หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/42

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๕
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

ตั๋ว" นั้น หมายความว่า

(ก)จะมีผู้ใช้เงินตามเนื้อความที่ผู้สั่งจ่ายมีคำสั่ง ถ้ามีการรับรองตลอดไป แต่

(ข)ถ้าตั๋วนั้นได้มีการรับรองเบี่ยงบ่าย และผู้ทรงได้ยอมรับเอาคำรับรองเบี่ยงบ่าย คำที่ว่า "จะมีผู้ใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว" ก็หมายความว่า ตามเนื้อความที่ได้มีการรับรองโดยเบี่ยงบ่ายนั้น.

อุทาหรณ์

ตั๋วแลกเงินราคา ๑๐๐๐ บาท เมื่อผู้ทรงนำไปให้ผู้จ่ายรับรอง ผู้จ่ายรับรองแต่เพียง ๗๐๐ บาท เช่นนี้ ผู้ทรงอาจถือว่า ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังผิดสัญญา เพราะไม่ได้คำรับรองตลอดไป และจัดการว่ากล่าวเอาทั้ง ๑๐๐๐ บาทก็ได้ แต่ถ้าผู้ทรงได้ยอมรับเอาคำรับรองแต่เพียง ๗๐๐ บาท และได้บอกกล่าวไปยังผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายตามความในมาตรา ๙๓๖ แล้ว ถ้าต่อมาภายหลังปรากฏว่า ผู้รับรองหลบหนีไปเสีย ผู้ทรงก็จะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้แต่เพียงในจำนวน ๗๐๐ บาทเท่านั้น ไม่ใช่ ๑๐๐๐ บาท.

การจำกัดความรับผิด:- ข้อสัญญาของผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังดั่งกล่าวมาแล้ว อาจมีข้อลบล้างหรือจำกัดความรับผิดไว้ก็ได้ตามมาตรา ๙๑๕ ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดี จะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้ คือ

(๑)ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อ

ม.ธ.ก.