หน้า:คำวินิจฉัย ศร ๒๕๖๔-๑๙ (กลาง).djvu/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๘๐ ก

๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
หน้า ๒๖
ราชกิจจานุเบกษา

ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า หากไม่มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่ร่วมกับสถาบันราษฎรได้นั้น ราษฎรย่อมหมดศรัทธาต่อสถาบันกษัตริย์โดยแน่แท้ เพราะเหตุนี้ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมจึงขอเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ ดังต่อไปนี้

(๑)ยกเลิกมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ และเพิ่มบทบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ เช่นเดียวกับที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร

(๒)ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน

(๓)ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่เป็นของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน

(๔)ปรับลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

(๕)ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น และหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรีนั้น ให้ยกเลิกเสีย

(๖)ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด

(๗)ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ

(๘)ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด

(๙)สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเช่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความข้องเกี่ยวใด ๆ กับสถาบันกษัตริย์

(๑๐)ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก