ส่วนพระปกเกล้าฯ นั้น ก่อนเกิดกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖ เล็กน้อยได้ความตามคำของพระยาอิศราธิราชเสวี, นายพันตรี จมื่นรณภพพิชิต, เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ และพระนรราชจำนง พะยานโจทก์ประกอบด้วยเอกสารว่า ได้ไปประทัยอยู่ ณ พระที่นั่งไกลกังวลพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการสำคัญ ๆ หลายคนอยู่ที่หัวหิน ในระหว่างนั้นพระปกเกล้าฯ ได้สั่งให้พระยาอิศราธิราชเสวีจ่ายเงินให้แก่เจ้ากาวิละวงศ์ ๒ ครั้ง เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท เพื่อให้ซื้อสะเบียงอาหารและสิ่งของต่าง ๆ ไว้สำหรับใช้เมื่อในคราวที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เจ้ากาวิละวงศ์ได้จัดซื้อข้าวและเครื่องกะป๋องไว้ นอกจากนี้พระปกเกล้าฯ ได้ใช้ให้เจ้ากาวิละวงศ์ตัดถนนจากหัวหินถึงปากทวารชายแดนพม่า เจ้ากาวิละวงศ์ยังได้เฝ้าพระปกเกล้าฯ อยู่เสมอตลอดจนเกิดการกบฏขึ้น
ก่อนเกิดกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีคนพูดกันที่หัวหินว่า ทางกรุงเทพฯ อาจมีการยุ่ง ๆ กัน หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์ฯ อ้างพระบรมราชโองการสั่งให้พระยาอิศราธิราชเสวีจัดแผนการที่จะเตรียมเสด็จจากหัวหินโดยทางรถไฟไปทางปักษ์ใต้ และจัดการรักษาพระองค์ด้วย พระยาอิศราธิราชเสวีจึงได้ทำแผนการเคลื่อนขะบวนและรักษาพระองค์อย่างละเอียดขึ้นไว้เพื่อใช้ในการที่จะเสด็จ ในบัญชีรายละเอียดตามแผนการณ์ดั่งกล่าวแล้ว มีหีบเครื่องไอพิษน้ำตา ซึ่งหม่อมราชวงศ์สมัคสมาน กฤดากร รักษาไว้และในระหว่างกบฏก็ได้ใช้แผนการณ์ที่พระยาอิศราธิราชเสวีทำไว้นั้นในการเดินทางไปจังหวัดสงขลา นอกจากนี้ปรากฏต่อไปว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดกบฏ หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ได้พูดขึ้นในพระที่นั่งไกลกังวลเป็นเชิงว่าจะมีกบฏเกิดขึ้นทางกรุงเทพฯ ก่อนเกิดกบฏ นายอิ้น บุนนาค (พระยาสุรพันธ์เสนี) ซึ่งเป็นกบฏในคราว พ.ศ. ๒๔๗๖ และศาลพิเศษได้พิพากษาลงโทษไปแล้วนั้น ได้ไปเฝ้าพระปกเกล้าฯ ที่หัวหิน และพระปกเกล้าฯ ใหจ่ายเงินในวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้แก่นายอิ้นไป ๑๖๗ บาท ๕๐ สตางค์ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้แก่เจ้ากาวิละวงศ์อีก ๓,๐๐๐ บาท วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้แก่เจ้ากาวิละวงศ์อีก ๓,๐๐๐ บาท วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