เมื่อปิดสภาผู้แทนราษฎรแล้ว หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ ได้มีหนังสือถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ๒–๓ คราว มีข้อความสำคัญว่า ขอสับเปลี่ยนผู้ก่อการบางตำแหน่งเสีย นอกจากนี้พระปกเกล้าฯ ยังได้มีหนังสือมาถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดาตัดพ้อต่อว่า ว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดาทำอะไรไม่เด็ดขาด เป็นการตีงูท่อนหาง ส่วนพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ขอร้องให้เปิดสภาผู้แทนราษฎรหลายหนหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จึงเห็นว่าจะอยู่ร่วมคณะต่อไปจะเสื่อมเสียจึงลาป่วย ในขณะที่ลาป่วยนี้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และพระยาทรงสุรเดช คิดว่าเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญให้กลับเป็นไปตามทางปกครองระบอบเดิม พระยาพหลพลพยุหเสนา จึงได้มีหนังสือไปเตือนพระยาทรงสุรเดชให้ระวังตัวเกรงว่าจะถูกเขาหักหลังเอา และได้แจ้งต่อไปว่า ถ้าจะลาออกให้บอกด้วยเพราะได้ข่าวว่าจะถูกประทุษร้าย ต่อมาราว ๒ อาทิตย์ พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ การที่พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกนี้ก็เพื่อจะลองพระทัยพระปกเกล้าฯ ว่าถ้าไม่เห็นด้วยคงจะรับสั่งและเรียกไปสอบถาม จะได้เล่าเรื่องราวให้ฟัง แต่พระปกเกล้าฯ อนุญาตให้ลาออกเลยทีเดียว แล้วตั้งผู้บัญชาการทหารบกขึ้นใหม่ การที่กระทำไปดั่งกล่าวแล้ว พระปกเกล้าฯ เป็นผู้ทรงตั้งแต่ง เหตุที่พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกนั้น ในชั้นแรกพระยาพหลพลพยุหเสนานไม่ทราบเหตุผล ภายหลังจึงทราบว่าเป็นกลอุบายอย่างหนึ่ง คือ เมื่อพระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธลาออกแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนา จะได้ลาออกตามไปด้วย เพื่อจะให้อำนาจนั้นตกไปอยู่แก่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา แล้วจะได้หาวิธีการกระทำให้อำนาจการปกครองกลับเป็นไปตามระบอบเดิม
หน้า:คำพิพากษาคดีกบฏ - กรมโฆษณาการ - ๒๔๘๒.pdf/27
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๔