หน้า:บทวิเคราะห์ - จิตร ภูมิศักดิ์ - ๒๕๑๙.djvu/11

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
2
บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี

บางทีอาจจะเป็นที่รับรู้กันกว้างขวางว่า ถ้าจะเอ่ยถึงงานชิ้นเยี่ยมของกวีผู้นี้ขึ้นก่อน นั่นคือ 'บทละคร เรื่อง ระเด่นลันได' ทั้งนี้ เพราะระเด่นลันไดเป็นกลอนบทละครที่ตลกขบขันเป็นอมตะ และประชาชนผู้จักกว้างขวางยิ่งกว่าตัวของกวีผู้แต่งเอง

จริงอยู่ ระเด่นลันไดเป็นเพียงบทละครตลกขนาดสั้น ซึ่งถ้าจะเทียบกับความยาวของบทละครเรื่อง อิเหนา ของรัชกาลที่ ๓ แล้ว ความยาวของละครของพระมหามนตรีอาจจะไม่ถึงหนึ่งในร้อยของอิเหนา ถ้าจะเปรียบว่า อิเหนาคือนวนิยายเรื่องยาวขนาดสี่เล่มจบ ระเด่นลันไดก็คือนวนิยายประเภทเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งเท่านั้น แต่ภายในความสั้นนี้แหละที่ได้มีคุณค่าแห่งการต่อสู้และบุกเบิกทางวรรณคดีบรรจุอยู่, และก็คุณค่าอันนี้เองที่ได้หล่อหลอมให้ 'ระเด่นลันได' ทรงความเป็นอมตะ แทนที่จะถูกกลืนหายไปท่ามกลางบทละครพระราชนิพนธ์ชิ้นมโหฬารที่มีอยู่อย่างมากมายในยุคนั้น

เพื่อจะให้การศึกษาคุณค่าของระเด่นลันไดและบทบาททรรศนะทางวรรณคดีของพระมหามนตรีที่เราจะกระทำกันต่อไปข้างหน้าได้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ จึงสมควรที่เราจะได้รู้จัก