หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/105

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙๘
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

จ่ายและผู้สลักหลังได้ทุกคน ไม่เรียกว่า เป็นการฟ้องผ่านลายมือปลอม ควรสังเกตว่า แม้ไม่มีผู้รับรอง ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังก็ต้องรับผิดอยู่แล้ว

(๔)ตั๋วแลกเงินที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม ผู้ทรงฟ้องผู้สลักหลังได้ทุกคน แต่ฟ้องผู้รับรองไม่ได้ เพราะผู้รับรองเป็นลูกหนี้ชั้นต้น การฟ้องผู้รับรองเป็นการฟ้องผ่านลายมือผู้สั่งจ่ายที่ปลอม ควรสังเกตว่า ตามธรรมดาผู้สั่งจ่ายกับผู้รับรองย่อมมีบัญชีต่อกัน ซึ่งเมื่อผู้รับรองจ่ายเงินตามตั๋วไปแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจหักบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้ แต่เมื่อลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายปลอม ผู้รับรองก็หามีอำนาจหักบัญชีได้ไม่ เพราะฉะนั้น นอกจากเป็นการผิดหลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐๐๘ จะเห็นได้ว่า เป็นการไม่ยุตติธรรมที่ผู้รับรองจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงในกรณีที่ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือปลอม

ตามธรรมดา ถึงแม้ว่า เจ้าของลายมือชื่อปลอม หรือเจ้าของลายมือชื่อซึ่งลงไว้โดยปราศจากอำนาจ จะไม่ต้องรับผิดชอบตามตั๋วเงินก็ดี แต่เจ้าของลายมือชื่ออาจแสดงกิริยาอย่างหนึ่งอย่างใดให้คนภายนอกหลงเชื่อว่า ลายมือชื่อที่ลงในตั๋วเงินนั้นเป็นลายมือที่แท้จริงของตนหรือเป็นลายมือที่ลงไปโดยมีอำนาจ จนอยู่ในฐานที่เรียกว่า ต้องตัดบทหรือกฎหมายปิดปากมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจขึ้นเป็นข้อโต้เถียง เช่นนี้ ตนก็จะต้องรับผิดตามตั๋วนั้น

อย่างไรจึงจะเรียกว่า กฎหมายปิดปาก นั้น ได้มีผู้อธิบายว่า เมื่อบุคคลใดแสดงออกว่า เหตุการณ์เป็นอยู่อย่างใดอย่างหนึ่งจนทำให้คนภายนอกกระทำการลงไปโดยเชื่อว่า เหตุการณ์เป็นอยู่อย่างนั้นจริง 

ม.ธ.ก.