สยามรัฐเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินอย่างมีพระราชาธิบดีอยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครอง
งานนี้ยังไม่เสร็จ สามารถดูและร่วมพัฒนาได้ที่ดัชนีนี้: 1 |
ด้วยบัดนี้คณราษฎรได้จับพระบรมวงษานุวงษ์ไว้เปนประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณราษฎร ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงษานุวงษ์จะต้องถูกทำร้ายด้วย.
หนังสือสยามรัฐนี้ ข้าพเจ้านายดาบ ปั่น บุณยเกียรติ กับรองอำมาตย์โท เฮง เล้ากระจ่าง เนติบัณฑิต ได้ช่วยกันรวบรวมและเรียบเรียงพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มเพื่อเป็นที่ระลึก นับเป็นประวัติการณ์แห่งกรุงสยามที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่โดยมีพระราชาธิบดีอยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครอง.
หนังสือนี้ได้จัดพิมพ์เป็นภาค ๆ ในภาคที่ ๑ ว่าด้วยวิธีดำเนิรการปกครองของคณะราษฎร เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครอง ภาคที่ ๒ ว่าด้วยกิจการที่คณะราษฎรได้ปฏิบัติไปตามโครงการที่จัดวางขึ้น.
ท่านควรฉวยโอกาสรวบรวมไว้ให้ครบชุด เพื่อประดับตู้ห้องสมุดของท่าน ท่านที่ไม่มีไว้จะเสียใจภายหลัง เพราะหนังสือเล่มนี้จะให้ผลเกินค่า.
ภาคที่ ๒ ต่อไปจะมีภาพคณะเสนาบดีชุดที่เปลี่ยนแปลงอย่างหรู.
ร.อ.ท. เฮง เล้ากระจ่าง เนติบัณฑิต
วันที่ ๑๕ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕
หน้า | บรรทัด | คำผิด | คำถูก | |||
๓ | ๑๒ | เจ้าฟ้ากรมพระกำแพงเพ็ชร์ฯ | กรมพระกำแพงเพ็ชร์ฯ | |||
๓ | ๑๘ | ดุศิต | ดุสิต | |||
๕ | ๖ | อัคเณย์ (ทุกแห่ง) | อคเณย์ | |||
๑๑ | ๓ | ๒๐ | ๒๔ | |||
๒๑ | ๑๐ | ปรีกษา | ปรึกษา | |||
๓๐ | ๑๘ | เลขานุการเนติ บัณฑิตสภา |
เลขาธิการเนติ บัณฑิตสภา | |||
๓๓ | ๙ | สุภ | ศุภ | |||
๓๖ | ๔–๕ | ก็ว่าได้ | (ฆ่าออก) | |||
๖๖ | ๑๐ | ชี้แจ้ง | ชี้แจง | |||
๗๐ | ๑๒ | พระยาประสาท | พระประศาสน์ | |||
๗๒ | ๒๒ | อำมาตย์ตรี | มหาอำมาตย์ตรี | |||
๗๕ | ๒ | ราษฎร | คณะราษฎร | |||
๗๙ | ๑ | การ | กาล | |||
๘๔ | ๙ | จรรโรง | จรรโลง | |||
๙๙ | ๘ | วันี้ | วันนี้ |
สารบัญ | |||
หน้า | ๑ | ||
" | ๔ | ||
" | ๗ | ||
" | ๑๓ | ||
" | ๑๗ | ||
" | ๑๙ | ||
" | ๒๖ | ||
" | ๒๘ | ||
" | ๒๙ | ||
" | ๒๙ | ||
" | ๒๙ | ||
" | ๓๐ | ||
" | ๓๑ | ||
" | ๓๓ | ||
" | ๓๗ | ||
" | ๓๗ | ||
หน้า | ๓๙ | ||
" | ๔๒ | ||
" | ๕๕ | ||
" | ๕๙ | ||
" | ๖๐ | ||
" | ๖๒ | ||
" | ๖๖ | ||
" | ๖๘ | ||
" | ๗๑ | ||
" | ๗๒ | ||
" | ๘๐ | ||
" | ๘๔ | ||
" | ๘๕ | ||
" | ๙๕ | ||
" | ๙๗ | ||
" | ๙๘ | ||
" | ๑๐๐ | ||
" | ๑๐๑ | ||
" | ๑๐๒ | ||
