หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๘
พิมพ์หนังสือสามก๊ก จึงแต่งคำอธิบายแลพังโพย[1] เพิ่มเข้า แล้วให้นักปราชญ์จีนอีกคน ๑ ชื่อ กิมเสี่ยถ่าง อ่านตรวจ กิมเสี่ยถ่างเลื่อมใสในหนังสือสามก๊ก ช่วยแก้ไขคำพังโพยของเม่าจงกัง แล้วแต่งคำอธิบายของกิมเสี่ยถ่างเองเปนทำนองคำนำ[2] มอบให้เม่าจงกังไปแกะตัวพิมพ์ตีพิมพ์หนังสือเรื่องสามก๊กขึ้น หนังสือสามก๊กจึงได้มีฉะบับพิมพ์แพร่หลายในประเทศจีน แล้วได้ฉะบับต่อไปถึงประเทศอื่น ๆ
๒ ว่าด้วยแปลหนังสือสามก๊ก
ได้ลองสืบสวนดูเมื่อจะแต่งตำนานนี้ ได้ความว่า หนังสือสามก๊กได้แปลเปนภาษาต่าง ๆ ถึง ๑๐ ภาษา[3] คือ
๑แปลเปนภาษาญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๕
๒แปลเปนภาษาเกาหลี พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒
๓แปลเปนภาษาญวน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
๔แปลเปนภาษาเขมร แปลเมื่อใดหาทราบไม่ ยังไม่ได้พิมพ์