ทรงสุรเดช เพราะในขณะนั้นไม่มีใครเป็นผู้ใหญ่ พวกผู้บังคับกองพันนั้น พระยาฤทธิ์อัคเนย์ว่าเป็นลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช
ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งเป็นหัวหน้าพวกกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖ อยู่ด้วยคนหนึ่งนั้น ได้ความว่าก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ พระองค์เจ้าบวรเดชได้เรียกพระยาพหลพลพยุหเสนา และนายดิ่น ท่าราบ (พระยาศรีสิทธิสงคราม) ไปทาบทามแล้วให้พระยาพหลพลพยุหเสนาแสดงความคิดความเห็นเรื่องการปกครองของประเทศไทยในขณะนั้นว่าดีเลวเพียงไร พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ชี้แจงว่า ชอบการปกครองอย่างมีพระเจ้าแผ่นดินอยู่ใต้กฎหมาย อย่างริปับลิกไม่ชอบ พระองค์เจ้าบวรเดชจึงได้พูดว่า พระเจ้าอยู่หัวอยากจะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่เหมือนกัน แต่อภิรัฐมนตรีคัดค้านว่าไม่ควรให้ เพราะยังไม่ถึงเวลา พระองค์เจ้าบวรเดชก็เห็นพ้องด้วยตามที่พระยาพหลพลพยุหเสนาแสดงความคิดเห็น แต่พระองค์เจ้าบวรเดชพูดต่อไปว่า ถ้าเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจะให้พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นเสนาบดีก็ไม่ยอมรับ เพราะทำอะไรไม่สำเร็จ ต้องให้เป็นอัครมหาเสนาบดีจึงจะมีอำนาจทำอะไรได้เต็มที่ พระองค์เจ้าบวรเดชได้ถามพระยาพหลพลพยุหเสนากับนายดิ่น ให้แสดงความคิดความเห็นมาว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พระปกเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญได้ ในเมื่ออภิรัฐมนตรีห้ามอยู่เช่นนี้ นายดิ่นก็นิ่งและมิได้ออกความเห็นอย่างไร ส่วนพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกความเห็นว่า ให้จับองค์อภิรัฐมนตรีต่าง ๆ มาขังเสีย แล้วยึดอำนาจการปกครองและขอพระราชทานรัฐธรรมนูญต่อไป พระองค์เจ้าบวรเดชไม่เห็นด้วย เพราะอ้างว่าผิดกฎหมายและพูดว่าจะทำอย่างอื่นไม่ให้รุนแรงไม่ได้หรือ พระยาพหพลพยุหเสนาตอบว่าไม่เห็นมีทางเลย ในที่สุดพระองค์เจ้าบวรเดชให้กลับไปก่อน นัดวันหลังจึงค่อยมาพูดกันใหม่ ต่อจากนั้นมาอีกราว ๗ วันพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ไปเฝ้าพระองค์เจ้าบวรเดชอีก พระองค์เจ้าบวรเดชว่าอย่างวิธีการของพระยาพหลพลพยุหเสนานั้นไม่เอา ขอให้พระยาพหล