ลุปีวอก จัตวาศก พุทธศักราช ๒๔๗๕ ในรัชชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเสวยศิริราชสมบัติครองสยามรัฐสีมาอาณาจักรเป็นปีที่ ๘ สืบเนื่องอันดับกษัตริย์เป็นองค์ที่ ๗ ในพระราชวงศ์จักรี ต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชชกาลที่ ๖ และนับจำเดิมที่กษัตริย์ในราชวงศ์จักรีได้ครองแผ่นดินสยามรัฐโดยสมบูรณาญาสิทธิราชมาได้ ๑๕๐ ปีกับ ๒ เดือนมีเศษวัน ประจวบกับในสมัยที่บ้านเมืองตกอยู่ในข่ายแห่งความอัตคัดฝืดเคืองกระทบกระเทือนด้วยเศรษฐภัย ประชาราษฎรทั่วทั้งประเทศได้รับความเดือดร้อนเป็นเอนกประการ รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันอยู่เหนือกฎหมายไม่สามารถจะแก้ไขความเดือดร้อนของราษฎรให้บรรเทาลงได้ จึ่งประชาราษฎรพร้อมกันรวบรวมขึ้นเป็นคณะ เริ่มจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินใหม่ โดยให้มีพระราชาธิบดีอยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครอง (Limited Monarchy) อันเป็นการขัดต่อโบราณราชประเพณีแต่เก่าก่อนซึ่งพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจเหนือกฎหมาย (Absolute Monarchy) การกระทำเช่นนี้ต้องกอบด้วยความคิดอันสุขุมคัมภีรภาพ และมีวิริยะเป็นที่ตั้ง จึ่งจะปราศภัยทั้งปวง คณะราษฎรดั่งกล่าวนี้มีข้าราชการฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการฝ่ายพลเรือน และราษฎร รวบรวมขึ้น ให้นามคณะใหม่นี้ว่า "คณะราษฎร."
คณะราษฎรได้เริ่มกระทำการรวบอำนาจการปกครองอย่างสมบูรณาญาสิทธิราชอันมีพระราชาธิบดีใช้อำนาจโดยเด็ดขาดเข้าไว้ในกำมือโดยรวดเร็วฉับพลัน มิทันที่ฝ่ายรัฐบาลเก่าและพระราชาธิบดีเหนือกฎหมายจะทำการขัดขืนประการใด ทั้งนี้ก็หวังจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินใหม่โดยลดพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินลงมาอยู่ใต้อำนาจพระธรรมนูญการปกครอง.
ก่อนอื่น คณะราษฎรได้ดำเนิรนโยบายอย่างแนบเนียน กล่าวคือ ได้จัดส่งคณะราษฎร มีทหารบก ทหารเรือ และราษฎรผู้ร่วมการนี้ ไปยึดสถานที่สำคัญ ๆ ของประเทศไว้ทุกแห่ง มีคลังเงิน คลังกระสุนดินดำ และคลังอาวุธยุทธภัณฑ์ ไว้โดยฉับพลัน และในวาระเดียวกันนี้ คณะราษฎรก็ได้ไปอัญเชิญพระบรมวงศ์กับหัวหน้าบุคคลที่สำคัญ ๆ บางพระองค์และบางคนอันเกี่ยวด้วยอำนาจบัญชาการมาประทับและควบคุมไว้เป็นประกัน เพื่อความปลอดภัยของคณะราษฎร ณพระที่นั่งอนันตสมาคมอันเป็นหน่วยบัญชาการของคณะราษฎร มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นต้น โดยใช้รถปืน, รถเกราะ และรถรบ เป็นพาหะนะ พร้อมด้วยปืนเล็ก ปืนกล เข้าทำการเชื้อเชิญโดยละม่อม เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ณพระราชวังไกลกังวล, หิวหิน มิได้ประทับอยู่ในพระนคร.
