สมบัติของผู้ดี/เรื่อง
สารบัญ
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่ใช้กริยาอันข้ามกรายบุคคล | |||
(๒) | ย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง | |||||
(๓) | ย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน | |||||
(๔) | ย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั่งกายบุคคล | |||||
(๕) | ย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพพราดโดนผู้คนหรือสิ่งของแตกเสียหาย | |||||
(๖) | ย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่นด้วยกริยาอันเสือกไสผลักโยน | |||||
(๗) | ย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่นเมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะไป | |||||
(๘) | ย่อมไม่เอิกอึงเมื่อเวลาผู้อื่นทำกิจ | |||||
(๙) | ย่อมไม่อื้ออึงในเวลาสดับตรับฟัง | |||||
(๑๐) | ย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตังหรือพูดจาอึกกระทึกในบ้านแขก | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด | |||
(๒) | ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน | |||||
(๓) | ย่อมไม่ใช้เสียงตวาดหรือพูดจากระโชกกระชาก | |||||
(๔) | ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน | |||||
(๕) | ย่อมไม่ใช้วาจาอันหยาบคาย | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านกำเริบหยิ่งยะโส | |||
(๒) | ย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา |
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวอันสอาด และแต่งตัวโดยเรียบร้อยเสมอ | |||
(๒) | ย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง | |||||
(๓) | ย่อมไม่จิ้ม ควัก ล้วง แคะ แกะ เการ่างกายในที่ประชุมชน | |||||
(๔) | ย่อมไม่กระทำการที่ควรจะทำในที่ลับในที่แจ้ง | |||||
(๕) | ย่อมไม่หาวเรอให้ปรากฏในที่ประชุมชน | |||||
(๖) | ย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง | |||||
(๗) | ย่อมไม่บ้วนถ่มขากด้วยเสียงอันดังหรือให้เปรอะเปื้อนให้เป็นที่รังเกียจ | |||||
(๘) | ย่อมไม่ลุกลนเลอะเทอะมุมมามในการบริโภค | |||||
(๙) | ย่อมไม่ถูกต้องหรือหยิบยื่นสิ่งของที่ผู้อื่นจะบริโภคด้วยมือ | |||||
(๑๐) | ย่อมไม่ล่วงล้ำหยิบของบริโภคผ่านหน้าผู้อื่น ซึ่งควรขอโทษและขอให้เขาส่งได้ | |||||
(๑๑) | ย่อมไม่ละลาบละล้วงเอาของผู้อื่นมาใช้ในการบริโภค เช่น ถ้วยน้ำ และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น | |||||
(๑๒) | ย่อมไม่เอาเครื่องใช้ของตน เช่น ช้อนซ่อม ไปล้วงตักสิ่งบริโภคซึ่งเป็นของกลาง | |||||
(๑๓) | ย่อมระวังไม่พูดจาตรงหน้าผู้อื่นให้ใกล้ชิดเหลือเกิน | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครกพึงรังเกียจในท่ามกลางประชุมชน | |||
(๒) | ย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งควรปิดบังในท่ามกลางประชุมชน | |||||
มโนจริยา | คือ | ย่อมพึงใจที่จะรักษาความสอาด |
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมนั่งด้วยกิริยาอันสุภาพเฉพาะหน้าผู้มีบันดาศักดิ์ | |||
(๒) | ย่อมไม่ขึ้นหน้าผ่านผู้ใหญ่ | |||||
(๓) | ย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่ | |||||
(๔) | ย่อมแหวกที่หรือให้ที่นั่งอันสมควรแก่ผู้ใหญ่หรือผู้หญิง | |||||
(๕) | ย่อมไม่ทัด หรือคาบบุหรี่ คาบกล้อง และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น | |||||
(๖) | ย่อมเปิดหมวกเมื่อเข้าชายคาบ้านผู้อื่น | |||||
(๗) | ย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด | |||||
(๘) | ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน | |||||
(๙) | ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน | |||||
(๑๐) | ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน | |||||
(๑๑) | ผู้เห็นก่อนโดยมากย่อมเคารพก่อน | |||||
