ในการวินิจฉัยของศาลฎีกาตามวรรคสาม ให้ประธานศาลฎีกาดำเนินการให้มีการวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ตามมาตรา ๑๔๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง” จึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นวิธีพิจารณาพิเศษ กำหนดให้ศาลแพ่งดำเนินการพิจารณา โดยศาลแพ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเองได้ นอกจากทำความเห็นส่งสำนวนมายังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ เพราะตามความในข้อ ๖ ดังกล่าวได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และอำนาจของศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก็มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้ เทียบตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๖/๒๕๓๐ ระหว่างนายสมัย เจริญช่าง ผู้ร้อง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพวก ผู้คัดค้าน
สำหรับปัญหาที่ว่า ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยข้อ