หน้า:กม ร ๕ (๖) - ๒๔๔๑.pdf/53

หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว
1948
เล่ม ๖
ลักษณพิจารณาความอาญามีโทษหลวง

อยู่ด้วยให้แสดงความเหนของตนเรียงตัวไปทีละคนในข้อความซึ่งจะต้องวินิจฉัยให้ตกลงเด็ดขาดกันนั้นจงทุก ๆ ข้อ แต่ให้อธิบดีผู้พิพากษาแสดงความเหนของตนภายหลังผู้พิพากษาทั้งปวง แลให้วินิจฉัยข้อความทุก ๆ ข้อเปนตกลงกันตามความเหนของผู้พิพากษาซึ่งมากกว่ากันนั้น

ถ้าในข้อความอันเดียวกันนั้น มีผู้พิพากษาแสดงความเหนแตกต่างกันออกไปกว่าสองพวกแล้ว แลถ้าจะวินิจฉัยความข้อนั้นเอาเปนตกลงกันตามความเหนของผู้พิพากษาซึ่งเหนมากกว่ากันนั้นไม่ได้แล้ว ดังนี้ก็ให้ผู้พิพากษาผู้ซึ่งมีความเหนว่าจำเลยมีพิรุธแรงกว่าผู้พิพากษาคนอื่น ๆ นั้นยอมลงเนื้อเหนด้วยกับผู้พิพากษาผู้อื่นซึ่งมีความเหนว่าจำเลยมีพิรุธน้อยกว่าความเหนนั้น

ในการลงความเหนในข้อความที่ควรฟังเอาเปนจริงหรือไม่ก็ดี ในข้อบทกฎหมายที่ประกอบใช้นั้นก็ดี ให้ผู้พิพากษาทั้งปวงพิจารณาเอาแต่โดยที่เหนบริสุทธิ์แก่ใจ แลปราศจากอะคะติ ๔ ประการ อย่าได้ปล่อยให้จิตร์ของตนลำเอียงไปด้วยความเหนแก่หน้าบุคคล หรือเหนแก่พวกพ้องหรือประชุมชนใด ๆ เพื่อว่าคำพิพากษาตัดสินของผู้พิพากษาเหล่านี้จะได้ประกอบไปด้วยความสัตย์แลความยุติธรรมอย่างยิ่งที่จะเปนไปได้