หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/45

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๑

เมื่อกงสุลมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของชนชาติแห่งตนอยู่แล้วก็ดี ดูจะขัดกันอยู่บ้างในการที่กงสุลกลับจะมีหน้าที่ต้องพิจารณาคดีคนสัญชาติเดียวกับตน[1]

(๙)การค้าขายระวางกรุงสยามกับต่างประเทศจะเจริญขึ้นไม่ได้เลยตราบใดที่มีศาลกงสุลตั้งอยู่ เพราะพ่อค้าทั้งหลายต่างก็หวาดเกรงในการที่จะไม่ได้รับความยุตติธรรมเต็มภูมิตามสิทธิของตนในเมื่อมีคดีเกิดขึ้น ซึ่งในบัดนี้ย่อมเห็นได้ว่า การค้าขายกับต่างประเทศนับวันมีแต่จะรุ่งเรืองเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นทุกที ตั้งแต่ได้เลิกศาลกงสุลเสีย

(๑๐)นักนิติศาสตร์โดยมากไม่เห็นพ้องด้วยในการที่มีศาลกงสุลในประเทศที่เจริญแล้ว[2]

จบ
ศรีบัญชา ผู้พิมพ์โฆษณา พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ถนนบำรุงเมือง พระนคร
๑/๘/๗๙

  1. ดูความเห็นของกุซตาวัซ ไอลินเยอร์ ข้างต้น หน้า ๓๔๕–๓๔๖
  2. ดู Willoughby “Foreign Rights and Interest in China หน้า ๗๒ นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ เอช เอช ควิกิ์เล แห่งมหาวิทยาลัยมิเนซโซตา ยังได้อ้างไว้อีก คือ Hart, Sir Robert, “Proposals for the better Regulations of Commercial Relations”, found as Appendix D in Morse, International Relations, หน้า ๔๕๖, ๔๖๑; Tan S. H. “Extraterritoriality in China” ในหนังสือ Chinese Studies รายเดือน ๆ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๕; British Year Book of International Law ค.ศ. ๑๙๒๑–๒๓ หน้า ๑๓๓–๑๔๙