หน้า:คำพิพากษาคดีกบฏ - กรมโฆษณาการ - ๒๔๘๒.pdf/33

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๓๐

ให้แก่นายอิ้นไปอีก ๕๐๐ บาท วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้แก่ภริยาของนายพิทย์ไป ๒๐๐ บาท ดั่งปรากฏตามบัญชีการจ่ายงินค่าใช้สอยส่วนพระองค์ซึ่งโจทก์ได้อ้างมา

ก่อนเกิดกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖ กรมขุนชัยนาทนเรนทร, หม่อมเจ้าวงศ์นิรชรและพระองค์เจ้าบวรเดชไปเฝ้าพระปกเกล้าฯ ที่หัวหิน ส่วนหลวงอภิบาลภูวนารถเป็นองครักษ์ประจำอยู่ที่หัวหิน และพระองค์เจ้าบวรเดชได้เคยมีหนังสือถึงหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงษ์และพระปกเกล้าฯ ที่หัวหินหลายฉะบับ นอกจากนี้ปรากฏหลักฐานทางทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ว่า พระปกเกล้าฯ ได้จ่ายเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่พระองค์เจ้าบวรเดชไป ซึ่งเข้าใจว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการกบฏคราวนั้น

ครั้นวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เกิดกบฏและมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ พ.ศ. ๒๔๗๖ ขึ้นสำหรับพิจารณาพิพากษา ในครั้งนั้นศาลพิเศษฟังว่าพระองค์เจ้าบวรเดชได้เป็นหัวหน้าของฝ่ายกบฏด้วยผู้หนึ่ง และสาเหตุที่เกิดกบฏขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๖ นั้น ได้ความว่าเนื่องมาจากเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ และให้พระปกเกล้าฯ มีอำนาจตามเดิม ส่วนผู้ที่สนับสนุนในการนั้นก็หมุ่งหวังในตำแหน่งลาภยศในภายหน้า นอกจากนี้ก็มีเรื่องคุมแค้นกันเป็นส่วนตัว

ต่อจากนี้ไป ศาลจะได้พิจารณาว่า จำเลยคนใดมีความผิดตามฟ้องโจทก์อย่างใดหรือไม่ ข้อนี้ได้ความดั่งจะกล่าวต่อไปนี้

๑) นายลี บุญตา กับนายพันโท พระสุรรณชิต จำเลยนั้น ได้ความจากนายเช้า มากเสน, นายคำ ภู่ศรี, หม่อมราชวงศ์ประยูร วรรัตน์, นายร้อยตรีผล สมงาม, นายเช็งนำ แซ่วัน, นายพันตำรวจตรี หลวงแผ้วพาลชน พะยานโจทก์ว่า เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ เวลาราว ๑๗ นาฬิกา พระสุรรณชิต, นายพันตรี หลวงสงครามวิจารณ์ กับชายอีก ๒ คนหญิงอีก ๑ คน ได้เข้าไปรับประทานอาหารและเสพสุราที่ร้านนายเช็งนำ ซึ่งตั้งอยู่ถนนพระราม ๕ ใกล้กับถนนระยองตรงข้ามกับกองทหารสื่อสารบางซื่อ สักครู่หนึ่งนายลีได้เข้าไปรับประทานร่วมวงด้วย ต่อมาก็มี