หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/38

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๔

จนกว่าจะได้ออกใช้ประมวลกฎหมายครบถ้วนแล้วและ ๕ ปีต่อไป[1]

(๕)คนสังกัดชาติฝรั่งเศสใด ๆ ที่เป็นจำเลยหรือผู้ต้องหา มีสิทธิขอให้ย้ายคดีไปพิจารณาที่ศาลณะกรุงเทพฯ ได้ หรือให้ส่งผู้พิพากษาที่มีอำนาจจะพิจารณาในศาลที่กรุงเทพฯ นี้ออกไปในศาลประจำท้องถิ่นนั้นก็ได้[2]

ชั้นมีคำพิพากษาและอุทธรณ์ฎีกา

(๑)คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต้องมีที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปลงนามเป็นผู้พิพากษาน้อยหนึ่งนาย

(๒)กงสุลหรือไวซกงสุลฝรั่งเศสมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นทุกประการติดไว้ในสำนวนที่อุทธรณ์นั้นด้วยได้[3]

(๓)คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต้องมีที่ปรึกษาชาวยุโรปลงนามในคำพิพากษาสองนาย

(๔)คู่ความจะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาได้แต่ฉะเพาะคดีที่มีปัญหาข้อกฎหมาย ผู้พิพากษาที่จะลงนามในคำพิพากษาศาลฎีกาต้องมีผู้พิพากษาชาวยุโรปสองนาย

ในคดีแพ่ง

คดีเกี่ยวกับพลเมืองฝรั่งเศส ศาลย่อมปฏิบัติอย่างเดียวกับคดีอาชญาดั่งกล่าวมาแล้ว แต่ต่างกันบ้าง คือ ในคดีแพ่งที่สำคัญอันเกิดในศาลหัวเมืองมณฑลต่าง ๆ ศาลต่างประเทศจึงจะส่งที่ปรึกษากฎหมายไปนั่งในชั้นพิจารณาฟังคำพะยาน

สำหรับคดีเกี่ยวกับชาวเอเซียคนในบังคับและอารักขาฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในมณฑลอุดรและอิสาณ หรือนอกมณฎลเหล่านี้ แต่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๑๙๐๗ แล้วก็ปฏิบัติการดำเนินคดีอย่างพลเมืองฝรั่งเศสทุกประการ เว้นไว้แต่


  1. ดูโปรโตโคลว่าด้วยอำนาจศาลกับประเทศฝรั่งเศส ข้อ ๔ วรรค ๕
  2. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
  3. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .๔ ตอน ๒ และคำสั่งกระทรวงยุตติธรรม ข้อ ๑๖