(๑๒) | แม้ผู้ใดเคารพตนก่อน ย่อมต้องตอบเขาทุกคน ไม่เฉยเสีย | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่พูดจาล้อเลียนหลอกลวงผู้ใหญ่ | |||
(๒) | ย่อมไม่กล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง | |||||
(๓) | ย่อมไม่กล่าววาจ อันติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่นแก่ตัวเขา | |||||
(๔) | เมื่อจะขอทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาเสียก่อน | |||||
(๕) | เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดแก่บุคคลผู้ใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ | |||||
(๖) | เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมเคารพยำเกรงบิดา มารดา และอาจารย์ | |||
(๒) | ย่อมนับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ | |||||
(๓) | ย่อมมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย |
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้น และไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขายืนเดินกัน | |||
(๒) | ย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น | |||||
(๓) | ย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์ | |||||
(๔) | ย่อมไม่ทำกิริยาโศกเศร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง | |||||
(๕) | เมื่อไปสู่ที่ประชุมรื่นเริง ย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง | |||||
(๖) | เมื่อเป็นเพื่อนเที่ยว ย่อมต้องกลมเกลียว และร่วมลำบาก ร่วมสนุก | |||||
(๗) | เมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับและเชื้อเชิญแขก ไม่เพิกเฉย | |||||
(๘) | ย่อมไม่ทำกิริยาบึกบึนต่อแขก | |||||
(๙) | ย่อมไม่ให้แขกต้องคอยนานเมื่อเขามาหา | |||||
(๑๐) | ย่อมไม่จ้องดูนาฬิกา ในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่ | |||||
(๑๑) | ย่อมไม่ใช้กิริยาอันบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใดในเวลาเมื่อตนอยู่เฉพาะหน้าผู้หนึ่ง | |||||
(๑๒) | ย่อมไม่ใช้กิริยาอันโกรธเคืองหรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก | |||||
(๑๓) | ย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน | |||||
(๑๔) | ย่อมต้องรับส่งแขกเมื่อไปมาในระยะเวลาอันสมควร | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขาตั้งแต่งไว้ในบ้านที่ตนไปสู่หา | |||
(๒) | ย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง | |||||
(๓) | ย่อมไม่พูดให้เพื่อนเก้อกระดาก | |||||
(๔) | ย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเคาะแคะสตรีกลางประชุม | |||||
(๕) | ย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคล | |||||
(๖) | ย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ | |||||
(๗) | ย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันน่าอายน่ากระดากโดยเปิดเผย | |||||
(๘) | ย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟัง | |||||
(๙) | ย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ | |||||
(๑๐) | ย่อมไม่กล่าวถึงการอัปมงคลในเวลามงคล | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมรู้จักเกรงใจคน |
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมมีกิริยาอันผึ่งผายองอาจ | |||
(๒) | จะยืนนั่งย่อมอยู่ในลำดับอันสมควร ไม่เป็นผู้แอบหลังคนหรือหลีกเข้ามุม | |||||
(๓) | ย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้าน งกเงิ่น หยุด ๆ ยั้ง ๆ | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมพูดจาฉะฉาน ชัดถ้อยความ ไม่อุบอิบอ้อมแอ้ม | |||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมมีความรู้จักงาม รู้จักดี | |||
(๒) | ย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวาง เข้าไหนเข้าได้ | |||||
(๓) | ย่อมมีอัชฌาสัยเป็นนักเลง ใครจะพูดหรือเล่นอันใด ก็เข้าใจและต่อติด | |||||
