หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/37

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๐
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

ตัวแทนเป็นเรื่อง ๆ ไป แต่ถ้าเป็นปัญหาระหว่างผู้ออกตั๋วกับผู้ทรงคนหลัง ๆ แล้ว น่าจะต้องพิจารณาตามมาตรา ๙๑๖

อุทาหรณ์

ก. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉะบับหนึ่งให้แก่ ข. แต่ไม่ได้ส่งมอบให้ ข. ต่อมา ก. ตายลง ผู้จัดการทรัพย์มฤดกของ ก. ได้ส่งมอบตัวนั้นให้แก่ ข. ศาลอังกฤษติดสินว่า ข. จะฟ้องตามตั๋วนั้นไม่ได้ เพราะผู้จัดการทรัพย์มฤดกหาใช่ตัวแทนของ ก. ไม่

การรับรองตั๋วก็เช่นเดียวกัน จะมีผลผูกพันผู้จ่ายต่อเมื่อได้ส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่ผู้ทรงไป เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ตั๋วเงินนั้นยังอยู่ในมือผู้จ่าย ๆ อาจกลับใจไม่รับรอง และขีดฆ่าคำรับรองของเขาเสียก็ได้ เมื่อได้กระทำเช่นนี้แล้ว ก็ถือว่า ผู้จ่ายบอกปัดไม่รับรอง แต่ถ้าหากว่า เมื่อผู้จ่ายได้เขียนคำรับรองแล้ว ยังได้เขียนหนังสือบอกไปยังผู้ทรงหรือคู่สัญญาอื่น ๆ ว่า ตนได้รับรองแล้วอีกชั้นหนึ่งเช่นนี้ ผู้จ่ายจะกลับใจขีดฆ่าคำรับรองเสียภายหลังไม่ได้ แม้จะขีดฆ่าคำรับรองเสีย ก็ยังต้องรับผิดตามเนื้อความที่ตนได้เขียนรับรองนั้น ( มาตรา ๙๓๔)

หมวด ๔
ความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน

จะเห็นได้ดังที่กล่าวมาแล้ว ตามธรรมดาบุคคลย่อมมีความรับผิดในตั๋วแลกเงินในฐานเป็นผู้สั่งจ่าย, เป็นผู้รับรอง และเป็นผู้สลักหลัง

ม.ธ.ก.