หน้า:ปก นับเวลาในราชการ (๒๔๖๐-๐๙-๑๐).pdf/2

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๓๔ น่า ๔๒๒
วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๖๐
ราชกิจจานุเบกษา

วันใหม่ตั้งแต่เที่ยงคืน, ระยะทุ่มโมง ให้เรียกว่า นาฬิกา; (ตามภาษาที่เคยใช้มาในทางราชการแต่โบราณ) เวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน, เรียกว่า ก่อนเที่ยง, เวลาตั้งแต่เที่ยงวันล่วงแล้วไปบรรจบเที่ยงคืน เรียกว่า หลังเที่ยง. คือ ระยะที่ ๑ แห่งเที่ยงคืนล่วงแล้ว เรียกว่า ๑ นาฬิกาก่อนเที่ยง แลมีลำดับไปถึง ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, นาฬิกาก่อนเที่ยง จนถึง ๑๒ นาฬิกากลางวันหรือเที่ยง; แล้วต่อไปนับเวลา ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, นาฬิกาหลังเที่ยงถึง ๑๒ นาฬิกากลางคืนหรือเที่ยง ดังนี้ เวียนกันเสมอไป.

ส่วนระยะนาทีแลวินาที คงใช้ตามเดิม, แต่เพื่อความสดวกสำหรับสาธารณะชน จะใช้เรียกระยะ ๑๕ นาทีว่า ๑ ภาค, และระยะ ๓๐ นาที ว่า ครึ่งนาฬิกา ดังนี้ก็ได้ แลในระยะยังไม่ถึง ๑ นาฬิกาก่อนเที่ยง หรือยังไม่ถึง ๑ นาฬิกาหลังเที่ยง ให้ใช้ว่า เที่ยงวันกับเท่านั้นนาที หรือเที่ยงคืนกับเท่านั้นนาที, ดังนี้

พระราชกำหนดเดิมที่ขัดกับประกาศนี้ ให้ยกเลิก เว้นแต่วิธีตีรฆังในเรือแห่งราชนาวี

ประกาศมาณวันที่ ๑๐ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๐