อย่างเดียวกันได้ ด้วยเหตุเหล่านี้ จึงได้โปรดให้หาเนติบัณฑิตผู้ชำนาญกฎหมายต่างประเทศเข้ามารับราชการหลายนาย. . . . . . . . . .”[1] มีอาทิ ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ม. โรงแลงยัคคมินซ์) นักปราชญ์กฎหมายชาวเบลเยียม เข้ามาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ม. ริชาด์เกอกแปตริก เนติบัณฑิตเบลเยียม, พระยามหิธร (หมอโตกิจีมาเซา) เนติบัณฑิตญี่ปุ่น, มองซิเออร์ยอชปาดู และผู้เชี่ยวชาญกฎหมายชาวยุโรปอื่น ๆ อีกหลายนาย เข้ามาช่วยเหลือร่วมมือกับข้าราชการไทยในแผนกกฎหมาย มีอาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์[2] และจำนวนนักเรียนไทยซึ่งรัฐบาลสยามส่งออกไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ในต่างประเทศมีจำนวนไม่น้อย ท่านเหล่านี้ได้กลับเข้ามารับราชการฉลองพระเดชพระคุณดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ นับว่าเป็นหลักและกำลังของราชการศาลยุตติธรรมอย่างยิ่ง ในส่วนประมวลกฎหมายที่ประกาศใช้แล้วในยุคนี้ คือ ประมวลกฎหมายลักษณอาชญา ร.ศ. ๑๒๗ (ค.ศ. ๑๙๐๘) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑–๒ (ว่าด้วยลักษณหนี้และบุคคลเป็นต้น) เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ประมวลแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ (ว่าด้วยเอกเทศสัญญา ฯลฯ) ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ประมวลแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ (ว่าด้วยลักษณทรัพย์) ซึ่งได้ประกาศแล้วและให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นไป บรรพอื่น ๆ ยังร่างอยู่ ในการตรวจและชำระร่างกฎหมายเหล่านี้ กรรมการได้ศึกษาหลักกฎหมายไทยในส่วนที่เป็นตัวบทและที่ปรากฏจากคำพิพากษาของศาล เทียบเคียงกับหลักกฎหมายต่างประเทศ มีอาทิ กฎหมายฝรั่งเศส อังกฤษ หลักกฎหมายใหม่ในประมวลกฎหมายสวิสส์และญี่ปุ่น ทั้งข้อบัญญัติในประมวลกฎหมายเยอรมัน อิตาเลีย เนเดรลันด์ อเมริกา ฯลฯ เหล่านี้ก็ได้นำมาพิจารณาประกอบด้วย เลือกสรรเอาแต่ที่เห็นว่าจะใช้การได้สดวกและเหมาะกับความต้องการของประเทศ ครั้นได้ยกร่างสำเร็จขึ้นเป็นรูป ก็ตีพิมพ์ร่างนั้นแจกแก่กรรมการไปศึกษาทั่วกันก่อน ภายหลังได้นัดประชุมตรวจพิจารณาปรึกษาร่างทบทวนอีกหลายหน จนเป็น
หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/24
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