ส่วนในคดีแพ่งนั้น ถ้าเป็นคดีเกิดขึ้นระวางคนในบังคับอังกฤษกับคนในบังคับสยามที่อยู่ที่เชียงใหม่ นครลำปาง ลำพูน สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามจะตั้งผู้สมควรให้เป็นตระลาการที่เมืองเชียงใหม่ แลตระลาการนั้นมีอำนาจได้ชำระตัดสินความของคนในบังคับอังกฤษฟ้องคนในบังคับสยามที่เมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูน ถ้าคนในบังคับสยามฟ้องคนในบังคับอังกฤษซึ่งมาแต่พม่า อังกฤษที่เข้าไปในเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง ลำพูน ซึ่งมีหนังสือเดิรทางสำหรับตัวตามหนังสือสัญญา ข้อ ๔ ถ้าคนในบังคับอังกฤษยอมให้ชำระที่ศาลนั้น จึงจะชำระได้ ถ้าไม่ยอมให้ตระลาการที่เมืองเชียงใหม่ชำระตัดสิน ให้กงสุลอังกฤษที่กรุงเทพฯ หรือขุนนางอังกฤษที่ตั้งอยู่เขตต์แดนยองสลิน (Yoonzaleen) ชำระตัดสิน ถ้าคนในบังคับสยามฟ้องคนในบังคับอังกฤษเข้าไปอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูน ถ้าไม่มีหนังสือสำหรับตัวตามสัญญา ข้อ ๔ ความนั้นต้องชำระตามกฎหมายบ้านเมืองนั้น[1]
อย่างไรก็ดี สัญญาอังกฤษฉะบับนี้มีอายุอยู่ไม่กี่ปีก็ได้แก้ไขทำกันขึ้นใหม่อีกเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ค.ศ. ๑๘๘๓ โดยอัครภาคีแห่งสัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีศาลกงสุลอังกฤษขึ้นที่เชียงใหม่ แลเป็นครั้งแรกที่เริ่มให้มีระเบียบศาลเป็นพิเศษสำหรับคนในบังคับอังกฤษทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ นครลำปาง แลลำพุน ตามสัญญาฉะบับใหม่นี้ยังมีข้อตกลงเก่าบังคับใช้อยู่บ้าง แต่ข้อตกลงใหม่นั้นมีอาทิคือขยายอำนาจศาลซึ่งตั้งขึ้นตามสัญญาฉะบับ ค.ศ. ๑๘๗๔ ให้มีอำนาจรับพิจารณาคดีคนในบังคับอังกฤษทุกคนทั้งแพ่งแลอาญาซึ่งอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ นครลำปาง แลลำพูน โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่เกิด หรือจะมีหนังสือเดิรทางหรือไม่ก็ตาม ศาลที่ตั้งขึ้นนี้เป็นศาลไทย ผู้พิพากษาเป็นไทย แต่ต่อมาใช้ชื่อว่าศาลต่างประเทศ อนึ่ง กฎหมายที่จะนำมาปรับแก่คดีนั้นก็เป็นกฎหมายไทย แต่กงสุลอังกฤษหรือรองกงสุลมีอำนาจที่เข้าไปอยู่ในเวลาพิจาณราได้ แลมีเอกสิทธิที่จะถอนคดีใดคดีหนึ่งซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่าย หรือ
- ↑ ดูหนังสือสัญญาระวางกรุงสยามกับอังกฤษ ค.ศ. ๑๘๗๔ ข้อ ๕