เมื่อพระองค์ท่านทราบความประสงค์ของคณะราษฎรตระหนักแน่แล้ว ก็ทรงยอมเสด็จมาโดยดุษณีภาพ ลำดับเดียวกันคณะราษฎรก็แยกย้ายไปอัญเชิญสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพอันเป็นพระเจ้าอาว์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับไปเชิญกรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จโดยละม่อมเช่นกัน เว้นแต่พระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระกำแพงเพ็ชร์อัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้ด่วนเสด็จลอบออกจากวังไปโดยรถไฟพิเศษสู่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพักร้อนผ่อนพระราชหฤทัยชั่วคราว เจ้านายพระองค์นี้จึ่งพ้นจากการควบคุมของคณะราษฎรในวันนั้น การที่คณะราษฎรได้อัญเชิญเจ้านายองค์สำคัญ ๆ มาประทับณพระที่นั่งอนันตสมาคมในพระราชวังดุศิตมหาปราสาทนี้ จะมีความมุ่งร้ายต่อราชตระกูลอย่างใดก็หามิได้ หากเอาไว้เป็นประกันในการปลอดภัยแห่งคณะราษฎร ดั่งปรากฏจากข้อความซึ่งคณะราษฎรได้พิมพ์แจกจ่ายแก่ประชาชนในวันนั้น ความว่า:
"ประกาศคณะราษฎร ด้วยบัดนี้คณะราษฎรได้เชิญพระบรมวงศานุวงศ์ไว้เป็นประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณะราษฎร ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงศานุวงศ์จะต้องถูกทำร้ายด้วย"
กับมีคำกราบบังคมทูลของคณะราษฎรที่มีไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งประทับอยู่ณพระราชวังไกลกังวลดั่งนี้:–
พระที่นั่งอนันตสมาคมวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ขอเดชะฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อมด้วยคณะราษฎร ข้าราชการทหารพลเรือน ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้แล้ว และได้เชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นต้น ไว้เป็นประกัน ถ้าหากคณะราษฎรนี้ถูกทำร้ายด้วยประการใด ๆ ก็จะต้องทำร้ายเจ้านายที่จับกุมไว้เป็นการตอบแทน.
คณะราษฎรไม่ประสงค์ที่จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันใหญ่ยิ่งก็เพื่อจะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึ่งขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จกลับคืนสู่พระนครและทรงเป็นกษัตริย์ต่อไปโดยอยู่ใต่ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้น.
ถ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี หรือไม่ตอบภายใน ๑ ชั่วนาฬิกานับแต่ได้รับหนังสือนี้ก็ดี คณะราษฎรจะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เห็นสมควรขึ้นเป็นกษัตริย์.
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม.
พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.อ. พระยาทรงสุรเดช
พ.อ. พระยาฤทธิอัคเณย์
และการที่คณะราษฎรจะได้อัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคืนสู่พระนครเป็นกษัตริย์สืบไปนั้น ได้มีคำสั่งให้เรือรบหลวงไปรับเสด็จดั่งนี้:–
คำสั่งแผนกทหารเรือในการเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าสู่พระนคร จึ่งให้กองทัพเรือจัด ร.ล. สุโขทัย เป็นเรือรับเสด็จ และบรรจุตำแหน่งนายทหารเรือประจำใหม่ชั่วคราวดั่งนี้:–
น.ต. หลวงศุภชลาศัย เป็นผู้บังคับการเรือ.
ร.อ. ชลิต กุลกำธร เป็นต้นเรือ.
ร.อ. หลวงจักร์วิธานนิเทศ เป็นต้นกลเรือ.
การออกเรือ ให้ปฏิบัติให้เร็วที่สุดที่จะเร็วได้.
ให้กรมสรรพาวุธจ่ายเครื่องสรรพาวุธ ๑ ใน ๔ อัตราศึก.
ให้กรมพัสดุจัดสะเบียงแห้งและสดสำหรับ ๒ วัน.
ให้จัดข้าราชการทหารและพลเรือนไปเชิญเสด็จด้วยตามสมควร
พ.ร.ต. พระยาปรีชาชลยุทธ
พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.อ. พระยาทรงสุรเดชคณะราษฎร
น.ต. หลวงศุภชลาศัย ผู้บังคับการเรือชั่วคราว เมื่อได้รับคำสั่งดั่งนั้นแล้ว ก็บัญชาให้พนักงานประจำเรือรบสุโขทัยใช้จักร์บ่ายหน้าออกปากอ่าวสยามสู่พระราชวังไกลกังวลโดยด่วน.
นอกจากพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้อัญเชิญมาไว้เป็นประกันแล้ว คณะราษฎรก็จำต้องกำจัดและทำการควบคุมบุคคลผู้ทำการฝ่าฝืนขัดขวางไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะราษฎร เพื่อความปลอดภัยแก่คณะราษฎรอันจักดำเนิรการสืบไป คณะได้ทำการคุมตัวพระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจภูธร กับพระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน เป็นอาทิ และความรอบคอบอันจักมิให้ราชการดำเนิรไปโดยมีอุปสัค คณะราษฎรจึงได้สั่งตั้งผู้มีอำนาจขึ้นบัญชาการชั่วคราวก่อน ดั่งสำเนาคำสั่งต่อไปนี้:–
คำสั่งแผนกตำรวจเรียนนายพลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจภูธร.
ด้วยคณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้แล้ว และได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น มีผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจ ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเห็นความจำเป็นที่จะตั้งนายพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ เป็นผู้รักษาตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร เหตุฉะนั้น ขอท่านให้มอบหมายการงานของท่านให้แก่พระยาบุเรศผดุงกิจทำแทนต่อไป.
ในส่วนตัวท่าน ถ้าท่านยินดีที่จะเห็นแก่ราษฎร คณะราษฎรก็ยินดีที่จะขอให้ท่านช่วยตามที่จะดำริเห็นสมควรในภายหลัง.
พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.อ. พระยาทรงสุรเดช
พ.อ. พระยาฤทธิอัคเณย์ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
และในลำดับเดิยวกัน เมื่อพระยาอธิกรณ์ประกาศได้มอบหมายหน้าที่การงานแล้ว ได้เขียนรายงานมอบหน้าที่ดั่งนี้:–
ด้วยความเห็นชอบของคณะราษฎรซึ่งได้ตั้งนายพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ เป็นผู้รักษาการณ์ตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธร และข้าพเจ้าได้มอบการงานให้แก่นายพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ แล้ว.
ขอตำรวจทั้งหลายจงเห็นแก่ราษฎร ปฏิบัติตามคำสั่งของนายพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ ต่อไป.
(ลงนาม) พระยาอธิกรณ์ประกาศ
๒๔ มิ.ย. ๗๕
ครั้นแล้วพระยาบุเรศผดุงกิจก็ได้รับมอบหน้าที่ตามสำเนาประกาศดั่งนี้:–
(สำเนา)แผนกบัญชาการแจ้งความเรื่องตั้งตำแหน่ง
อธิบดีกรมตำรวจภูธรด้วยคณะราษฎรได้ตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นผู้รักษาการตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจภูธรตั้งแต่วันที่ ๒๔ เดือนนี้เป็นต้นไป ดั่งปรากฏในสำเนาใบมอบหมายหน้าที่ราชการซึ่งส่งมาด้วยแล้ว จึ่งแจ้งมาให้ทราบ.
กรมตำรวจภูธรกรุงเทพฯ
วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕(ลงนาม) นายพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ
ผู้รักษาการตำแหน่งอธิบดี
ถึงแม้ว่าคณะราษฎรจะได้รอบคอบสั่งการแล้วเกือบทุกทางก็ดี ก็ยังมิวายที่จะเป็นห่วงและกังวลกรณีย์กิจรอบข้าง จึ่งใด้ให้เจ้าพระยาวรพงศ์ เสนาบดีกระทรวงวัง มีคำสั่งเป็นทางการโดยตรงยังกระทรวงวังดั่งนี้:–
คำสั่งแผนกทหารรักษาวังพระที่นั่งอนันตสมาคมวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕แจ้งความมายังผู้บังคับการทหารรักษาวังด้วยบัดนี้คณะราษฎรได้อำนาจในการปกครองและรักษาพระนครแล้ว
ฉะนั้น ขอให้จัดการรักษาความสงบเรียบร้อย อย่าได้ทำการขัดขวางคณะราษฎรเลย.
(ลงนาม) วรพงศ์ทราบแล้ว.
