พลพยุหเสนาไปเขียนความเห็นลงในหนังสือพิมพ์ติเตียนว่า การปกครองอย่างเก่าไม่ดี และให้แสดงความเห็นว่าการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญนั้นดี แต่พระยาพหลพลพยุหเสนาไม่เห็นด้วย เพราะวิธีที่แสดงความเห็นลงในหนังสือพิมพ์นั้นเคยติดคุกกันมามากแล้ว พระองค์เจ้าบวรเดชจึงขอร้องให้พระยาพหลพลพยุหเสนา ไปชักชวนเพื่อนฝูงและเสมียนพนักงานให้ทำการร่วมใจกันหยุดงาน ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจะไม่ยอมทำงาน และให้พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกเสีย พระยาพหลพลพยุหเสนาจึงพูดว่าในเมืองไทยมีแต่คนพึ่งเงินเดือน คงไม่มีใครยอมหยุดงานและไม่ยอมลาออก จึงไม่ตกลงกัน ครั้ยแล้วต่อมาพระองค์เจ้าบวรเดชก็ไม่ได้มีส่วนร่วมมือหรือร่วมคิดในการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยเลย
เมื่อตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานคณะกรรมการราษฎรแล้วนั้น พระองค์เจ้าบวรเดชไม่พอพระทัย ได้พูดต่อว่าพระยาพหลพลพยุหเสนาว่าทำไมไม่ให้ท่านเป็นประธานคณะกรรมการราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนาว่าได้เสนอต่อที่ประชุมแล้วแต่ที่ประชุมส่วนมากเขาไม่ให้เป็น จะมาต่อว่านั้นไม่ถูก จะมาต่อว่านั้นไม่ถูก ตั้งแต่นั้นมาพระองค์เจ้าบวรเดชก็ไม่ชอบพระยาพหลพลพยุหเสนา
ก่อนเกิดกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖ ประมาณ ๒๐ วัน พระยาทรงสุรเดชกับพระประศาสน์พิทยายุทธได้เดินทางไปต่างประเทศ พระยาทรงสุรเดชได้พูดกับนายสงวน ตุลารักษ์ว่า คณะพวกเจ้าเขาจะเล่นงานพวกผู้ก่อการ นายสงวรจึงตอบว่าเมื่อเขาจะเล่นงานแล้วก็ควรจะอยู่ช่วยกัน พระยาทรงสุรเดชจึงพูดว่า เมื่อใครเขาอยู่ก็ให้เขาทำไปก็แล้วกัน การที่พระยาทรงสุรเดชพูดเช่นนี้ก็เพื่อพูดกะทบพระยาพหลพลพยุหเสนาและหลวงพิบูลสงคราม เมื่อเกิดกบฏขึ้นพระยาทรงสุรเดชได้เดินทางไปถึงโคลัมโบ พระยาพหลพลพยุหเสนาได้โทรเลขเรียกให้กลับมาเพื่อช่วยเหลือทำการปราบกบฏ แต่พระยาทรงสุรเดชกลับตอบว่าเรื่องเล็กน้อยให้ทำกันไปเถอะ