ของกรุงสยาม ซึ่งได้ประกาศและใช้ตามระเบียบ และเนื้อความในบทกฎหมายนั้น ๆ ได้แจ้งความให้สถานทูตอังกฤษณกรุงเทพฯ ทราบแล้ว ฉะนั้น อำนาจหรือกรรมสิทธิที่คู่ความจะได้หรือจะเสียนั้น จะต้องเป็นไปตามกฎหมายสยาม. . . . . . . . . .[1]
ข้อ๓⟨)⟩คดีอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ในบันดาคดีที่คนในบังคับอังกฤษ หรือองค์คณะ หรือบริษัท หรือสมาคมอังกฤษ หรือบุคคลในอารักขาของอังกฤษ เป็นคู่ความนั้น ศาลอุทธรณ์ในกรุงเทพฯ จะต้องพิจารณาพิพากษา
การอุทธณ์ปัญหากฎหมายนั้น จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ ได้ต่อศาลสูงสุดหรือศาลฎีกา
คนในบังคับอังกฤษ หรือองค์คณะ หรือบริษัท หรือสมาคมอังกฤษ หรือบุคคลในอารักขาของอังกฤษ ที่เป็นจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีใด ๆ ที่เกิดขึ้นในมณฑลชนบทนั้น จะร้องขอย้ายศาลก็ได้ และถ้าศาลเห็นว่าควรย้ายแล้ว การพิจารณาคดีนั้นต้องพิจารณาณกรุงเทพฯ หรือต่อหน้าผู้พิพากษาแห่งศาลซึ่งหากจัดพิจารณาคดีนั้นในกรุงเทพฯ บทบัญญัติในข้อนี้นั้นจะต้องเป็นอันใช้ได้ตลอดเวลาที่สิทธิสำหรับถอนคดีจะยังคงมีอยู่ตามความในข้อ ๒[2]
เวลาล่วงมา กรุงสยามได้เซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศมีลำดับก่อนและหลังดังต่อไปนี้[3] สเปญ (ลงนามวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ค.ศ. ๑๙๒๕ แลกเปลี่ยนสัตยาวันวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙) โปรตุเกศ[4] (ลงนามวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ค.ศ. ๑๙๒๖ แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙⟨)⟩ เนรเดรลันด์[5]