(ลงนาม) พ.อ. พระยาราชวัลภานุสิษฐ์
กับประการหนึ่ง คณะราษฎรเกรงไปว่า ข้าราชการทะบวงการต่าง ๆ จะตระหนกตกใจเนื่องแต่การกระทำของคณะราษฎรคราวนี้ และบางทีอาจทำให้กำลังใจเกิดท้อถอยขึ้นก็ได้ จึ่งประกาศแก่บรรดาข้าราชการทุกทะบวงการว่า:–
ประกาศแก่บรรดาข้าราชการด้วยตามที่คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้โดยมีความประสงค์ข้อใหญ่ที่จะให้ประเทศสยามมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน และบัดนี้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ได้ลงพระนามรับรองคณะนี้แล้ว ผู้รักษาพระนครจึ่งสั่งข้าราชการทั้งหลายทุกกระทรวงทะบวงการให้มาปฏิบัติการเช่นเคย ผู้ใดละทิ้งหน้าที่ จะต้องมีความผิด
ประกาศมาณวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕
(ลงนาม) นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแนะนำ⟨คณะ⟩ราษฎรในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้รักษาพระนครชั่วคราวระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่อนพระอิริยาบถณพระราชวังไกลกังวล ความว่า:–
"ด้วยตามที่คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ โดยมีความประสงค์ข้อใหญ่ที่จะให้ประเทศสยามได้มีธรรมนูญปกครองแผ่นดินนั้น.
ข้าพเจ้าขอให้ทหาร ข้าราชการ และราษฎรทั้งหลายจงช่วยกันรักษาความสงบ อย่าให้เสียเลือดเนื้อของคนไทยกันเองโดยไม่จำเป็นเลย.
(ลงพระนาม) บริพัตร์"
อนึ่ง ในตอนบ่ายแห่งวันที่ ๒๔ มิถุนายน ศกนี้ บนพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเคยเป็นที่สถิตย์แห่งธงมหาราชใหญ่อันเป็นธงประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณบัดนี้จะแลเห็นธงไตรรงค์อันเป็นธงประจำชาติของสยามรัฐสีมาอาณาจักรขึ้นไปฉวัดเฉวียนอยู่แทนที่ เป็นการแสดงให้ประจักษ์แจ้งแล้วว่า คณะราษฎรได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้แล้วครบครัน.
ประกาศอีกฉะบับหนึ่งของคณราษฎรซึ่งข้าพเจ้า (ผู้รวบรวม) จะเว้นสรรเสริญเสียมิได้ในความรอบคอบของคณะราษฎรซึ่งเกรงว่าหนังสือพิมพ์บางฉะบับจะกล่าวความเป็นเสี้ยนหนามแก่คณะราษฎรขึ้น จึ่งมีประกาศไปยังคณหนังสือพิมพ์ดั่งนี้:–
ประกาศแก่หนังสือพิมพ์พระที่นั่งอนันตสมาคมประกาศแก่เจ้าของและบรรดาผู้จัดการหนังสือพิมพ์ทุกฉะบับว่า หนังสือที่ออกตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะต้องนำต้นเรื่องมาให้ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารตรวจณพระที่นั่งอนันตสมาคมก่อนที่จะพิมพ์ เจ้าของและผู้จัดการหนังสือพิมพ์ผู้ใดขัดขืน ผู้รักษาพระนครจะใช้อำนาจที่มีอยู่ปิดและยึดโรงพิมพ์ทันที.
ประกาศมาณวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕
พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
ถึงแม้กระนั้นก็ดี หนังสือพิมพ์บางฉะบับก็ยังอุตส่าห์ฝ่าฝืนคำสั่งนี้ แต่ก็หาผ่านพ้นจากสายตาของคณะราษฎรไปได้ไม่ เพราะปรากฏแน่ชัดว่า ประกาศของคณะราษฎรนั้นไม่ไร้ผล คือ คณะราษฎรได้สั่งเก็บหนังสือพิมพ์ฉะบับนั้น และเรียกตัวบรรณาธิการไต่สวนฐานขัดคำสั่ง แต่ก็อยู่ในข่ายแห่งความกรุณาของคณะราษฎร จึ่งว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไป มิให้กระทำการฝ่าฝืนอีกเป็นคำรบสอง.
ณวันที่ ๒๔ นี้ เหตุการณ์ในพระนครได้ระบือไปทั่วทุกทิศนานุทิศ บ้างก็จับกลุ่มสนทนากันต่าง ๆ ซึ่งบางคนหาทราบความแท้จริงแห่งความมุ่งหวังของคณะราษฎรนี้ไม่ จึ่งคณะราษฎรได้ออกประกาศแก่ประชาราษฎรทั้งหลาย มีใจความตามสำเนาดังนี้:–
ประกาศคณะราษฎรราษฎรทั้งหลาย.เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัดิสืบจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่า กษัตริย์องค์ใหม่นี้คงจะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจเหนือกฎหมายอยู่ตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบลในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดั่งที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้.