(๔) | ย่อมมีความเข้าใจว่องไว ไหวพริบรู้เท่าถึงการ | |||||
(๕) | ย่อมมีใจอันองอาจกล้าหาญ |
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน | |||
(๒) | ย่อมไม่ถ่วงเวลาให้ผู้อื่นคอย | |||||
(๓) | ย่อมไม่ละเลยที่จะตอบจดหมาย | |||||
(๔) | ย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | พูดสิ่งใดย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ | |||
(๒) | ย่อมไม่รับวาจาคล่อง ๆ โดยมิได้เห็นว่า การจะเป็นได้หรือไม่ | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมเป็นผู้รักษาความสัตย์ในเวลา | |||
(๒) | ย่อมไม่เป็นผู้เกียจคร้าน | |||||
(๓) | ย่อมไม่เข้าใจว่า ผู้ดีทำอะไรด้วยตนไม่ได้ | |||||
(๔) | ย่อมไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย | |||||
(๕) | ย่อมเป็นผู้รักษาความเป็นระเบียบ | |||||
(๖) | ย่อมเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาเมื่ออยู่ในหน้าที่ | |||||
(๗) | ย่อมมีมานะในการงาน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก | |||||
(๘) | ย่อมเป็นผู้ทำอะไรทำจริง | |||||
(๙) | ย่อมไม่เป็นผู้ดึงดันในที่ผิด | |||||
(๑๐) | ย่อมปรารถนาความดีต่อการงานที่ทำอยู่เสมอ |
กายจริยา | คือ | (๑) | เมื่อเห็นใครทำผิดพลาดอันน่าเก้อกระดาก ย่อมช่วยกลบเกลื่อนหรือทำไม่เห็น | |||
(๒) | เมื่อเห็นสิ่งของของใครตกหรือจะเสื่อมเสีย ย่อมต้องหยิบยื่นให้หรือบอกให้รู้ตัว | |||||
(๓) | เมื่อเห็นเหตุร้ายหรืออันตรายจะมีแก่ผู้ใด ย่อมต้องรีบช่วย | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่เยาะเย้ยถากถางผู้กระทำผิดพลาด | |||
(๒) | ย่อมไม่ใช้วาจาอันข่มขี่ | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่มีใจอันโหดเหี้ยมเกรี้ยวกราดแก่ผู้น้อย | |||
(๒) | ย่อมเอาใจโอบอ้อมอารีแก่คนอื่น | |||||
(๓) | ย่อมเอาใจช่วยคนเคราะห์ร้าย | |||||
(๔) | ย่อมไม่เป็นผู้ซ้ำเติมคนเสียที | |||||
(๕) | ย่อมไม่เป็นผู้อาฆาตจองเวร |
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่พักหาความสบายก่อนผู้ใหญ่หรือผู้หญิง | |||
(๒) | ย่อมไม่เสือกสนแย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใด | |||||
(๓) | ย่อมไม่เที่ยวแย่งผู้หนึ่งมาจากผู้หนึ่งในเมื่อเขาสนทนากัน | |||||
(๔) | เป็นผู้ใหญ่ จะไปมาลุกนั่ง ย่อมไว้ช่องทางให้ผู้น้อยมีโอกาสบ้าง | |||||
(๕) | ในการเลี้ยงดู ย่อมเผื่อแผ่เชื้อเชิญแก่คนข้างเคียงก่อนตน | |||||
(๖) | ในการบริโภค ย่อมหยิบยกยื่นส่งสิ่งของแก่ผู้อื่นต่อ ๆ ไปไม่มุ่งแต่กระทำกิจส่วนตน | |||||
(๗) | ย่อมไม่รวบสามตะกลามสี่กวาดฉวยเอาของที่เขาตั้งไว้เป็นกลางจนเกินส่วนที่ตนจะได้ | |||||
(๘) | ย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้ | |||||
(๙) | ย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนส่วนตนเสมอ เช่น ในการเลี้ยงดู หรือใช้ค่าเดินทาง เป็นต้น | |||||
(๑๐) | ย่อมไม่ลืมที่จะส่งของซึ่งคนอื่นได้สงเคราะห์ให้ตนยืม | |||||
(๑๑) | การให้สิ่งของหรือเลี้ยงดูซึ่งเขาได้กระทำแก่ตน ย่อมต้องตอบแทนเขา | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้ใดเพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน | |||
(๒) | ย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องตนถ่ายเดียวจนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่นได้ | |||||
(๓) | ย่อมไม่นำธุระตนเข้ากล่าวแทรกในเวลาธุระอื่นของเขาชุลมุน | |||||
(๔) | ย่อมไม่กล่าววาจาติเตียนของที่เขาหยิบยกให้ว่า ไม่ดี หรือไม่พอ | |||||
(๕) | ย่อมไม่ถามราคาของที่เขาได้หยิบยกให้แก่ตน | |||||
(๖) | ย่อมไม่แสดงราคาของที่จะหยิบยกให้แก่ผู้ใดให้ปรากฏ | |||||
(๗) | ย่อมไม่ใช้วาจาอันโอ้อวดตนและลบหลู่ผู้อื่น | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่มีใจมักได้เที่ยวขอของเขาร่ำไป | |||
(๒) | ย่อมไม่ตั้งใจปรารถนาของรักเพื่อน | |||||
