หน้า:ตำนานกฎหมายเมืองไทย - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๙๓.pdf/27

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑
๒๕ อาถพฺพนิกา กระทำกฤตยาคม เอาไว้ใน ลักษณเบ็ดเสร็จ
๒๖ ภณฺฑเทยฺยํ เช่า เอาไว้ใน ลักษณเบ็ดเสร็จ
๒๗ ตาวกาลิกํ ยืม เอาไว้ใน ลักษณเบ็ดเสร็จ
๒๘ คณีวิภาคํ ปันหมู่ชา ให้แก่ มูลคดีวิวาท
๒๙ ปจฺจุทธรนฺตํ อุทธรณ์ ได้แก่ ลักษณอุทธรณ์

กฎหมายกรุงเก่าอยู่นอกมาติกานี้ มีพระธรรมศาสตร์เพราะเป็นต้นมาติกา ๑ กฎมณเฑียรบาล ๑

ที่หนังสือพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระเอกาทศรฐทรงตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยยการ น่าเข้าใจว่า จะจัดประมวลกฎหมายเข้ามาติกาธรรมศาสตร์อย่างว่ามานี้เอง แต่เมื่อข้าพเจ้าไปกราบทูลหาเรือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีรับสั่งว่า คาถาที่ปรากฏในกฎหมายไทย ตั้งแต่คำนมัสการจนพระธรรมศาสตร์ สำนวนภาษามคธวิปลาศไม่เรียบร้อย คล้ายกับคาถาคำนมัสการในหนังสือไตรภูมิพระร่วง เกือบจะสันนิษฐานว่า ผู้แต่งเป็นคนเดียวกันได้ ดังนี้

ทางภาษาในหนังสือเป็นหลักสำหรับวินิจฉัยเวลาและประเภทที่แต่งหนังสืออยู่อย่าง ๑ ซึ่งจะไม่นำพาไม่ได้ เมื่อปรากฏว่า มีคาถาซึ่งแต่งครั้งสุโขทัย (คือ คาถานมัสการในหนังสือไตรภูมิพระร่วง) แห่ง ๑ และคาถาในพระธรรมศาสตร์กฎหมายไทยอีกแห่ง ๑ เป็นสำนวนเดียวกัน ถ้า