การที่แก้ไขไม่ได้ ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์นี้มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่น ๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอามาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้เอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อยแทบเลือดตากระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใด ถ้าไม่มีเงิน รัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนั่งกินนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว.
รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวง ไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำ กล่าวคำหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่า ราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของพวกรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้น ไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่า เมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคน.
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง.
บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่จะชุบมือเปิบและกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนาเพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนเรียนเสร็จแล้วและทหารปลดกองหนุนแล้วไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการผู้น้อย นายสิบและเสมียนเมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึ่งจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อย ๆ ไป เงินมีเหลือเท่าใดก็เอาฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย.
เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการทหารและพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดั่งกล่าวแล้ว จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้ขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงค์ตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปตัย (Republic) กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกคนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการ อาสัยหลักวิชชา ไม่ทำไปเสมือนคนตาบอดเช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้มีอยู่ว่า:–
๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง.
๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษฐร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก.
๓.จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก.
๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่).
๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดั่งกล่าวข้างต้น.
๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร.
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบ และตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้เท่ากับราษฎรช่วยประเทศ และช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะมีงานทำ ไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพ พ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้าเป็นทาสของพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา คือความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ ซึ่งเรียกกันเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า.
คำประกาศของคณะราษฎรดั่งได้หยิบยกมาไว้ในที่นี้ ชาวเราผู้เป็นคนไทยต่อไปนี้จะเป็นไทยทั้งกาย, ใจ และเลือดเนื้อพร้อมบูรณ์อย่างแน่แท้ ประกาศนี้ได้ปลิวว่อนไปทั่วทั้งพระนคร ชาวประชาราษฎรต่างซร้องสาธุการอำนวยพรอยู่เซ็งแซ่ให้คณะราษฎรบรรลุผลสำเร็จโดยอานุภาพ รถเกราะและรถรบพร้อมทั้งรถบรรทุกทหารของคณะราษฎรจะผ่านไปสารทิศใด จะได้ยินสำเนียงเสียงไชโย! ไชโย! ไชโย! อยู่สนั่นหวั่นไหว น่าปราบปลื้ม.
เหตุการณ์ทั้งหลายได้ดำเนิรโดยเรียบร้อยเป็นลำดับมา และก็ด้วยความใคร่จะได้จัดการปกครองอย่างใหม่นี้โดยรวดเร็วและฉับพลันมิให้เฉื่อยชา คณะราษฎรจึ่งได้เริ่มจัดการประชุมเสนาบดีและปลัดทูลฉลองกระทรวงทะบวงการต่าง ๆ คณะเก่าพร้อมทั้งคณะราษฎรปัจจุบันวันที่ ๒๔ มิถุนายน ศกนี้ เวลา ๑๖.๐๐ น. ดังรายงานการประชุมต่อไปนี้:–
