หนังสือสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาฯ ที่ สว(สนช) 0007/3773
ที่ สว(สนช) ๐๐๐๗/๓๗๗๓ | สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถนนอู่ทองใน กทม. ๑๐๓๐๐ |
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘
เรื่อง | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | |
เรียน | เลขาธิการคณะรัฐมนตรี | |
เนื่องจากในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการวิสามัญได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไว้บางประการ และในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๘ วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นด้วยกับข้อสังเกตนั้น
จึงส่งข้อสังเกตดังกล่าวมาตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๑๐๒ วรรคสอง
- ขอแสดงความนับถือ
- ไพโรจน์ โพธิไสย
- (นายไพโรจน์ โพธิไสย)
- รองเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติราชการแทน
- เลขาธิการวุฒิสภา
- ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สำนักการประชุม
- โทรศัพท์ ๐ ๒๘๓๑ ๙๔๔๗–๘
- โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๔๔๘
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้ว เห็นควรตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑.ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองการส่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กในทุกรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มีกลุ่มบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศดําเนินการลักษณะขบวนการถ่ายทําสื่อลามกอนาจารเด็ก ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก และส่งต่อไปยังเครือข่ายกันอย่างแพร่หลายกระจายอยู่ทางระบบอินเทอร์เน็ต การควบคุมทําได้ค่อนข้างยาก โดยที่สื่อลามกอนาจารเด็กเหล่านี้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้กลุ่มบุคคลที่ครอบครองเกิดความต้องการที่จะล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีกลุ่มบุคคลซึ่งแฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศกับเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มของเด็กชาย ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้มักจะเป็นพวกที่มีสภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์หรือวิปริตทางเพศ อีกทั้งการกระทําความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กในประเทศต้นทาง อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และญี่ปุ่น มีกฎหมายกําหนดอัตราโทษที่สูง ดังนั้น เพื่อให้การบัญญัติเหตุผลในการร่างกฎหมายมีความครอบคลุมกับสภาพปัญหา และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเห็นควรแก้ไขเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นดังนี้
โดยที่กฎหมายกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกอนาจารเป็นความผิดเฉพาะการมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า เพื่อการแจกจ่าย หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไป หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้า โดยไม่ได้แยกประเภทของสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่กับสื่อลามกอนาจารเด็ก ทั้งนี้ การครอบครองสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถจะกระทำได้ แต่สื่อลามกเด็กเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก และส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของเด็ก ประกอบกับความผิดเกี่ยวกับการค้าหรือทำให้แพร่หลายซึ่งวัตถุหรือสิ่งลามกไม่ได้แยกประเภทระหว่างสื่อลามกอนาจารผู้ใหญ่กับสื่อลามกอนาจารเด็กไว้ ทั้งที่ลักษณะความผิดมีความร้ายแรงต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้เด็กได้รับความคุ้มครองและป้องกันจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศมากขึ้น สมควรกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการค้าหรือทำให้แพร่หลายซึ่งวัตถุหรือสิ่งลามกที่เป็นสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิดที่ผู้กระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้น รวมทั้งกำหนดให้การครอบครองและส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นความผิด ประกอบกับการผลิตสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอย่างชัดแจ้ง การมีไว้ในครอบครองจึงมีลักษณะแตกต่างจากการครอบครองสื่อลามกผู้ใหญ่ นอกจากนี้ การผลิตสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งจะก่อให้เกิดการล่วงละเมิเทางเพศต่อเด็ก สมควรที่จะกำหนดให้เป็นความผิด จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"
๒.เมื่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย จะส่งผลกระทบต่อประชาชน จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่รัฐ ในฐานะที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ต้องดําเนินการภารกิจสําคัญสองประการ คือ ประการที่หนึ่ง ในส่วนของ "เจ้าหน้าที่รัฐ" โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงยุติธรรม และสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ต้องบูรณาการร่วมกันในการกําหนดแผนงานและแนวทางจัดเตรียมความพร้อมและจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเร่งรัดการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติให้มีความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมายได้ทันทีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประการที่สอง ในส่วนของ "ประชาชน" ทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้น หน่วยงานรัฐต้องเร่งรัดการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลที่เกียวข้องให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนเตรียมตัวก่อนที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ
- ถูกต้องตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สุรัตน์ หวังต่อลาภ
- (นายสุรัตน์ หวังต่อลาภ)
- ผู้อำนวยการสำนักการประชุม
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"