หนังสือสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาฯ ที่ สว(สนช) 0007/3769

ตราครุฑ
ตราครุฑ
ด่วนที่สุด
ที่ สว(สนช) ๐๐๐๗/๓๗๖๙
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ถนนอู่ทองใน กทม. ๑๐๓๐๐

๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘

เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เรียน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สิ่งที่ส่งมาด้วยร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

ด้วยในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๘/๒๕๕๘ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งนางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กับคณะ เป็นผู่เสนอ แล้วลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย

จึงเรียนยืนยันมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาพร้อมด้วยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ตามความในมาตรา ๑๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบกับข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๑๓๑

  • ขอแสดงความนับถือ
  • ไพโรจน์ โพธิไสย
  • (นายไพโรจน์ โพธิไสย)
  • รองเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติราชการแทน
  • เลขาธิการวุฒิสภา
  • ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • สำนักการประชุม
  • โทรศัพท์ ๐ ๒๘๓๑ ๙๔๔๗–๘
  • โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๔๔๘

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว
ร่าง
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....


  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

มาตราพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๔) พ.ศ. ๒๕๕๘"

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๗) ของมาตรา ๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

"(๑๗)"สื่อลามกอนาจารเด็ก" หมายความว่า วัตถุหรือสิ่งที่แสดงให้รู้หรือเห็นถึงการกระทำทางเพศของเด็กหรือกับเด็กซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี โดยรูป เรื่อง หรือลักษณะ สามารถสื่อไปในทางลามกอนาจาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือรูปแบบอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน และให้หมายความรวมถึง วัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ข้างต้นที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่สามารถแสดงผลให้เข้าใจความหมายได้"

มาตราให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๘๗/๑ และมาตรา ๒๘๗/๒ ของลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

"มาตรา ๒๘๗/๑ ผู้ใดครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๘๗/๒ ผู้ใด

(๑)เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่าย หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก

(๒)ประกอบการค้าหรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก จ่ายแจก หรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าสื่อลามกอนาจารเด็ก

(๓)เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลายหรือการค้าสื่อลามกอนาจารเด็กแล้ว โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใด ๆ ว่า มีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่า สื่อลามกอนาจารเด็กดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใดหรือโดยวิธีใด

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท"

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  • ถูกต้องตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • สุรัตน์ หวังต่อลาภ
  • (นายสุรัตน์ หวังต่อลาภ)
  • ผู้อำนวยการสำนักการประชุม
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
  • ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"