หน้า:ตำนานกฎหมายเมืองไทย - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๓.pdf/20

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๔

พระธรรมศาสตร์ของไทย แต่นอกจากนั้นไปคนละทางหมด ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระธรรมศาสตร์มัธยมประเทศซึ่งเป็นภาษาสังสกฤตเป็นหนังสือในศาสนาพราหมณ์และเป็นหนังสือคัมภีร์ใหญ่ เมื่อพระเอามาแปลที่เมืองรามัญ จะเลือกแปลแต่บางแห่ง และแปลงเนื้อความที่แปลนั้นให้เป็นหนังสือฝ่ายพระพุทธศาสนาด้วย ไทยเราได้พระธรรมศาสตร์มาจากมอญ ดังปรากฏอยู่ในคาถาคำนมัสการข้างต้น เห็นจะได้มาเมื่อกฎหมายไทยเรามีเป็นแบบแผนและจัดเป็นหมวดหมู่อยู่อย่างอื่นแล้ว มาจัดเอาเข้ามาติกาพระธรรมศาสตร์เมื่อทีหลัง จึงเข้าไม่ได้สนิท ข้อนี้จะแลเห็นได้ถนัดในกฎหมาย แม้สังเกตแต่มาติกามูลคดี ๆ รามัญว่า มี ๑๘ เท่าธรรมศาสตร์มัธยมประเทศ แต่มูลคดีในพระธรรมศาสตร์ไทยขยายออกไปเป็น ๒๙ เห็นผิดกันมากอยู่ดังนี้ จึงเข้าใจว่า เมื่อจะจัดกฎหมายไทยให้เป็นหมวดตามพระธรรมศาสตร์ จะเอาเข้าไม่ได้สนิท จึงทำอย่างขอไปที จะยกตัวอย่างมาไว้ให้ดูได้ดังนี้

ตตฺถ อฏฺฏา ทฺวิธา วุตฺตา มูลสาขปฺปเภทโต
มูลฏฺ ฐาสธา สาขา ติทินฺ นาทิอเนกธา
อิณํ ธนํ สนฺนิธานํ อสกํ ปริกีณิกํ
อธมฺมธนวิภาคํ ธนํ ทตฺวา ปจฺฉา คเณฺห
ภติกสฺส ปลิโภโธ พหุมชฺเฌสุ สมฺมุเข
ยํ วจนํ กเถตฺวาน ปจฺฉา ปุน กเถนฺติ ตํ