หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๑๓) - ๒๔๗๘.pdf/86

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๑

มาแล้ว แลธรรมดาการค้าขายก็ย่อมมีเวลาวัฒนะแลหายนะตามกาลสมัยเหมือนการงานอื่น ๆ บางคนบางพวกที่เคราะห์ร้ายทำการค้าขายไปก็ฃาดทุนโดยไม่ได้คิดฉ้อฉลผู้ใด เจ้าหนี้ผู้ที่ให้กู้ให้ยืมทรัพย์ไปเหนใจจริงของลูกหนี้ว่าเคราะห์ร้ายแล้วก็กรุณาลดหย่อนผ่อนเอาส่วนทรัพย์คืนแต่น้อยพอควรแก่กฎหมายแลธรรมเนียมยุติธรรมที่เปนอยู่ทั่วไปในประเทศอื่น ๆ เปนอันมากแล้วก็มี แต่เจ้าหนี้บางคนมีใจโลบเหลือเกิน เหนช่องที่กฎหมายเก่ามีอยู่ตามธรรมเนียมในโบราณกาล ก็คิดขัดขวางไม่ยอมลดหย่อนผ่อนผันแก่ลูกหนี้ จะขืนเอาตามความในกฎหมายเก่านั้น ทำให้เกิดคดีมีถ้อยความค้างโรงศาลอยู่เปนอันมาก ทั้งเปนที่เดือดร้อนแก่ลูกหนี้ผู้มีความยากไร้ยิ่งนัก ฉันใดจะเปนการดีที่เรียบร้อยต่อไปได้ ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยไว้เปนแบบอย่างด้วย จึ่งทรงพระราชดำริห์เหนโดยทรงพระเมตตาพระกรุณาแก่อาณาประชาชนทั่วไปเพื่อให้ได้ทำมาหากินกันโดยสุจริตแลไม่ให้คิดฉ้อโกงซึ่งกันแลกันนั้นว่า ควรจะแก้ไขกฎหมายเก่าที่หนักแรงอยู่เหลือเกินนั้นให้เปนการยุติธรรมสมควรแก่กาลแลเวลา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัตินี้ไว้สืบไปว่า

มาตรา  บันดาข้อความทั้งปวงที่กล่าวไว้ในกฎหมาย อันประกอบกับความในลักษณกู้หนี้ถือสินหลายแห่ง สินล้นพ้นตัวแล้วให้ขายขาดค่าก็ดี ขายทอดตลาดก็ดี ดังนี้อยู่ในสามมาตรา (น่า ๒๑๘ น่า ๒๑๙ เล่ม ๑ ลงพิมพ์ปีจอ ฉอศก ๑๒๓๖) นั้น ให้ยกเลิกเสีย อย่าให้ใช้อีกต่อไป

มาตรา  บุทคลหลายคนเข้าหุ้นเข้าส่วนกันมีชื่อเปนบริษัทอัน


พ.ร.บ. นี้ยกเลิกแล้ว (ดูฟุตโน้ตหน้า ๗๐)