หน้า:คดีอาญา - ถวิล ระวังภัย - ๒๔๗๗.pdf/12

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ประมวลอาชญา มาตรา ๑๓, ประเทศญี่ปุ่นมีพระราชบัญญัติลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๙๗, ประเทศฝรั่งเศสแต่ก่อนยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนโดยตรง ได้แต่อาศัยอำนาจเนื่องในกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศบุคคลต่างด้าวอันไม่พึงปรารถนา (Loi des 3–11 dec. 1849 art. 7) ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ประเทศสยามได้ใช้อยู่ก่อนมีพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน. บัดนี้ ฝรั่งเศสได้มีกฎหมายแล้ว ฉะบับลงวันที่ ๑๐ มินาคม ค.ศ. ๑๙๒๗ (Loi du 10 mars 1927 relative à l'extradition des ètrangers).

การมีกฎหมายบัญญัติว่าด้วยเรื่องนี้โดยฉะเพาไว้ ย่อมได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่าการมีหนังสือสัญญาเหมือนกัน, เพราะในกฎหมายนั้นย่อมบัญญัติถึงลักษณการที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่ประเทศที่ไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่กัน และกำหนดวิธีพิจารณาไว้โดยละเอียดด้วย.

ค. เกิดจากจารีตประเพณี, แม้จะไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือแม้จะไม่มีกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี, ความเห็นของนักนีติศาสตร์ส่วนมากว่า รัฐบาลประเทศหนึ่งก็ย่อมทำการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้, โดยถือหลักปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีที่ทำความเข้าใจตกลงกันไว้ เป็นต้นสมมติว่า ในระหว่างประเทศที่มีสัญญากัน, กำหนดความผิดทั้งหลายที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่กันได้ หรือในประเทศซึ่งมีกฎหมายกำหนดการกระทำผิดที่จะสามารถส่งผู้ร้าย