที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญไปพร้อม ๆ กัน การกำหนดเวลาทำงานแต่ละขั้นตอนของพวกเราจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้ เพราะว่า การร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จไม่ทันเวลาย่อมทำให้เกิดความเสียหายและทำให้ประชาชนผิดหวัง แม้เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จทั้งฉบับเรียบร้อยแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญเองก็ยังมีภาระสืบเนื่องที่จะต้องเผยแพร่รัฐธรรมนูญที่ผ่านการพิจารณาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วเผยแพร่ให้ประชาชนทราบอีกครั้ง และจัดที่มีการออกเสียงลงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ทำเสร็จใหม่ในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ นับเป็นครั้งแรกที่จะมีการจัดทำประชามติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทย งานนี้จึงเป็นงานใหม่ที่ต้องคิดดำเนินการตั้งแต่ต้น สภาร่างรัฐธรรมนูญนี่เองที่จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่งก็ต้องเร่งดำเนินการนำหลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติเสียตั้งแต่ตอนต้นในขณะที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังร่างรัฐธรรมนูญตอนแรกยังไม่เสร็จ เพื่อคณะกรรมาธิการที่จะได้รับมอบหมายในด้านจัดทำประชามติจะได้เตรียมการเสียแต่เนิ่น ๆ การทำประชามตินั้นเป็นเรื่องใหญ่ จะต้องจัดทำวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น เราก็จะต้องทราบว่า ประชาชนจะยอมรับร่างรัฐธรรมนูญที่ทางสภาร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้เสร็จเรียบร้อยได้ก็จากผลการลงประชามตินี่เอง ท่านประธานและท่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เคารพ ภาระหน้าที่ซึ่งมองเห็นได้ไม่ยากนักของพวกเราสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำอย่างเต็มที่ พวกเราทุกคนมีความสำคัญในภาระหน้าที่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วยกันทุกคน โดยจะแยกย้ายกันไปตามงานที่ถนัดน้อยบ้างมากบ้าง การแยกการทำงานไปตามหน้าที่ในรูปของคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ นั่นก็คือ แยกกันทำเพื่อกลับมารวมกันเพื่อที่จะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่ดี ที่ประชาชนยอมรับออกมาให้ทันเวลาที่กำหนดนั่นเอง ท่านประธานและท่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เคารพครับ ที่ผมกล่าวมานี้ ก็คือ ภาพภาระงานที่หนักของพวกเราสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ผมมองเห็นในเวลาข้างหน้าประมาณเจ็ดเดือนกว่า เมื่อผมได้รับเลือกเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญผม ก็ต้องขอความร่วมมืออย่างเต็มที่จากท่านสมาชิกช่วยกันทำรัฐธรรมนูญส่งมอบให้ประชาชนพิจารณาให้ทันเวลาที่ถูกกำหนด ขอบพระคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านสมาชิกมีอะไรจะซักถามท่านประธาน อาจารย์นรนิติ ไหมครับ ถ้าไม่มีผมจะผ่านไปในระเบียบวาระต่อไปนะครับ

ระเบียบวาระที่ ๓ เลือกรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญนะครับตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญนี้มีรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญอีกไม่เกินสองคนนะครับ และทั้งนี้ ก็ให้เป็นไปตามมติของสภา และข้อบังคับ ข้อ ๗ ก็กำหนดว่า ในการเลือกรองประธานสภาให้นำความในข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่สภามีมติให้มีรองประธานสภามากกว่าหนึ่งคน ให้เลือกรองประธานสภาคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนต่อไปตามลำดับ ผมจึงขอหารือต่อที่ประชุมว่า ควรจะมีรองกี่คนครับ ขอประเด็นแรกเสียก่อนว่า สองคนหรือคนเดียวครับ เชิญครับ

รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผมเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ท่านประธานครับ ผมขอความกรุณาย้อนนิดหนึ่ง เมื่อกี้นี้ผมยกมือแต่ท่านประธานพอดีไม่เห็น ที่ถามว่ามีอะไรจะถามท่านอาจารย์นรนิติหรือไม่ แล้วก็จะขออนุญาตแสดงความเห็นที่ท่านประธานถามในประเด็นที่ ๒ ด้วยนะครับ คือ ผมขอความกรุณาถามท่านอาจารย์นรนิตินะครับว่า ในการบริหารงานของท่านอาจารย์นรนิติในฐานะที่เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ท่านจะประสานงานกับรองอีกสองท่านอย่างไร หรือรองอีกหนึ่งท่านก็แล้วแต่นะครับ อย่างไร เพราะว่า ท่านจะแบ่งงานกันทำ หรือว่า ท่านจะทำงานเป็นทีม หรือว่า ท่านจะทำงานในลักษณะใด จะทำให้พวกเราเข้าใจอะไรดีมากยิ่งขึ้นอีกนิดหนึ่งในการที่จะเลือกรองด้วย และขณะเดียวกันนั้น ท่านจะประสานงานกับประธานกรรมาธิการในลักษณะอย่างไร แล้วก็เลขาธิการของสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาร่างรัฐธรรมนูญนี้นะครับ จะมีลักษณะการทำงานในลักษณะใด เพราะว่า ผมคิดว่า สำนักงานสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นสำนักงานที่มีบุคคลที่มีความสามารถมาก แล้วก็เคยรองรับบุคคลที่ทำงานอยู่ในสภาแห่งนี้ได้ถึงห้าร้อยคน ปัจจุบันนี้ มาช่วยงานเพียงแค่พวกเรามีหนึ่งร้อยคนนี้จะระดมสรรพกำลังได้มากมายมหาศาลและใช้ความสามารถของบรรดาเจ้าหน้าที่ข้าราชการของรัฐสภาแห่งนี้ได้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุด ผมอยากจะกราบเรียนถามด้วยว่า ท่านมีแนวความคิดนี้อย่างไร แล้วก็อยากจะเสนอว่า น่าจะมีรองประธานสองท่านครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): เชิญท่านอาจารย์นรนิติครับ

นายนรนิติ เศรษฐบุตร: กราบเรียนท่านประธาน ผมขออนุญาตตอบที่นี่นะครับ คือ ประการแรกการทำงานกับรองประธานนั้นไม่น่ามีปัญหานะครับ ประธานคงต้องร่วมมือกับรองประธาน ซึ่งผมยังไม่รู้ว่าเป็นใคร และก็คงต้องคุยกันว่า งานจะร่วมกันทำอย่างไร คงไม่ทำไปขัดกันไปครับท่านอาจารย์ครับ เรียนให้ทราบ แต่ต้องรู้ว่าใครเป็นแล้วก็ต้องคุยกัน คงจะไม่ปรึกษาหารือกับคนที่จะมาเป็นรองประธานคงไม่ได้นะครับ นั่นประการที่หนึ่ง และยิ่งประธานคณะกรรมาธิการหรือแม้แต่กรรมาธิการ ซึ่งเมื่อกี้นี้ที่ผมเรียนไป ก็ไม่ใช่เฉพาะรองประธานและประธานกรรมาธิการหรือคนในกรรมาธิการเท่านั้น สมาชิกสภาทั้งหลายนี้ก็คงต้องช่วยกัน เพราะภาระงานที่ทำนี้มันเยอะ มันต้องช่วยกันทำมากนะครับ ตามความถนัดที่เรียนไว้นะครับ จึงต้องร่วมกันทำงานนะครับ ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ครับ ส่วนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผมยังคิดว่าสำนักงานเลขาฯ คงจะสนับสนุนการทำงานต่าง ๆ อย่างเต็มที่นะครับ เพราะว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งบุคลากรซึ่งท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ทราบดีนั้นคงจะได้ช่วยเป็นฝ่ายสนับสนุนให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำงานได้คล่องตัว รวดเร็ว และได้ผลงานออกมาครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): เชิญครับท่านการุณ