(๓) | ย่อมไม่พึงใจการหยิบยืมเข้าของทองเงินซึ่งกันและกัน | |||||
(๔) | ย่อมไม่หวังแต่จะพึ่งอาศัยผู้อื่น | |||||
(๕) | ย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยงงาน ทอดเทการงานตนให้ผู้อื่น | |||||
(๖) | ย่อมรู้คุณผู้อื่นที่ได้ทำแล้วแก่ตน | |||||
(๗) | ย่อมไม่มีใจฤษยา |
กายจิริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่ละลาบละล้วงเข้าห้องเรือนแขกก่อนเจ้าของบ้านเขาเชิญ | |||
(๒) | ย่อมไม่แลลอดสอดส่ายโดยเพ่งเล็งเข้าไปตามห้องเรือนแขก | |||||
(๓) | ย่อมไม่เที่ยวฉวยโน่นหยิบนี่ของผู้อื่นดูจนเหลือเกินราวกับว่าจะค้นหาสิ่งใด | |||||
(๔) | ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูจดหมายของผู้อื่นที่เจ้าของไม่มีความประสงค์จะให้ดู | |||||
(๕) | ย่อมไม่เที่ยวขอหรือหยิบฉวยดูสมุดพกหรือสมุดจดรายบัญชีของผู้อื่นซึ่งตนไม่มีธุระเกี่ยวข้องเป็นหน้าที่ | |||||
(๖) | ย่อมไม่เที่ยวนั่งที่โต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น | |||||
(๗) | ย่อมไม่เที่ยวเปิดดูหนังสือตามโต๊ะเขียนหนังสือของผู้อื่น | |||||
(๘) | ย่อมไม่แทรกเข้าหมู่ผู้อื่นซึ่งเขาไม่ได้เชื้อเชิญ | |||||
(๙) | ย่อมไม่ลอบแอบฟังคนพูด | |||||
(๑๐) | ย่อมไม่ลอบแอบดูการลับ | |||||
(๑๑) | ถ้าเห็นเขาจะพูดความลับกัน ย่อมต้องหลบตาหรือลี้ตัว | |||||
(๑๒) | ถ้าจะเข้าห้องเรือนผู้ใด ย่อมต้องเคาะประตูหรือกล่าววาจาให้เขารู้ตัวก่อน | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่ซอกแซกไต่ถามธุระส่วนตัวหรือการในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ตน | |||
(๒) | ย่อมไม่เที่ยวถามเขาว่า นั่นเขียนหนังสืออะไร? | |||||
(๓) | ย่อมไม่เที่ยวถามถึงผลประโยชน์ที่เขาหาได้ เมื่อตนไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง | |||||
(๔) | ย่อมไม่เอาการในบ้านของผู้ใดมาแสดงในที่แจ้ง | |||||
(๕) | ย่อมไม่เก็บเอาความลับของผู้หนึ่งมาเที่ยวพูดแก่ผู้อื่น | |||||
(๖) | ย่อมไม่กล่าวถึงความชั่วร้ายอันเป็นความลับเฉพาะบุคคลในที่แจ้ง | |||||
(๗) | ย่อมไม่พูดสับปลับ กลับกลอก ตลบตะแลง | |||||
(๘) | ย่อมไม่ใช้คำสบถติดปาก | |||||
(๙) | ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำมุสา | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่เป็นคนต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง | |||
(๒) | ย่อมเป็นผู้รักษาความไว้วางใจของผู้อื่น | |||||
(๓) | ย่อมไม่แสวงประโยชน์ในทางที่ผิดธรรม | |||||
(๔) | ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเที่ยงตรง |
กายจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่เป็นพาลเที่ยวเกะกะระรั้วและกระทำร้ายคน | |||
(๒) | ย่อมไม่ข่มเหงผู้อ่อนกว่า เช่น เด็ก หรือผู้หญิง | |||||
(๓) | ย่อมไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเจ็บอายเพื่อความสนุกยินดีของตน | |||||
(๔) | ย่อมไม่หาประโยชน์ในอาการที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน | |||||
(๕) | ย่อมไม่เสพย์สุราจนถึงเมาและติด | |||||
(๖) | ย่อมไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม เช่น กัญชายาฝิ่น | |||||
(๗) | ย่อมไม่หมกมุ่นในการพนันเพื่อจะปรารถนาทรัพย์ | |||||
(๘) | ย่อมไม่ถือเอาเป็นของตนในสิ่งที่เจ้าของไม่อนุญาต | |||||
(๙) | ย่อมไม่พึงใจในคนที่มีเจ้าของหวงแหน | |||||
วจีจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่เป็นพาลพอใจทะเลาะวิวาท | |||
(๒) | ย่อมไม่พอใจนินทาว่าร้ายกันและกัน | |||||
(๓) | ย่อมไม่พอใจพูดส่อเสียดยุยง | |||||
(๔) | ย่อมไม่เป็นผู้สอพลอประจบประแจง | |||||
(๕) | ย่อมไม่แช่งชักให้ร้ายผู้ใด | |||||
มโนจริยา | คือ | (๑) | ย่อมไม่ปองร้ายผู้อื่น | |||
(๒) | ย่อมไม่คิดทำร้ายผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน | |||||
(๓) | ย่อมมีความเหนี่ยวรั้งใจตนเอง | |||||
(๔) | ย่อมเป็นผู้มีความละอายแก่บาป |