พระที่นั่งอนันตสมาคมวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ผู้ที่มาประชุมคือ:–
คณราษฎรทหารบก
- นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
- นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช
- นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเณย์
- นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ
- นายพันโท พระเหี้ยมใจหาญ
- นายพันตรี หลวงพิบูลย์สงคราม
ทหารเรือ
- นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ
- นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี
- นายนาวาตรี หลวงสินธุ์สงคราม (ติดรักษาการ)
ราษฎร
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
- นายซิม วิรไวทยะ ผู้จดรายงาน
เสนาบดีหน้า:Sayamrat 2475.djvu/28หน้า:Sayamrat 2475.djvu/29หน้า:Sayamrat 2475.djvu/30หน้า:Sayamrat 2475.djvu/31หน้า:Sayamrat 2475.djvu/32หน้า:Sayamrat 2475.djvu/33หน้า:Sayamrat 2475.djvu/34หน้า:Sayamrat 2475.djvu/35หน้า:Sayamrat 2475.djvu/36หน้า:Sayamrat 2475.djvu/37หน้า:Sayamrat 2475.djvu/38หน้า:Sayamrat 2475.djvu/39หน้า:Sayamrat 2475.djvu/40หน้า:Sayamrat 2475.djvu/41หน้า:Sayamrat 2475.djvu/42หน้า:Sayamrat 2475.djvu/43หน้า:Sayamrat 2475.djvu/44หน้า:Sayamrat 2475.djvu/45หน้า:Sayamrat 2475.djvu/46หน้า:Sayamrat 2475.djvu/47หน้า:Sayamrat 2475.djvu/48หน้า:Sayamrat 2475.djvu/49หน้า:Sayamrat 2475.djvu/50หน้า:Sayamrat 2475.djvu/51หน้า:Sayamrat 2475.djvu/52หน้า:Sayamrat 2475.djvu/53หน้า:Sayamrat 2475.djvu/54หน้า:Sayamrat 2475.djvu/55หน้า:Sayamrat 2475.djvu/56หน้า:Sayamrat 2475.djvu/57หน้า:Sayamrat 2475.djvu/58หน้า:Sayamrat 2475.djvu/59หน้า:Sayamrat 2475.djvu/60หน้า:Sayamrat 2475.djvu/61หน้า:Sayamrat 2475.djvu/62หน้า:Sayamrat 2475.djvu/63หน้า:Sayamrat 2475.djvu/64หน้า:Sayamrat 2475.djvu/65หน้า:Sayamrat 2475.djvu/66หน้า:Sayamrat 2475.djvu/67หน้า:Sayamrat 2475.djvu/68หน้า:Sayamrat 2475.djvu/69หน้า:Sayamrat 2475.djvu/70หน้า:Sayamrat 2475.djvu/71หน้า:Sayamrat 2475.djvu/72หน้า:Sayamrat 2475.djvu/73หน้า:Sayamrat 2475.djvu/74หน้า:Sayamrat 2475.djvu/75หน้า:Sayamrat 2475.djvu/76หน้า:Sayamrat 2475.djvu/77หน้า:Sayamrat 2475.djvu/78หน้า:Sayamrat 2475.djvu/79หน้า:Sayamrat 2475.djvu/80หน้า:Sayamrat 2475.djvu/81หน้า:Sayamrat 2475.djvu/82หน้า:Sayamrat 2475.djvu/83หน้า:Sayamrat 2475.djvu/84หน้า:Sayamrat 2475.djvu/85หน้า:Sayamrat 2475.djvu/86หน้า:Sayamrat 2475.djvu/87หน้า:Sayamrat 2475.djvu/88หน้า:Sayamrat 2475.djvu/89หน้า:Sayamrat 2475.djvu/90หน้า:Sayamrat 2475.djvu/91หน้า:Sayamrat 2475.djvu/92หน้า:Sayamrat 2475.djvu/93หน้า:Sayamrat 2475.djvu/94หน้า:Sayamrat 2475.djvu/95หน้า:Sayamrat 2475.djvu/96หน้า:Sayamrat 2475.djvu/97หน้า:Sayamrat 2475.djvu/98หน้า:Sayamrat 2475.djvu/99หน้า:Sayamrat 2475.djvu/100หน้า:Sayamrat 2475.djvu/101หน้า:Sayamrat 2475.djvu/102หน้า:Sayamrat 2475.djvu/103หน้า:Sayamrat 2475.djvu/104หน้า:Sayamrat 2475.djvu/105หน้า:Sayamrat 2475.djvu/106หน้า:Sayamrat 2475.djvu/107หน้า:Sayamrat 2475.djvu/108
- กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
- พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- พระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ เสนาบดีกระทรวงยุตติธรรม
- พระยาราชนิกูล ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย
เพลงชาติ(ร้องทำนองมหาชัย)
๏ สยามอยู่ คู่ฟ้า อย่าสงสัย เพราะชาติไทย เป็นไทย ไปทุกเมื่อ ชาวสยาม นำสยาม เหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะ เพราะเพื่อ ชาติพ้นภัย เราร่วมใจ ร่วมรัก สมัครหนุน วางธรรมนูญ สฐาปานา ภาราใหม่ ยกสยาม ยิ่งยง ธำรงชัย ให้คงไทย ตราบสิ้น ดินฟ้า ๚ – จบภาค ๑ –งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก