วิธีใช้:การตัดข้อความระหว่างหน้า
← วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร | การตัดข้อความระหว่างหน้า |
หน้านี้ระบุวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการตัดข้อความระหว่างหน้า (page break) ในเนมสเปซ "หน้า" (คือ หน้าที่มีชื่อหน้าขึ้นต้นว่า "หน้า:") |
การเว้นวรรคระหว่างหน้า
แก้ไขภาษาไทยเขียนข้อความแบบไม่มีวรรค (เรียกว่า "scriptio continua") เพราะฉะนั้น หน้าต่าง ๆ จะผสานไปโดยไม่เว้นวรรคระหว่างหน้า ซึ่งเป็นระบบเดียวกับในวิกิซอร์ซภาษาเอเชียส่วนใหญ่ เช่น จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ (ต่างจากวิกิซอร์ซในภาษาที่ใช้อักษรโรมัน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฯลฯ)
แต่ถ้าต้องการให้เว้นวรรคระหว่างหน้า ให้ใส่ แม่แบบ:เว้นวรรค (ย่อว่า "วว") หรือ จะเคาะเว้นวรรคตามปกติแล้วตามด้วย <!-- -->
ไว้ท้ายหน้าแรก ก็สามารถทำได้ ดังตัวอย่างนี้
หน้าแรก | หน้าถัดมา | ผลลัพธ์เมื่อผสานหน้า |
---|---|---|
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ{{วว}} | ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู | ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู |
ถ้าไม่ใส่ {{วว}}
จะผสานต่อเนื่องกันไป ดังนี้
หน้าแรก | หน้าถัดมา | ผลลัพธ์เมื่อผสานหน้า |
---|---|---|
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ | ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู | ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู |
ย่อหน้าใหม่ในหน้าถัดมา
แก้ไขโดยปรกติ เมื่อผสานหน้า ข้อความจะแสดงต่อเนื่องกันไปดังกล่าวมาแล้ว
แต่ถ้าย่อหน้าหนึ่ง ๆ จบในหน้าแรก และขึ้นย่อหน้าใหม่ในหน้าถัดมา ให้ใส่ แม่แบบ:ไม่ปฏิบัติการ (ย่อว่า "มปก") ไว้ที่ท้ายหน้าแรก เพื่อบังคับให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ในหน้าถัดมา ดังตัวอย่างนี้
หน้าแรก | หน้าถัดมา | ผลลัพธ์เมื่อผสานหน้า |
---|---|---|
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู {{มปก}} |
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง |
|
ถ้าไม่ใส่ {{มปก}}
จะผสานต่อเนื่องกันไป ไม่ขึ้นย่อหน้า (และไม่มีวรรคระหว่างหน้า) ดังนี้
หน้าแรก | หน้าถัดมา | ผลลัพธ์เมื่อผสานหน้า |
---|---|---|
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู | จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง | ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดูจะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง |
- ข้อยกเว้น
ในหน้าที่ใช้ แม่แบบสารบัญ ให้เปลี่ยนไปใส่ {{มปก}}
ไว้ที่ส่วนต้นของหน้าถัดไปแทน
ข้อความหน้าแรกจบด้วยยัติภังค์
แก้ไขถ้าข้อความในหน้าแรกจบด้วยเครื่องหมายยัติภังค์ (" - ") ให้คงยัติภังค์ไว้ได้ตามเดิม เมื่อผสาน เครื่องหมายยัติภังค์จะไม่ปรากฏ และข้อความจะเชื่อมกันเอง ดังตัวอย่างนี้
หน้าแรก | หน้าถัดมา | ผลลัพธ์เมื่อผสานหน้า |
---|---|---|
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะ- | ใภ้ใช้คล้องคอ | ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ |
แต่ถ้าต้องการให้แสดงยัติภังค์ในผลลัพธ์ ให้ใช้ แม่แบบ:ยัติภังค์ท้ายหน้า ช่วย ตามวิธีการที่ระบุในหน้าแม่แบบนั้นแล้ว
ลิงก์ถูกแบ่งระหว่างหน้า
แก้ไขเมื่อข้อความที่ต้องการลิงก์ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่หน้าหนึ่ง อีกส่วนอยู่อีกหน้า การจะลิงก์เสมือนเป็นข้อความหนึ่งเดียว ต้องใช้ แม่แบบ:เริ่มข้อความที่ลิงก์ได้ และ แม่แบบ:จบข้อความที่ลิงก์ได้ ช่วย
วิธีการใช้ มีอธิบายโดยละเอียดในหน้าแม่แบบทั้งสองแล้ว
ตารางถูกแบ่งระหว่างหน้า
แก้ไขเมื่อตารางถูกแบ่งระหว่างหน้า ให้ทำตามตัวอย่างนี้
หน้า | ในกล่องข้อความตรง | ตัวอย่าง |
---|---|---|
แรก | กลาง (body) | {| class="wikitable"
|-
|เนื้อหาตาราง
|
ท้าย (footer) | {{มปกต}}
|}
| |
ถัดมา | หัว (header) | {| class="wikitable"
|-
|
กลาง (body) | {{มปกต}}
|-
|เนื้อหาตาราง
| |
ท้าย (footer) | {{มปกต}}
|}
| |
สุดท้าย | หัว (header) | {| class="wikitable"
|-
|
กลาง (body) | {{มปกต}}
|-
|เนื้อหาตาราง
|}
|
ดูตัวอย่างใน ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 10/ราชวงษปกรณ์
เชิงอรรถถูกแบ่งระหว่างหน้า
แก้ไขในกรณีที่เชิงอรรถ (footnote) ถูกแบ่งระหว่างหน้า กล่าวคือ เชิงอรรถอันหนึ่งยังไม่จบในหน้าแรก แล้วไปต่อในหน้าถัดมา ให้ทำดังนี้
หน้า | ในกล่องข้อความตรง | ตัวอย่าง | อธิบาย |
---|---|---|---|
แรก | กลาง (body) | ประโยค 1 ประโยค 2 ประโยค 3<ref name="เชิงอรรถ ก">ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ{{เว้นวรรค}}</ref> |
ให้ใส่เชิงอรรถด้วยวิธีปรกติ โดยให้ตั้งชื่อเชิงอรรถนั้น ชื่ออะไรก็ได้ โดยการใส่ name = "ชื่อ" เข้าไปในโค้ด <ref> ดังตัวอย่าง
|
ท้าย (footer) | {{รายการอ้างอิง}} |
ในกล่องข้อความท้ายหน้า ใส่แม่แบบแสดงรายการอ้างอิงตามปรกติ | |
ถัดมา | กลาง (body) | ประโยค a ประโยค b ประโยค c<ref follow ="เชิงอรรถ ก">ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู</ref> |
ในหน้าถัดมา ให้ใส่เชิงอรรถด้วยโค้ด <ref> ตามปรกติ (โดยจะวางไว้ก่อนข้อความแรกสุดในหน้า หรือท้ายข้อความสุดท้ายในหน้า หรือจุดอื่น ๆ แล้วแต่จะเห็นสมควร) แต่ให้เพิ่มข้อความ follow = "ชื่อที่ตั้งไว้ในหน้าแรก" เข้าไป ดังตัวอย่าง
|
ท้าย (footer) | {{รายการอ้างอิง}} |
จากตัวอย่าง เมื่อผสาน ข้อความในเชิงอรรถทั้งสองหน้า จะแสดงต่อกันเป็นเชิงอรรถอันหนึ่งอันเดียวว่า "ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู" |
แม่แบบถูกแบ่งระหว่างหน้า
แก้ไขในกรณีที่แม่แบบถูกแบ่งระหว่างหน้า ต้องใช้แม่แบบเป็นชุดกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
หน้า | ในกล่องข้อความตรง | ตัวอย่าง |
---|---|---|
แรก | กลาง (body) | {{กลุ่มข้อความตรงกลาง/s}} ข้อความ ข้อความ ข้อความ |
ท้าย (footer) | {{กลุ่มข้อความตรงกลาง/e}} | |
ถัดมา | หัว (header) | {{กลุ่มข้อความตรงกลาง/s}} |
กลาง (body) | ข้อความ ข้อความ ข้อความ | |
ท้าย (footer) | {{กลุ่มข้อความตรงกลาง/e}} | |
สุดท้าย | หัว (header) | {{กลุ่มข้อความตรงกลาง/s}} |
กลาง (body) | ข้อความ ข้อความ ข้อความ {{กลุ่มข้อความตรงกลาง/e}} |
ดูชุดแม่แบบที่มีได้ที่ หมวดหมู่:แม่แบบสำหรับการตัดข้อความระหว่างหน้า