หน้า:ตำนานกฎหมายเมืองไทย - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๓.pdf/13

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ศักราชที่ตั้งขึ้นในเมืองพะม่าก่อน น่าจะพึ่งเอาเข้ามาใช้ในราชการเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชตั้งแต่เกี่ยวข้องกับเมืองหงสาวดี

บานแผนกในกฎหมาย ใช้พุทธศักราชและมหาศักราชลงมาจนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่นั้นมา เป็นจุลศักราชเป็นพื้น

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ตั้งเป็นอิสสระณกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็เป็นธรรมเนียมที่จะต้องตั้งแบบแผนพระราชประเพณีและพระราชกำหนดกฎหมายสำหรับพระนคร กฎหมายที่ตั้งครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จะมีอะไรบ้าง รู้ไม่ได้หมดอยู่เอง แต่ตรวจดูตามบานแผนกในกฎหมาย ๒ เล่ม ได้ความว่า กฎหมายเหล่านี้ได้มีมาแต่ในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ คือ

ลักษณพยาน ตั้งเมื่อปีขาล โทศก พ.ศ. ๑๘๙๔ (จุลศักราช ๗๑๒)

ลักษณอาญาหลวง กำหนดโทษ ๑๐ สถาน ตั้งเมื่อปีเถาะ ตรีศก พ.ศ. ๑๘๙๕ (จุลศักราช ๗๑๓)

ลักษณรับฟ้อง ตั้งเมื่อปีมะแม สัปตศก พ.ศ. ๑๘๙๙ (จุลศักราช ๗๑๗)

ลักษณลักพา ตั้งเมื่อปีมะแม สัปตศก พ.ศ. ๑๘๙๙ (จุลศักราช ๗๑๗)

ลักษณอาญาราษฎร์ ตั้งเมื่อปีระกา นพศก พ.ศ. ๑๙๐๑ (จุลศักราช ๗๑๙)