นายการุณ ใสงาม: ท่านประธานที่เคารพครับ ผม การุณ ใสงาม สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อยากจะเรียนท่านประธานว่า ผมเพิ่งเข้ามายังไม่ได้สาบานตัว ก็เลยจะยังทำหน้าที่ไม่ได้ จะขออนุญาตท่านประธานสาบานตัว พอสาบานตัวเสร็จแล้วผมจะเสนอคุณเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นรองประธานนะครับ เพราะตอนนี้เสนอไม่ได้เพราะยังไม่ได้สาบานตัวครับท่านประธาน

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): นึกว่าสละสิทธิไปแล้ว

นายการุณ ใสงาม: ยังไม่สละสิทธิครับท่านประธาน เพราะกว่าจะได้เป็นมารู้สึกว่าลำบากเหลือเกินจากสองพันคนเลือกกันเองยาก ท่านประธานผมจะขออนุญาตสาบานตัวเลยได้ไหมครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): เชิญครับ

นายการุณ ใสงาม: ท่านประธานที่เคารพครับ ผม นายการุณ ใสงามขอปฏิญาณตนเพื่อทำหน้าที่นะครับ ข้าพเจ้า นายการุณ ใสงาม ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยจะคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ จะไม่อยู่ในอาณัติมอบหมายหรือคิดถึงประโยชน์ของบุคคลใด หมู่ใด คณะใดโดยเฉพาะ ขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านสมาชิกมีอะไรอีกไหมครับ

นายการุณ ใสงาม: ลืมไปครับท่านประธาน ขออนุญาตเสนอเลยครับตอนนี้

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): เอาสองคนให้หนึ่งคนก่อน

นายการุณ ใสงาม: ผมเห็นด้วยครับ สองคนครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ต้องมีผู้รับรองครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): มากมายแล้วนะครับ ตกลงสองคนนะครับ ถ้าอย่างนั้นเราเลือกคนที่ ๑ ก่อนครับ เชิญคุณการุณ

นายการุณ ใสงาม: ท่านประธานที่เคารพครับ ผม การุณ ใสงาม ขอเสนอ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นรองประธานครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ต้องมีผู้รับรองสิบท่านนะครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ครบนะครับ มีท่านผู้ใดจะเสนอใครอีก เชิญนะครับ

นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเสนอ นายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นรองประธานคนที่หนึ่งครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ครบนะครับ มีท่านใดจะเสนอใครอีกไหมครับ เชิญครับ

นายวัชรา หงส์ประภัศร: กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายวัชรา หงส์ประภัศร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กระผมขอเสนอ นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ เป็นรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่งครับ ขอบคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ขอผู้รับรองด้วยครับสิบท่านนะครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ยกมือสูง ๆ หน่อยนะครับ ครบนะครับ สามท่านแล้วนะครับ มีผู้เสนออีกไหมครับ เชิญท่านครับ

นายโชคชัย อักษรนันท์: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม นายโชคชัย อักษรนันท์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนออาจารย์เดโช สวนานนท์ เป็นรองประธานครับ ขอผู้รับรองครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ยกสูง ๆ หน่อยนะครับ รองประธานคนที่หนึ่งนะครับ ครบนะครับ มีผู้เสนออีกไหมครับ สี่ท่านแล้วนะครับ มีอีกไหมครับ เชิญครับ

นายวีนัส ม่านมุงศิลป์: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วีนัส ม่านมุงศิลป์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กระผมขอเสนอ ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ขอผู้รับรองด้วยครับ

(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ผู้รับรองสิบท่านนะครับ ยกสูง ๆ หน่อยนะครับ ครบครับ

นายวีนัส ม่านมุงศิลป์: ขอบพระคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ห้าท่านแล้วนะครับ มีท่านผู้ใดจะเสนออีกไหมครับ เชิญเลยครับ ไม่มีนะครับ ถ้าอย่างนั้นก็ลงมติกันนะครับ

นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์: ท่านประธานครับ ผม อัครวิทย์ สุมาวงศ์ ขอถอนครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ครับ ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์เชิญครับ

รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้องขอบพระคุณคุณการุณ ใสงาม ที่เสนอนะครับ แต่ว่าผมขออนุญาตถอนครับ ขอบพระคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ครับ เหลือสามนะครับมีท่านผู้ใดอีกไหมครับ ไม่มี ตกลงก็มีสามท่านนะครับ ก็คนที่หนึ่งก็คุณเสรี สุวรรณภานนท์ นะครับ คนที่สองก็คุณเดโช สวนานนท์ นะครับ คนที่สามก็คุณเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ครับ ก็เชิญคุณเสรีแสดงวิสัยทัศน์ครับ ไม่เกินสิบนาทีนะครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์: กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ท่านสมาชิกที่เคารพทุกท่าน ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณท่านธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ ที่ได้เสนอชื่อเป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง ซึ่งก็ถือว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยที่จะต้องมีตัวแทน ซึ่งขอขอบคุณท่าน ท่านสมาชิกที่เคารพครับ ในการทำหน้าที่ของรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีหลักสำคัญตามข้อบังคับ ข้อ ๑๑ ที่จะให้รองประธานทำหน้าที่ช่วยท่านประธานในการทำงาน ช่วยทำงานในเรื่องของกิจการของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ช่วยทำงานในเรื่องของการประสานงานหรือการบริหารงานในองค์กร ซึ่งข้อสาระสำคัญของสภาร่างรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้มีสิ่งที่ท่านสมาชิกที่เคารพทุกท่านจะต้องทำหน้าที่ซึ่งต้องทำทั้งหนึ่งร้อยคน สภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทำหน้าที่เพียงสามสิบห้าคน โดยเฉพาะเป็นกรรมาธิการยกร่างตามที่เป็นข่าวหรือตามที่พูดกัน แต่เป็นภาระหน้าที่สำคัญของสมาชิกทั้งหนึ่งร้อยท่าน ข้อสำคัญของการทำหน้าที่ในองค์กรในขณะนี้มีสิ่งที่เราจะต้องตระเตรียมการทำงาน นวาระที่ ๑ คงจะเป็นเรื่องของการบริหารเวลา ซึ่งผมถือว่า เมื่อรัฐธรรมนูญได้บัญญัติระยะเวลาที่จำกัดเช่นนี้ เราต้องมีการบริหารงานบริหารเวลาที่ดี ทำงานเป็นเวลาเป็นขั้นเป็นตอน เป็นกระบวนการให้เสร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ข้อที่ ๒ ผมคิดว่า เราจะต้องช่วยกันบริหารวิธีทำงาน เพราะในการทำหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องมีวิธีการอย่างไรในการที่จะต้องบริหารงานให้เดินเป็นกระบวนการวิธีการบริหารงานที่เราจะต้องดำเนินการนั้น ผมคิดว่า คงจะต้องให้สมาชิกทุกท่านมีส่วนร่วม ตั้งแต่เริ่มตั้งกรรมาธิการ เพราะสภาทั้งสภาไม่สามารถที่จะทำงานได้ทั้งหมด ซึ่งในกรรมาธิการแต่ละคณะนั้นเราคงต้องปรึกษาหารือกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น กรรมาธิการประชาสัมพันธ์ กรรมาธิการจดบันทึกการประชุม หรือกรรมาธิการคณะอื่น ๆ ที่มีความจำเป็น แล้วให้ท่านสมาชิกทุกท่านช่วยเป็นภาระหน้าที่สำคัญในการบริหารกรรมาธิการและดำเนินการ

ประการที่สาม ผมคิดว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่เรากำลังร่างอยู่นี้เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม แต่กระบวนการจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็จะต้องมีวิธีการทำงานอีกเช่นเดียวกัน ผมคิดว่า เราคงไม่ลืมเพื่อนสมาชิกสมัชชาแห่งชาติอีกหนึ่งพันแปดร้อยกว่าคนหรือหนึ่งพันแปดร้อยกว่าท่านที่เราจะต้องมีการบริหารให้สมาชิกเหล่านั้นเข้ามามีส่วนร่วม เพราะรัฐธรรมนูญฉบับที่เรากำลังร่างอยู่นี้มีสาระสำคัญที่จะต้องให้ประชาชนเสนอความคิดเห็น มีสาระสำคัญที่จะต้องให้ประชาชนลงประชามติ ถ้าหากว่า เราไม่มีบุคลากรที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ เราก็อาจจะทำงานด้วยความยากลำบากและไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญที่เราลืมเสียไม่ได้ เรามีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นเยาวชนถึงสองท่าน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นเยาวชนแห่งนี้ถือว่า เป็นโอกาสที่เราเป็นผู้ใหญ่ที่เราเป็นผู้อาวุโสกว่าจะได้มีโอกาสให้เยาวชนเหล่านั้นเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราคงหลีกไม่พ้นและเรามีความสำคัญจะต้องให้เยาวชนมาช่วยงาน นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่า ในการบริหารงานบริหารองค์กรทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะทำให้สภาร่างรัฐธรรมนูญที่เรารับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ ทำหน้าที่ของเราด้วยความสำเร็จ ด้วยความสมบูรณ์ ด้วยความมีประสิทธิภาพ ซึ่งผมเชื่ออย่างหนึ่งครับว่า ความตั้งใจอันดีความปรารถนาดีของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านที่เข้ามาทำหน้าที่แล้วมีความเสียสละ มีความตั้งใจที่จะทำให้รัฐธรรมนูญดีที่สุดนั้น อยู่ที่การบริหารจัดการของเรา เราจะทำหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระ เราจะทำหน้าที่อย่างสมเหตุสมผล เราจะทำหน้าที่เพื่อเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนให้มากที่สุด ในการทำหน้าที่ของรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผมต้องกราบเรียน คงไม่ใช่เรื่องยกตัว แต่เป็นเรื่องที่จะต้องกราบเรียนว่าในการทำหน้าที่ของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๔๐ นั้น ผมก็เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แล้วก็เห็นกระบวนการเห็นวิธีทำงานซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ แล้วก็ประการต่อมา ผมได้ทำหน้าที่และมีโอกาสที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำหน้าที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาในช่วงเวลาที่ผ่านมาหกปีเศษ ผมก็เห็นกระบวนการของการทำหน้าที่ในสภา เห็นว่า วิธีทำงานนั้นควรจะมีระบบวิธีการทำงานอย่างไร ผมสามารถที่จะประสานงานกับทางสำนักเลขาธิการ ทางเจ้าหน้าที่ พอจะมีโอกาสที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์กับการทำงานของสมาชิกร่วมกัน ในท้ายที่สุดนี้ ก็คงกราบขอบคุณท่านที่เสนอชื่ออีกครั้งหนึ่ง และคิดว่า การทำงานร่วมกันของพวกเรานั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำงานในทิศทางเดียวกัน เป็นสิ่งที่จำเป็น ที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญก็คือบ้านเมือง ประเทศชาติ ประชาชน นี่คือสิ่งที่ผมกราบเรียน ถ้ามีโอกาสได้ทำหน้าที่เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่งนี้ผมก็จะทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อบรรลุเป้าหมายที่พวกเราได้ร่วมกันมารับผิดชอบภาระอันยิ่งใหญ่และงานอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ กราบขอบพระคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): เชิญอาจารย์เดโชแสดงวิสัยทัศน์ครับ

นายเดโช สวนานนท์: กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เคารพทุกท่าน ก่อนอื่นกระผมขอกราบขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกที่กรุณาเสนอชื่อกระผมเข้ารับตำแหน่งเป็นรองประธานสภาคนที่ ๑ กระผมกราบเรียนตรงนี้ว่า กระผมเต็มใจและภาคภูมิใจที่จะรับตำแหน่งนี้ ผมคิดมานานว่า ควรจะใช้ความรู้ประสบการณ์ซึ่งมีหลากหลายทั้งในเชิงการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสมัยที่ ๑ มาแล้ว รวมทั้งประสบการณ์ในการบริหารงาน รวมทั้งประสบการณ์ในการที่เคยเป็นนักการเมือง เคยสมัครผู้แทนราษฎร ว่าจะใช้ประโยชน์ในการนี้ ในการที่สนับสนุนให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้อย่างไร กราบเรียนเป็นเบื้องต้นว่าความจริงเห็นด้วยกับท่านเสรีว่า หน้าที่ภารกิจของรองประธานนั้น หน้าที่หลักก็คือสนับสนุนพันธกิจของท่านประธานเพื่อผลักดันให้งานลุล่วงไปด้วยดีให้ได้ ซึ่งกระผมคิดว่างานหลักจริง ๆ นั้นมันมีอยู่สามประการที่จะต้องช่วยกัน

ประการแรก เราจะทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับถาวรที่ยั่งยืนให้ได้ เราคงจะต้องช่วยกันทุกวิถีทาง ซึ่งกระผมมองเห็นว่าในชั้นแรกนั้นเราคงจะต้องหากลวิธีใด ๆ ที่จะให้ประชาชนเจ้าของประเทศผู้ที่จะลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศไทยให้รู้สึกเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้เขาหวงแหนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาให้ได้ ซึ่งกลวิธีต่าง ๆ เหล่านั้นเราจะได้ช่วยกันคิด และพันธกิจอันนี้ กระผมคิดว่า เป็นภารกิจที่หนักหน่วงที่สุด และถ้าเราทำสำเร็จก็อาจจะเป็นเครื่องประกันได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ถาวรและอย่างยั่งยืนต่อไป

ภารกิจหลักอันที่สองที่กระผมมองเห็น ก็คือ ภาคการมีส่วนร่วมของประชาชน เราพูดกันครับว่า ประชาชนควรจะมีส่วนร่วม แต่ว่าในการปฏิบัติเพื่อจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงอย่างไรนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ในคราวที่แล้วเมื่อปี ๒๕๔๐ นั้น เราได้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัด และจังหวัดโดยที่เราใช้ผู้ที่ขันอาสาเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของประจำจังหวัดนั้น ๆ ซึ่งมีอยู่สิบคนในแต่ละจังหวัดมาเป็นกรรมาธิการวิสามัญร่วมกับเรา ในครั้งนี้ กระผมหลับตามองเห็นว่า ควรจะต้องเป็นเช่นเดียวกันอย่างน้อย และอาจที่จะปรับปรุงวิธีการได้ดีกว่านั้น เราคิดว่า สมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งขึ้นมาจำนวนสองพันคนนั้นจะเป็นหลักสำคัญในการที่จะใช้ประโยชน์เพื่อการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า ถ้าหากว่าสองพันคนซึ่งเราจะต้องไปเชื้อเชิญท่านให้โอกาสท่านเพื่อตั้งท่านให้เป็นกรรมาธิการวิสามัญซึ่งเคยทำมาแล้วและทำอย่างได้ผลมาแล้ว ในการนี้ กระผมคิดว่า จะต้องมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นฐานปฏิบัติการให้ได้ กระผมหลับตามองเห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักรน่าจะเป็นฐานสำคัญในการปฏิบัติการในครั้งนี้ และนักศึกษาราชภัฏเป็นตัวสื่อนำเป็นตัวนำไปสู่ในภาคประชาชนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะนักศึกษาราชภัฏภาคสมทบ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็น อบต. เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดนั้น ๆ ก็จะเป็นการเผยแพร่ได้อย่างดีและมีโอกาสที่กระทำได้ความสำเร็จอย่างลุล่วงไปด้วยดี

ภารกิจที่สาม เป็นภารกิจที่หนักหน่วงที่สุด กระผมคิดว่า ก็คือการทำประชามติ ผมประสบการณ์ในชีวิตนั้นก็เคยรับราชการเป็นรองเลขาธิการสถิติแห่งชาติ ก็รู้ดีว่า การทำประชามตินั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากและเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะปกติก็คงจะต้องมีพนักงานนัดไปสัมภาษณ์ แต่การณ์ครั้งนี้หาใช่เป็นเช่นนั้นไม่ มันเป็นเพียงมาบอกว่า รับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แน่นอนครับพวกเราคงไม่หวังประสงค์ที่จะให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้นจะมาหลับหูหลับตาโดยที่ไม่เข้าใจอะไรและมาลงมติว่ารับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ อย่างนั้นไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง และไม่เป็นประชาธิปไตย เราก็ต้องทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญของจริงคืออะไร เปลี่ยนแปลงอะไร ในหลักการประการใดบ้าง พูดง่าย ๆ ว่าการเผยแพร่รัฐธรรมนูญที่ร่างเสร็จแล้วนั้นคงจะต้องทำควบคู่ตั้งแต่วินาทีแรก คงจะรอว่าให้การเผยแพร่นั้น เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้วแล้วก็ไปเผยแพร่ใช้เวลาหนึ่งเดือนนั้นคงไม่ได้ ตรงนี้ก็อีกเช่นเดียวกันครับ จำนวนคนที่จะใช้เพื่อเข้าถึงประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งกระผมเข้าใจว่าประมาณโดยคร่าว ๆ ว่าสี่สิบสองล้านเศษ ให้เข้าใจ ชักชวนให้เขามาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ ซึ่งไม่กระทบกับเหมือนกับการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีผู้สนับสนุนให้มาเลือกคนใดคนหนึ่งในฐานะผู้สมัคร แต่คราวนี้ เป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องนามธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่มากเหลือเกินที่จำ เป็นจะต้องใช้กลวิธีในการประชาสัมพันธ์ก็ดี ในการติดต่อก็ดี ในการอำนวยความสะดวกที่จะให้เขามาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งให้มากที่สุด เพราะว่าพันธกิจอันนี้ไม่เฉพาะแต่สองพันท่านที่ผมกราบเรียนไปเมื่อสักครู่ที่จะต้องช่วยกันจริง ๆ พวกเราหนึ่งร้อยคนอย่างน้อยต้องเป็นหลักในแต่ละจังหวัด ๆ ละหนึ่งคน ถ้าหากว่าใครมาจากจังหวัดใด แน่นอนท่านผู้นั้นก็ต้องขอร้องให้เสียสละ เพื่อไปกำกับเป็นประธานกรรมาธิการจังหวัดนั้น ๆ แต่ถ้าหากว่าจังหวัดใดที่ไม่มีก็คงจะต้องขันอาสาที่พวกเราจะต้องเข้าไปรับภารกิจในจังหวัดนั้น ๆ จะขาดเสียมิได้ เราคราวนี้มันต่างกับเมื่อปี ๒๕๔๐ ซึ่งตอนนั้นมีตัวแทนของจังหวัดทั้งเจ็ดสิบหกจังหวัด เพราะฉะนั้น การปฏิบัติการค่อนข้างจะง่าย เพราะว่าผู้ที่ประจำจังหวัดทั้งเจ็ดสิบหกท่านก็ขันอาสาออกไปเป็นประธานกรรมาธิการของแต่ละจังหวัดแล้ว แต่คราวนี้ อาจจะต้องมีการปรับปรุงกันเล็กน้อย อย่างไร กระผมกราบเรียนว่า สามพันธกิจหลักที่กระผมคิดว่า อันนี้ก็เป็นภารกิจที่คิดว่าท่านประธานก็คงจะต้องอาศัยความร่วมมือไม่เฉพาะแต่รองประธานทั้งสองท่าน ส่วนตัวกระผมเองนั้นกระผมเต็มใจที่จะทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ทั้งสามเรื่องที่กระผมกราบเรียนไปแล้วบรรลุผล ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องกรรมาธิการยกร่างนั้นมีความสำคัญ แล้วเราก็คิดว่า การยกร่างนั้นก็มีส่วนในการที่จะผลักดันสนับสนุนในฐานะที่เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมาก่อน ด้วยความรู้ด้วยประสบการณ์ที่เคยทำคงจะชี้แจงได้ว่า ข้อแตกต่างหรือเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ นั้น ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขปรับปรุงกันนั้น มันมีสาระที่แตกต่างกันอย่างไร กระผมคิดว่า จะช่วยย่นเวลาที่จะทำให้การตัดสินของบรรดาท่านสมาชิกนั้นได้ง่ายขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น ก็กราบเรียนข้อสุดท้ายว่า กระผมเต็มใจรับข้อเสนอที่จะให้กระผมรับผิดชอบในฐานะเป็นรองประธานสภาคนที่หนึ่ง ทำงานสนับสนุนท่านประธานสภานรนิติ เศรษฐบุตร ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณที่ได้เสนอชื่ออีกครั้งหนึ่งนะครับ กราบขอบพระคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): เชิญอาจารย์เกริกเกียรติครับ

ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม: กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่ได้กรุณาเสนอชื่อผมให้รับหน้าที่เป็นรองประธาน ความจริงก็ไม่ได้รู้จักกันโดยเป็นการส่วนตัว ก็รู้สึกขอบคุณที่ยังมีคนระลึกถึงผม ทีแรกตั้งใจว่าจะถอนตัว ทีนี้เมื่อคิดว่าจะถอนตัว ก็จำได้ว่า ตอนที่รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกในตอนต้น เราได้แสดงความจำนงไว้ว่า เรายินดีที่จะรับเสนอชื่อเป็นสมาชิกสมัชชาฯ ซึ่งในขบวนการก็อาจจะมาถึงขั้นตอนที่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ได้คิดอีกเช่นเดียวกันว่าจะติดเข้ามา เพราะว่าผมได้แต้มเพียงแปดแต้ม ก็ไม่คิดว่าจะมา แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเราได้ลงชื่อว่า เราจะรับหน้าที่ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการทำงานเพื่อประเทศชาติแล้ว ผมคิดว่า คงเป็นเรื่องที่เมื่อเรามีโอกาสเราคงจะต้องทำ โดยส่วนตัว ปีใหม่นี้อายุย่างเจ็ดสิบปีแล้ว ก็นับว่า อายุมากพอสมควร แต่ว่าเรื่องทำเพื่อชาตินี้ก็คิดว่า ในโอกาสที่จะทำงานอย่างนี้ก็คงจะมีโอกาสไม่มากสำหรับผม ซึ่งก็ได้ทำงานมามากพอสมควร สำหรับให้เสนอวิสัยทัศน์ ผมขออนุญาตเสนอสั้น ๆ เพียงสามข้อ คือ หน้าที่ของรองประธาน ก็คือว่า คงต้องช่วยท่านประธานและก็ประสานงานกับท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทุกท่าน ในความเห็นของผมประการแรก ก็คือว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อาจจะต้องถามว่า ทำไมต้องมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กันอีก ผมเป็นคนหนึ่งในสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ เช่นเดียวกับท่านสมาชิกผู้มีเกียรติก่อนหน้าผมทั้งสองท่าน ถ้าจะพูดไปแล้ว คนที่จะมารับสมัครเป็นรองประธานนี่เป็น สสร. ชุดที่แล้วทุกท่าน ในรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วเราถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดในทางวิชาการ แต่เมื่อใช้กับประเทศไทยมันมีปัญหาอย่างไร บังเอิญผมได้มีโอกาสได้ทำงานตามกลไกของรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว ผมเป็นกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก็ได้เห็นว่า ในประเด็นปัญหา ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนไว้ดีแล้วก็ตาม มันก็มีช่องโหว่ แต่ก็นึกว่า ทำไมเราไม่เขียนกันไว้ ในเรื่องของรัฐธรรมนูญผมคิดว่า เราไม่สามารถเขียนทุกเรื่องไว้ในรัฐธรรมนูญป้องกันทุกเรื่องไม่ให้มันเกิดขึ้น ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่จริยธรรมของคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นใน ประเด็นแรกผมคิดว่า คงจะต้องศึกษาว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วมันมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง แล้วเราจะแก้ปัญหาตรงนั้นอย่างไร อันนี้เป็นเรื่องแรกเลย ผมคิดว่า เป็นเรื่องใหญ่

ในประการที่สอง ก็คือว่า ในเรื่องของขอความคิดเห็นความร่วมมือจากประชาชนทั้งประเทศ คนจำนวนหกสิบห้าล้านคนมีความคิดเห็นต่าง ๆ นานา ผมคิดว่า เป็นความพยายามอย่างยิ่งของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ที่จะต้องขอความเห็นหรือขอความร่วมมือต่าง ๆ และได้รัฐธรรมนูญมาที่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ เราอาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนใดบางกลุ่มโดยเฉพาะ แต่โดยรวมแล้ว มันจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่สามารถทำงานได้ ถึงแม้ว่า จะไม่ดีเลิศในทางวิชาการ แต่ที่สำคัญคือมันทำงานได้ มันเหมาะกับประเทศไทย อันนี้ผมคิดว่า คงจะต้องเป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ในใจของเราว่า ไม่ใช่ว่าร่างแล้ว แล้วมันใช้งานไม่ได้ มันถึงจะดีเลิศทางวิชาการก็ตาม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่ามันไม่แพรกติคัล (practical) มันเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ อันนั้นผมคิดว่า ไม่ควรจะออกมา

ในประการสุดท้ายเลย ผมคิดว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเงื่อนเวลาอยู่ เราจะต้องทำให้เสร็จในเวลาที่กำหนด ผมได้ลองอ่านลองดูแล้วก็พบว่า ถ้าเราจะทำเจาะไปที่ประเด็นที่มันเป็นปัญหาแล้ว มันก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะทำไม่สำเร็จตามเงื่อนไขของเวลา ประเด็นปัญหาขึ้นอยู่ว่า เราจะทำงานกันอย่างไร เราจะวางตารางเวลาการทำงานอย่างไรเป็นขั้นเป็นตอน และเพื่อนสมาชิกทุกท่านก็จะต้องเสียสละเวลาที่จะทำงานนี้ ผมคิดว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่สำเร็จแล้วพวกเราต้องถูกยุบเลิกไปเป็นความเสียหายตลอดชีวิตของคนที่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น ในประเด็นสุดท้ายเลย ผมคิดว่า อย่างไร ๆ ก็ตามจะต้องเสร็จภายในกำหนดเวลา ถึงแม้ว่าจะต้องมานอนที่สภาเพื่อร่างให้มันเสร็จก็ควรจะทำ ผมขออนุญาตเสนอวิสัยทัศน์สั้น ๆ และประการสุดท้ายเลย ขอขอบคุณท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่ได้กรุณาเสนอชื่อผม โดยส่วนตัวก็ยังไม่รู้จักกันหรือได้พูดจากัน ขอขอบคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านผู้ถูกเสนอชื่อเป็นรองประธานสภาคนที่หนึ่งก็ได้แสดงวิสัยทัศน์ครบทั้งสามท่านแล้วนะครับ ต่อไปนี้จะเป็นการลงมติกัน ซึ่งตามข้อบังคับ ข้อ ๖ วรรคสี่ ซึ่งกำหนดว่าถ้ามีการเสนอชื่อสองชื่อหรือมากกว่าสองชื่อ ให้มีการลงคะแนนเลือกโดยการเขียนชื่อผู้ซึ่งตนประสงค์จะเลือกลงบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่ได้จัดให้ แล้วให้เรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษรมาลงคะแนนเป็นรายคน โดยนำซองใส่ลงในภาชนะที่จัดไว้เพื่อการนั้น ในการตรวจนับคะแนนให้ประธานเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นกรรมการตรวจนับคะแนน ผมเลยขอกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงลงคะแนนดังนี้นะครับ ผมจะตั้งกรรมการจำนวนห้าท่านทำหน้าที่ควบคุมการหย่อนบัตรลงคะแนนของสมาชิกได้โปรดนับคะแนนนะครับ เจ้าหน้าที่จะมอบซองลงคะแนนให้กับท่านสมาชิกท่านละหนึ่งซอง ซึ่งในซองจะมีบัตรลงคะแนนเพื่อเลือกรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง ให้ท่านสมาชิกลงคะแนนโดยเขียนชื่อคนที่สมควรเป็นประธานตามที่สมาชิกเสนอมาท่านใดท่านหนึ่งเพียงท่านเดียว เมื่อสมาชิกลงคะแนนเสร็จแล้ว ให้นำบัตรลงคะแนนใส่ซองไว้ตามเดิมโดยผมจะให้เลขาธิการฯ อ่านรายชื่อสมาชิกตามลำดับอักษร เมื่อเลขาธิการฯ อ่านรายชื่อสมาชิกท่านใด ให้สมาชิกท่านนั้นนำซองลงคะแนนมาใส่กล่องรับคะแนนที่จัดไว้ต่อคณะกรรมการตรวจนับคะแนน สำหรับซองคะแนนนั้นให้จัดทำเท่ากับจำนวนสมาชิกโดยมีสัญลักษณ์กำกับซึ่งสามารถตรวจสอบได้นะครับ ขอเชิญเจ้าหน้าที่แจกซองลงคะแนนนะครับ

นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์: กราบเรียนท่านประธาน ผม อรรครัตน์ รัตนจันทร์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขออนุญาตปรึกษาแล้วก็ขอสอบถามท่านประธานครับ เป็นไปได้ไหมว่า คือผมดูแล้วมีผู้เสนอเพียงสามท่าน ถ้ากรณีที่เราจะเลือกไปเลยทีเดียวทั้งสองท่าน คือ ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดก็เป็นท่านแรก ผู้ที่ได้คะแนนรองลงมาก็เป็นลำดับสองเนื่องจากมีการแสดงวิสัยทัศน์ไปเรียบร้อยแล้ว หรือว่า ถ้ามีท่านใดจะเสนอเพิ่มขึ้นมาก็เสนอเข้ามาแล้วก็เลือกไปภายในครั้งเดียวกัน อันนั้นประเด็นแรกนะครับ ถ้าเกิดจะเลือกเป็นคนละครั้ง คือ เลือกรองประธานคนที่หนึ่ง และเลือกประธานคนที่สอง ทีนี้ กรณีที่มีการเลือกประธานท่านที่สอง ไม่ทราบว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกในครั้งแรกจะสามารถถูกเสนอชื่อเข้ามาในครั้งที่สองได้หรือไม่ และจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ซ้ำอีกหรือไม่ ขอบพระคุณครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): สำหรับประเด็นแรกเป็นไปตามข้อบังคับนะครับ ก็คือ ต้องเลือกทั้งสามคน เอาหนึ่งคน สำหรับรองประธานคนที่หนึ่งนะครับ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับนะครับ เอาอย่างนี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวค่อยว่ากันสำหรับสำหรับรองประธานคนที่สอง เอาคนที่หนึ่งเสียก่อนนะครับ ท่านเขียนชื่อใส่ซองไว้นะครับ เจ้าหน้าที่แจกซองไปแล้วกันนะครับ เมื่อท่านลงคะแนนเสร็จแล้วก็นำบัตรลงคะแนนใส่ซองไว้ตามเดิมนะครับ ผมจะให้เลขาธิการฯ อ่านรายชื่อสมาชิกตามลำดับอักษร แล้วก็ให้ท่านสมาชิกนำซองลงคะแนนมาใส่กล่องนะครับ แล้วผมขอตั้งกรรมการเลยนะครับ คนที่หนึ่ง คุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี นะครับ ท่านอยู่ไหมครับ, ๒. คุณชวลิต หมื่นนุช, ๓. คุณธนพิชญ์ มูลพฤกษ์, ๔. คุณวิทวัส บุญญสถิตย์, ๕. นายนุรักษ์ มาประณีต พร้อมแล้วนะครับ เชิญเลขาธิการฯ ดำเนินการครับ

(คณะกรรมการเข้าประจำที่)

นายวัชรินทร์ จอมพลาพล (รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ): ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์, ๒. นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร, ๓. นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล, ๔. นายกล้านรงค์ จันทิก, ๕. นายการุณ ใสงาม, ๖. รองศาสตราจารย์กิตติ ตีรเศรษฐ, ๗. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, ๘. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, ๙. นายคมสัน โพธิ์คง, ๑๐. นายจรัญ ภักดีธนากุล, ๑๑. ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา, ๑๒. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี, ๑๓. ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์, ๑๔. รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, ๑๕. นายช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง, ๑๖. นายชนินทร์ บัวประเสริฐ, ๑๗. นายชวลิต หมื่นนุช, ๑๘. นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์, ๑๙. นายชาติชาย แสงสุข, ๒๐. นายชาลี กางอิ่ม, ๒๑. นายชำนาญ ภูวิลัย, ๒๒. นายชูชัย ศุภวงศ์, ๒๓. นายโชคชัย อักษรนันท์, ๒๔. ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ, ๒๕. รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส, ๒๖. นายเดโช สวนานนท์, ๒๗. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์, ๒๘. พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร, ๒๙. นายธวัช บวรวนิชยกูร, ๓๐. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย, ๓๑. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง, ๓๒. รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, ๓๓. นายนรนิติ เศรษฐบุตร, ๓๔. นายนิตย์ วังวิวัฒน์, ๓๕. นายนิมิต ชัยจีระธิกุล, ๓๖.นายนุรักษ์ มาประณีต, ๓๗. นายปกรณ์ ปรียากร, ๓๘. นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม, ๓๙. นายประพันธ์ นัยโกวิท, ๔๐. นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ, ๔๑. นายประสงค์ พิทูรกิจจา, ๔๒. นายปริญญา ศิริสารการ, ๔๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร, ๔๔. นางสาวพวงเพชร สารคุณ, ๔๕. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ, ๔๖. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม, ๔๗. พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล, ๔๘. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์, ๔๙. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น, ๕๐. นายมนตรี เพชรขุ้ม, ๕๑. นางมนูญศรี โชติเทวัญ, ๕๒. นายมานิจ สุขสมจิตร, ๕๓. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ, ๕๔. นายรัฐ ชูกลิ่น, ๕๕. รองศาสตราจารย์รุจิรา เตชางกูร, ๕๖. รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ, ๕๗. นายวัชรา หงส์ประภัศร, ๕๘. นายวิชัย รูปขำดี, ๕๙. นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์, ๖๐. นายวิชัย ศรีขวัญ, ๖๑. นายวิชา มหาคุณ, ๖๒. นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์, ๖๓. นายวิทยา คชเขื่อน, ๖๔. นายวิทยา งานทวี, ๖๕. นายวิทวัส บุญญสถิตย์, ๖๖. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์, ๖๗. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร, ๖๘. รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย, ๖๙. รองศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช, ๗๐. นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล, ๗๑. นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น, ๗๒. นายศิวะ แสงมณี, ๗๓. นายเศวต ทินกูล, ๗๔. นางสดศรี สัตยธรรม, ๗๕. นายสนั่น อินทรประเสริฐ, ๗๖. นายสมเกียรติ รอดเจริญ, ๗๗. ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์, ๗๘. นายสมชัย ฤชุพันธุ์, ๗๙. นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย, ๘๐. นายสวัสดิ์ โชติพานิช, ๘๑. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์, ๘๒. นายสวิง ตันอุด, ๘๓. นายสามขวัญ พนมขวัญ, ๘๔. นายสุนทร จันทร์รังสี, ๘๕. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, ๘๖. นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล, ๘๗. นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์, ๘๘. นายเสรี นิมะยุ, ๘๙. นายเสรี สุวรรณภานนท์, ๙๐. นายหลักชัย กิตติพล, ๙๑. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล, ๙๒. นายอภิชาติ ดำดี, ๙๓. นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์, ๙๔. นายอรัญ ธรรมโน, ๙๕. นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์, ๙๖. นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์, ๙๗. นางอังคณา นีละไพจิตร, ๙๘. นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์, ๙๙. นายอุทิศ ชูช่วย และ ๑๐๐. นายโอกาส เตพละกุล

(สมาชิกทำการหย่อนบัตรลงคะแนน)

นายวิทวัส บุญญสถิตย์ (กรรมการตรวจนับคะแนน): นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเดโช สวนานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเดโช สวนานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายเดโช สวนานนท์

(เจ้าหน้าที่ทำการรวมคะแนน)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ผลการตรวจนับคะแนนปรากฏว่า คุณเสรี สุวรรณภานนท์ ได้ห้าสิบเอ็ดคะแนน ถือว่า ได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกซึ่งมาประชุมหนึ่งร้อยท่าน จึงถือว่า คุณเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง ครับ

