ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ/ฉบับที่ 5
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยระบบการเลือกตั้ง และการพ้นจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙๑ มาตรา ๙๒ และมาตรา ๙๔ และยกเลิกมาตรา ๙๓ มาตรา ๑๐๓ (๔) และมาตรา ๑๐๕ วรรคสาม)
โดยที่ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวมีปัญหาหลายด้าน ก่อให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติ เกิดความไม่เป็นธรรมแก่พรรคการเมือง ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนในการเลือกตั้ง การคิดคำนวณคะแนนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไม่มีความแน่นอนชัดเจน สมควรที่จะนำระบบการเลือกตั้งตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า ทั้งฉบับปี ๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ ซึ่งใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ มาใช้สำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อซึ่งเคยใช้ในการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้ง ประชาชนมีความเข้าใจ และไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ รวมทั้งยังเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกพรรคการเมือง จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....
- . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
- . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
- . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
มาตรา๑รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...."
มาตรา๒รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๓ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๑ และมาตรา ๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๙๑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยให้เลือกบัญชีรายชื่อใดบัญชีรายชื่อหนึ่งเพียงบัญชีรายชื่อเดียว และให้ถือเอาเขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
มาตรา ๙๒ บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละห้าของคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ ให้ถือว่า ไม่มีผู้ใดในบัญชีรายชื่อนั้นได้รับเลือกตั้ง และมิให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวรรคสอง
วิธีคำนวณสัดส่วนคะแนนเสียงบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับ อันจะถือว่า บุคคลซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งตามสัดส่วนที่คำนวณได้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ให้ถือว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ได้รับเลือกตั้งเรียงตามลำดับจากหมายเลขต้นบัญชีรายชื่อนั้น"
มาตรา๔ให้ยกเลิกมาตรา ๙๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา๕ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๙๔ เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในกรณีเช่นนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการให้มีการรับสมัครผู้สมัครับเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเดิมทุกรายไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่นั้น"
มาตรา๖ให้ยกเลิก (๔) ของมาตรา ๑๐๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา๗ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา ๑๐๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
- นายกรัฐมนตรี
ให้ยกเลิกระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และนำระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มาใช้สำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
๒.๑ | กำหนดชื่อเรียกของรัฐธรรมนูญว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...." (ตามร่างมาตรา ๑) | |
๒.๒ | กำหนดวันมีผลใช้บังคับของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ตามร่างมาตรา ๒) | |
๒.๓ | ยกเลิกวิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในกรณีการเลือกตั้งทั่วไป และการเลือกตั้งใหม่ในกรณีเขตเลือกใดที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งใด (ตามร่างมาตรา ๓) | |
๒.๔ | ยกเลิกวิธีการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละพรรคพึงมี และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคพึงได้รับ สำหรับการเลือกตั้งในบางเขตเลือกตั้งหรือบางหน่วยเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หรือกรณีการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่มีการประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้ง (ตามร่างมาตรา ๔ และมาตรา ๖) | |
๒.๕ | ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณสมาชอกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละพรรคพึงมี และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะพึงได้รับ กรณีมีการเลือกตั้งใหม่ภายในหนึ่งปีเพราะเหตุที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นไม่ได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดสาระสำคัญใหม่กรณีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งใด (ตามร่างมาตรา ๕) | |
๒.๖ | ให้ยกเลิกวิธีการคำนวณสัดส่วนคะแนนของพรรคการเมืองสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เมื่อมีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง (ตามร่างมาตรา ๖) |