ร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..)
พุทธศักราช ....


  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

มาตรารัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...."

มาตรารัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๕ มาตรา ๘๘ มาตรา ๒๐๓ มาตรา ๒๑๗ มาตรา ๒๗๐ มาตรา ๒๗๒ มาตรา ๒๗๕ และมาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตราให้ยกเลิกหมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ มาตรา ๒๕๗ ถึงมาตรา ๒๖๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๑๔๒ ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณต้องแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ ผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจ่ายเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐ"

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕๙ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้

"มาตรา ๑๕๙ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖๒ วรรคแรก ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๑๖๒ คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้องสอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐและแนวนโยบายแห่งรัฐ และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเข้ารับหน้าที่"

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕๒ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๒๕๖ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

(๑)ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

(๒)ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ

(๓)การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(๔)การพิจารณาในวาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย การออกเสียงลงคะแนนในวารที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

(๕)เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป

(๖)การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(๗)เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔๕ และมาตรา ๑๔๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม"

มาตรา๑๐ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๖๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๒๖๙ ในวาระเริ่มแรกนับแต่วันที่ใช้รัฐธรรมนูญ ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวนสองร้อยคน

การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง

การคำนวณเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกวุฒิสภาหนึ่งคน ให้คำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาสองร้อยคน

จำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ให้นำจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนที่คำนวณได้ตามวรรคสองมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตามวรรคสาม ให้มีสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกคนจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน

เมื่อได้จำนวนสมาชิกวุฒิสภาของแต่ละจังหวัดตามวรรคสี่แล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกวุฒิสภายังไม่ครบสองร้อยคน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตามวรรคสี่มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกวุฒิสภาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มสมาชิกวุฒิสภาตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษเหลือจากการคำนวณตามวรรคสามในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวนสองร้อยตน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้หนึ่งคน

การเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

ในกรณีที่จังหวัดใดมีสมาชิกวุฒิสภาได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่จะพึงมีได้ในจังหวัดนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา

ให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ กลับมาใช้บังคับเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา"

มาตรา๑๑ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้เป็นอันสิ้นผลไป

(๑)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๖๑

(๒)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑

(๓)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐

(๔)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐

(๕)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑

(๖)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๓

(๗)พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐

ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ แต่ยังคงให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ โดยให้มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามที่กฎหมายกำหนด

มาตรา๑๒ให้เริ่มกระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ทันทีที่รัฐธรรมนูญนี้มีผลบังคับใช้ โดยให้ขั้นตอน วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เท่าที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา๑๓ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๑๗ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา ๒๖๑/๑ ถึงมาตรา ๒๖๑/๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....

"หมวด ๑๗
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

มาตรา ๒๖๑/๑ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสองร้อยคน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยให้ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง

ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอาจสมัครเป็นรายบุคคลหรือสมัครเป็นบุคคลรวมจำนวนไม่เกินกลุ่มละสองร้อยคนก็ได้ โดยต้องแถลงแนวทางและข้อเสนอในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลให้ประชาชนทราบได้ชัดเจนขณะที่สมัครรับเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

มาตรา ๒๖๑/๒ การคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของแต่ละกลุ่ม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑)นำจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ ไม่รวมจำนวนบัตรเสียและบัตรที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน เป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วยสองร้อย

(๒)นำผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารคะแนนรวมทั้งประเทศที่แต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้รับ

(๓)ผลลัพธ์ตาม (๒) เฉพาะจำนวนเต็ม คือ จำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของแต่ละกลุ่มบุคคลหรือบุคคล หากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นรายบุคคลและได้ผลลัพธ์มากกว่าหนึ่ง ให้ถือว่า ผู้สมัครผู้นั้นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน หากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกลุ่มบุคคลเสนอชือ่ผู้สมัครไว้มากกว่าผลลัพธ์ที่ได้ ให้ผู้สมัครในกลุ่มนั้นได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเรียงตามลำดับหมายเลข หากเสนอชื่อผู้สมัครไว้น้อยกว่าผลลัพธ์ที่ได้ ให้ผู้สมัครทุกคนในกลุ่มนั้นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(๔)หากคำนวณแล้ว จำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ถึงสองร้อยคน ให้ผู้สมัครบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีเศษทศนิยมสูงที่สุดจากการคำนวณตาม (๒) ได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเรียงตามลำดับไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบสองร้อยคน"

มาตรา ๒๖๑/๓ บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑)มีสัญชาติไทย

(๒)มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในประเทศไทย

มาตรา ๒๖๑/๔ บุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้แก่ บุคคลซึ่งมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(๑)เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๙๘ (๖) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒)(๑๓) (๑๕) และ (๑๖)

(๒)เป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือข้าราชการการเมือง

มาตรา ๒๖๑/๕ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๖๑/๑ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีคณะกรรมการการเลือกตั้งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ตามมาตรา ... ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... เข้าปฏิบัติหน้าที่

ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญครบจำนวน ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ

เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว ให้นำเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมประการใดมิได้

การลงมติ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อ และลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

เมื่อรัฐสภาลงใติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ในกรณีที่มีคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ให้ดำเนินการจัดให้มีประชามติเพื่อให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนนว่า เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอ"

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • นายกรัฐมนตรี