(สมาชิกที่อยู่ในห้องประชุมปรบมือ)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ก็ขอขอบคุณท่านกรรมการที่ได้กรุณาเป็นกรรมการตรวจนับคะแนนนะครับ

ต่อไปก็ดำเนินการเลือกรองประธานคนที่สองครับ โปรดเสนอชื่อครับ เชิญครับ

นายธวัช บวรวนิชยกูร: เรียนท่านประธานครับ กระผม ธวัช บวรวนิชยกูร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ลำดับที่ ๒๙ ผมขอเสนอคุณเดโช สวนานนท์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สองครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ขอผู้รับรองด้วยครับ

(สมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ครบนะครับ เชิญท่านใดจะเสนอ เชิญครับ

นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร: เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเสนอท่านสดศรี สัตยธรรม เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สองค่ะ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ขอผู้รับรองด้วยครับ

(สมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ครบนะครับ มีท่านใดจะเสนออีกไหมครับ เชิญครับ

นายวีนัส ม่านมุงศิลป์: ท่านประธานครับ กระผม วีนัส ม่านมุงศิลป์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผมขอเสนอศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ขอผู้รับรองด้วยครับ

(สมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ครบนะครับ มีท่านใดจะเสนอใครอีกไหมครับ มีอีกไหมครับ ถ้าไม่มีก็มีผู้เสนอสามท่านนะครับ ก็ดำเนินการเหมือนอย่างคราวที่แล้วนะครับ เจ้าหน้าที่ก็นำบัตรไปแจกให้ท่านนะครับ ประทานโทษครับ แสดงวิสัยทัศน์คนเดียวนะครับ เชิญคุณสดศรีครับ แสดงวิสัยทัศน์ เพราะสองท่านนั้นไม่ต้องแล้วครับ เชิญครับ

นางสดศรี สัตยธรรม: กราบเรียนท่านประธานและท่านผู้มีเกียรติ ณ ที่นี้ทุกท่านนะคะ ดิฉันกราบขอบพระคุณที่เสนอดิฉันเข้ามาชิงในตำแหน่งรองประธานสภานะคะ ดิฉันเข้ามาในฐานะตัวแทนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นงานที่มีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ด้วย รวมทั้งในเรื่องการทำประชามติ ก็คิดว่า บทบาทของ กกต. และอยู่ในฐานะอีกบทบาทหนึ่ง คือ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดิฉันถือว่าดิฉันมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องทำเพื่อประเทศชาติและเพื่อประชาชน เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ดิฉันเห็นว่า เราคงจะสงบลงได้เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับที่พวกเรากำลังจะร่างกันขึ้นมา ดิฉันหวังว่า ทุกท่านคงจะมีส่วนร่วมสำคัญในงานสำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งของประเทศชาติ สำหรับการแสดงวิสัยทัศน์อันนี้ ดิฉันขอสั้น ๆ เพื่อประหยัดเวลา ขอบพระคุณค่ะ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ผมก็ขอตั้งกรรมการอย่างครั้งที่แล้วนะครับ ก็ขอตั้งกรรมการดังนี้นะครับ มีห้าท่าน คือ ๑. ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์, ๒. คุณชนินทร์ บัวประเสริฐ, ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย, ๔. คุณไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์, ๕. คุณปริญญา ศิริสารการ เชิญเจ้าหน้าที่แจกบัตรเลย กรรมการประจำที่ด้วยครับ

(คณะกรรมการเข้าประจำที่)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนได้เลยนะครับ เชิญท่านเลขาฯ ดำเนินการ

นายวัชรินทร์ จอมพลาพล (รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ): ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์, ๒. นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร, ๓. นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล, ๔. นายกล้านรงค์ จันทิก, ๕. นายการุณ ใสงาม, ๖. รองศาสตราจารย์กิตติ ตีรเศรษฐ, ๗. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, ๘. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, ๙. นายคมสัน โพธิ์คง, ๑๐. นายจรัญ ภักดีธนากุล, ๑๑. ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา, ๑๒. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี, ๑๓. ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์, ๑๔. รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, ๑๕. นายช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง, ๑๖. นายชนินทร์ บัวประเสริฐ, ๑๗. นายชวลิต หมื่นนุช, ๑๘. นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์, ๑๙. นายชาติชาย แสงสุข, ๒๐. นายชาลี กางอิ่ม, ๒๑. นายชำนาญ ภูวิลัย, ๒๒. นายชูชัย ศุภวงศ์, ๒๓. นายโชคชัย อักษรนันท์, ๒๔. ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ, ๒๕. รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส, ๒๖. นายเดโช สวนานนท์, ๒๗. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์, ๒๘. พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร, ๒๙. นายธวัช บวรวนิชยกูร, ๓๐. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย, ๓๑. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง, ๓๒. รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, ๓๓. นายนรนิติ เศรษฐบุตร, ๓๔. นายนิตย์ วังวิวัฒน์, ๓๕. นายนิมิต ชัยจีระธิกุล, ๓๖.นายนุรักษ์ มาประณีต, ๓๗. นายปกรณ์ ปรียากร, ๓๘. นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม, ๓๙. นายประพันธ์ นัยโกวิท, ๔๐. นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ, ๔๑. นายประสงค์ พิทูรกิจจา, ๔๒. นายปริญญา ศิริสารการ, ๔๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร, ๔๔. นางสาวพวงเพชร สารคุณ, ๔๕. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ, ๔๖. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม, ๔๗. พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล, ๔๘. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์, ๔๙. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น, ๕๐. นายมนตรี เพชรขุ้ม, ๕๑. นางมนูญศรี โชติเทวัญ, ๕๒. นายมานิจ สุขสมจิตร, ๕๓. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ, ๕๔. นายรัฐ ชูกลิ่น, ๕๕. รองศาสตราจารย์รุจิรา เตชางกูร, ๕๖. รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ, ๕๗. นายวัชรา หงส์ประภัศร, ๕๘. นายวิชัย รูปขำดี, ๕๙. นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์, ๖๐. นายวิชัย ศรีขวัญ, ๖๑. นายวิชา มหาคุณ, ๖๒. นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์, ๖๓. นายวิทยา คชเขื่อน, ๖๔. นายวิทยา งานทวี, ๖๕. นายวิทวัส บุญญสถิตย์, ๖๖. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์, ๖๗. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร, ๖๘. รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย, ๖๙. รองศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช, ๗๐. นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล, ๗๑. นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น, ๗๒. นายศิวะ แสงมณี, ๗๓. นายเศวต ทินกูล, ๗๔. นางสดศรี สัตยธรรม, ๗๕. นายสนั่น อินทรประเสริฐ, ๗๖. นายสมเกียรติ รอดเจริญ, ๗๗. ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์, ๗๘. นายสมชัย ฤชุพันธุ์, ๗๙. นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย, ๘๐. นายสวัสดิ์ โชติพานิช, ๘๑. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์, ๘๒. นายสวิง ตันอุด, ๘๓. นายสามขวัญ พนมขวัญ, ๘๔. นายสุนทร จันทร์รังสี, ๘๕. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, ๘๖. นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล, ๘๗. นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์, ๘๘. นายเสรี นิมะยุ, ๘๙. นายเสรี สุวรรณภานนท์, ๙๐. นายหลักชัย กิตติพล, ๙๑. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล, ๙๒. นายอภิชาติ ดำดี, ๙๓. นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์, ๙๔. นายอรัญ ธรรมโน, ๙๕. นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์, ๙๖. นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์, ๙๗. นางอังคณา นีละไพจิตร, ๙๘. นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์, ๙๙. นายอุทิศ ชูช่วย และ ๑๐๐. นายโอกาส เตพละกุล

(สมาชิกทำการหย่อนบัตรลงคะแนน)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): มีท่านสมาชิกผู้ใดยังไม่ได้ลงคะแนนบ้างไหมครับ ลงครบทุกท่านแล้วนะครับ ผมปิดลงคะแนนนะครับ กรรมการจะได้ตรวจนับกันต่อไป

นายปริญญา ศิริสารการ (กรรมการตรวจนับคะแนน): ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรี, ท่านสดศรี, ท่านเดโช, ท่านเดโช, ท่านเดโช, ท่านเกริกเกียรติ, ท่านเดโช, ท่านเดโช, ท่านเดโช, ท่านสดศรี, ท่านเดโช, ท่านเกริกเกียรติ, ท่านเดโช, ท่านเกริกเกียรติ, ท่านเกริกเกียรติ, ท่านสดศรี, ท่านสดศรี, ท่านสดศรี, ท่านสดศรี, ท่านเดโช, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านเกริกเกียรติครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ใบสุดท้ายแล้วนะครับ ท่านเดโชครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): เนื่องจากอาจารย์เดโชซึ่งได้คะแนนสูงสุดไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มาประชุม เพราะฉะนั้น ก็ตามข้อบังคับ ข้อ ๖ ก็ต้องลงคะแนนกันอีกรอบหนึ่งครับ ระหว่างอาจารย์เดโช ลำดับที่หนึ่ง กับอาจารย์สดศรี ลำดับที่สอง นะครับ ก็ขอความกรุณากรรมการชุดเดิมนะครับ เจ้าหน้าที่ช่วยแจกซองเลยครับ ลงคะแนนสองท่านนะครับ ระหว่างอาจารย์เดโชกับอาจารย์สดศรีนะครับ เชิญลงคะแนนได้เลยนะครับ ท่านเลขาฯ โปรดดำเนินการต่อเลยครับ

นายพิทูร พุ่มหิรัญ (เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ): ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์, นางกรรณิการ์ บันเทิงจิตร, นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล, นายกล้านรงค์ จันทิก, นายการุณ ใสงาม, รองศาสตราจารย์กิตติ ตีรเศรษฐ, ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, นายคมสัน โพธิ์คง, นายจรัญ ภักดีธนากุล, ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา, นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี, ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์, รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, นายช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง, นายชนินทร์ บัวประเสริฐ, นายชวลิต หมื่นนุช, นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์, นายชาติชาย แสงสุข, นายชาลี กางอิ่ม, นายชำนาญ ภูวิลัย, นายชูชัย ศุภวงศ์, นายโชคชัย อักษรนันท์, ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ, รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส, นายเดโช สวนานนท์, นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์, พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร, นายธวัช บวรวนิชยกูร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย, นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง, รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, นายนรนิติ เศรษฐบุตร, นายนิตย์ วังวิวัฒน์, นายนิมิต ชัยจีระธิกุล, .นายนุรักษ์ มาประณีต, นายปกรณ์ ปรียากร, นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม, นายประพันธ์ นัยโกวิท, นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ, นายประสงค์ พิทูรกิจจา, นายปริญญา ศิริสารการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร, นางสาวพวงเพชร สารคุณ, นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ, นายพิสิฐ ลี้อาธรรม, พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล, นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์, นายไพโรจน์ พรหมสาส์น, นายมนตรี เพชรขุ้ม, นางมนูญศรี โชติเทวัญ, นายมานิจ สุขสมจิตร, พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ, นายรัฐ ชูกลิ่น, รองศาสตราจารย์รุจิรา เตชางกูร, รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ, นายวัชรา หงส์ประภัศร, นายวิชัย รูปขำดี, นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์, นายวิชัย ศรีขวัญ, นายวิชา มหาคุณ, นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์, นายวิทยา คชเขื่อน, นายวิทยา งานทวี, นายวิทวัส บุญญสถิตย์, นายวีนัส ม่านมุงศิลป์, นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร, รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย, รองศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช, นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล, นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น, นายศิวะ แสงมณี, นายเศวต ทินกูล, นางสดศรี สัตยธรรม, นายสนั่น อินทรประเสริฐ, นายสมเกียรติ รอดเจริญ, ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์, นายสมชัย ฤชุพันธุ์, นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย, นายสวัสดิ์ โชติพานิช, นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์, นายสวิง ตันอุด, นายสามขวัญ พนมขวัญ, นายสุนทร จันทร์รังสี, นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย, นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล, นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์, นายเสรี นิมะยุ, นายเสรี สุวรรณภานนท์, นายหลักชัย กิตติพล, นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล, นายอภิชาติ ดำดี, นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์, นายอรัญ ธรรมโน, นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์, นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์, นางอังคณา นีละไพจิตร, นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์, นายอุทิศ ชูช่วย และนายโอกาส เตพละกุล

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): มีสมาชิกท่านใดยังไม่ได้ใช้สิทธิออกเสียงบ้างไหมครับ ถ้าไม่มีผมขอปิดการลงคะแนนนะครับ เชิญกรรมการตรวจนับคะแนนครับ

นายปริญญา ศิริสารการ (กรรมการตรวจนับคะแนน): ขอสอบถามว่าเบอร์ ๙๔ ไม่ลงคะแนนหรือครับ ท่านอรัญ ธรรมโน

(นายอรัญ ธรรมโน ไม่อยู่ในที่ประชุม)

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านอรัญไม่อยู่ในที่ประชุมนะครับ ไม่มีนะครับ

นายปริญญา ศิริสารการ (กรรมการตรวจนับคะแนน): ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโช ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่าน เดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่าน เดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ท่านเดโชครับ, ท่านสดศรีครับ, ใบสุดท้ายครับ ท่านเดโชครับ

(เจ้าหน้าที่ทำการรวมคะแนน)

นายปริญญา ศิริสารการ (กรรมการตรวจนับคะแนน): จำนวนบัตรกับจำนวนคะแนนตรงกันนะครับ

นายสวัสดิ์ โชติพานิช (ประธานชั่วคราว): ท่านสมาชิกครับ ผลของการลงคะแนนปรากฏว่าอาจารย์เดโช สวนานนท์ ได้คะแนนสูงสุดนะครับ ท่านสมาชิกครับ เป็นอันว่า วันนี้ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญมีมติเลือก ๑. ศาสตราจารย์นรนิติ เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ๒. คุณเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง และ ๓. ศาสตราจารย์เดโช สวนานนท์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สอง ซึ่งท่านเลขาธิการจะได้แจ้งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไปตามข้อบังคับ ข้อ ๙ วันนี้หมดระเบียบวาระการประชุมแล้ว ส่วนจะมีการประชุมอีกเมื่อใด เลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้นัดหมายให้ทราบต่อไปครับ ขอขอบคุณท่านสมาชิกทุกท่านที่มาประชุม ผมขอปิดประชุมครับ



เลิกประชุมเวลา ๑๒:๐๕ นาฬิกา