เรื่องย่อว่าพระเจ้าสุภมิตรครองราชสมบัติอยู่ในนครจัมปากะ มีพระมเหสีพระนามว่าเกสินี มีพระราชโอรสสองพระองค์ มีพระนามว่าไชยเสน และไชยทัต อยู่มาวันหนึ่งเจ้าอสุภมิตรผู้เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าสุภมิตร ที่ดำรงตำแหน่งอุปราช คิดกบฎจะแย่งบัลลังก์ พระเจ้าสุภมิตรกลัวจะเกิดสงครามสร้างความเดือดร้อนให้พสกนิกรทั้งหลายจึงได้พาพระมเหสีพและพระราชโอรสทั้ง ๒ ไว้ที่ฝั่งข้างนี้ก่อน นำเอาพระนางเกสินีข้ามไปฝั่งตรงข้าม เสร็จแล้วจึงกลับมารับเอาพระโอรสทั้ง ๒ ในระหว่างที่พายเรือกลับมานั่นเองได้มีชาวประมง ๒ คนผ่านมาเห็นพระกุมารทั้ง ๒ จึงได้แบ่งกันเอาพระกุมารไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และที่ฝั่งที่พระนางเกสินีพักอยู่ก็มีพ่อค้าสำเภอพร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ ผ่านมาพบเข้าจึงได้เชิญพระนางไปอยู่ด้วยในฐานะภรรยาแต่ด้วยความจงรักภักดีต่อพระสวามี ชาวประมงจึงไม่สามารถเข้าใกล้ตัวพระนางได้ ฝ่ายเจ้าสุภมิตรเมื่อได้พลัดพรากจากพระมเหสีและพระราชโอรสทั้ง ๒ แล้วก็เสด็จไปด้วยความเศร้าพระทัยจนไปถึงเมืองตักกสิบาเข้าพักอยู่ในพระราชอุทยาน คราวนั้นพระเจ้าตักกสิลา สวรรคตล่วงไปได้เจ็ดวันพอดี พวกอำมาตย์พากันถวายพระเพลิงพระศพแล้วจึงได้ปรึกษากันเพื่อหาพระราชาองค์ใหม่เพราะพระราชาของตนไม่มีพระราชโอรส จึงได้ตกแต่งปุสสรถแล้วปล่อยออกไป ถ้าปุสสรถไปหยุดอยู่หน้าผู้ใดผู้นั้นจึงจะสามารถเป็นพระราชาได้ ปุสสรถดังก่าวได้ไปหยุดอยู่ที่แผ่นมงคลศิลาที่พระเจ้าสุภมิตรพักอยู่ เมื่อปุโรหิตได้เห็นลักษณะของพระเจ้าสุภมิตรแล้วจึงเชิญให้เป็นพระราชาในเมืองตักกสิลา ฝ่ายพระกุมารทั้ง ๒ ที่ชาวประมงพาไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมก็เจริญวัยขึ้น ชาวประมงจึงพาราชกุมารทั้ง ๒ ไปเมืองตักกสิลาเพื่อถวายเป็นช้าราชเสวกของพระราชา พระเจ้าตักกสิลาจำพระกุมารทั้ง ๒ ไม่ได้ แต่ก็เกิดความสงสัยอยู่ในพระทัยว่าลูกของชาวประมง ๒ คนนี้หน้าตาไม่เหมือนเขาเลยจึงทรงดำริไปว่า เจ้าสองคนนี้เหมือนลูกของเรา ถ้าลูกของเรายังอยู่ บัดนี้ก็จักโตเท่ากับเจ้าทั้ง ๒ คนนี้ ฝ่ายพระนางเกสินีไปอยู่กับนายสำเภาจนเวลาล่วงไปได้เจ็ดปี เป็นด้วยแรงอธิษฐานของพระนางจึงทำให้นายสำเภอพาพระนางไปเมืองตักกสิลา กษัตริย์ทั้ง ๔ จึงได้มาพบกันอีกที่เมืองตักกสิลานี้

งานนี้ประกอบด้วยงานย่อยหลายส่วนซึ่งอยู่ในบังคับแห่งลิขสิทธิ์หลายเรื่องต่างกัน เช่น งานอันลิขสิทธิ์หมดอายุ และงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี งานนี้ทุกส่วนล้วนเป็นสาธารณสมบัติแล้ว
ส่วนบทประพันธ์:

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก
ส่วนอื่น ๆ:

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"