หน้า:ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา (ภาค ๑) - ๒๕๑๐.pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ประชุมจดหมายเหตุสมัยกรุงศรีอยุธยา

เสนาปัติ ตน ๑ แล้วจิงนิมนต์พระพุทธวิลาศมหาเถร ตน ๑ แล้วจึงนิมนต์พระธรรมรังษีมหาเถร ตน ๑ แล้วจึงนิมนต์พระวิริยาธิกมุนี ตน ๑ พระสงฆ์เจ้าทั้ง ๗[1] ตนนี้มีลูกษิษย์บัวรบัด[2] ๑๐ ตนซูตนแล

พระสงฆ์เจ้าอันอยู่ฝ่ายกรุงศรีอโยธิยาตน ๑ ชื่อว่า พระครูบรมจาริยะ ตน ๑ ชื่อว่า พระอริยะมุนี ตน ๑ มีพระศีลวิสุทธอุตมเปนเค้าเปนประธาน แลมีพระครูสุเมธารุจิวิญญา ตน ๑ มีมหาสธรรมมาตุลย ตน ๑ มีมหาพรหมสาล ตน ๑ มีมหาราชมุนี ตน ๑ แลพระสงฆ์เจ้า ๗ คนนี้มีลูกศิษย์บัวรบัด[2] ๑๐ ตนซูตนแล มหาอำมาตย์ฝ่ายกรุงศรีสัตนาคบุรี คือ องค์จันทประสิทธิราชภักดี หมื่นอุปนารีลูกเมีย พร้อมกันสำฤทธิ์ไมตรีรักแพงกันกับมหาอำมาตย์ฝ่ายกรุงศรีอโยธิยามหาดิลกนพรัตนมหานคร ก็พร้อมกัน ครั้นพระสงฆ์แลอำมาตย์ทั้ง ๒ ก็หมายมาชุมนุมกันในที่จะหล่อน้ำสัจจา พระสงฆ์ผู้ทรงศีลบริสุทธิแลหลวงราชามหาอำมาตย์ก็เอาน้ำสัจะในกระออมแก้วแห่งมหากษัตริย์เจ้าทั้ง ๒ เจือกันเปนกระออมแก้วอันเดียวกัน แล้วจิงเอาน้ำในเมืองหงษาในกระออมทองแห่งพระมหากษัตริย์ทั้ง ๒ เจือกันเปนกระออมทองอันเดียวกัน แล้วจิงเอาน้ำกระพังจาในกระออมแห่งมหาอุปราชเจ้าทั้ง ๒ เจือกันเปนกระออมน้ำอันเดียวกัน แล้วจึงเอาน้ำในกระออมแก้วแล้วเอาน้ำในกระออมเงินแห่งมหาอำมาตย์ทั้ง ๒ เจือกันเปนกระออมเงินอันเดียวกัน แล้วให้อ่านสัตยาธิษฐานว่าดังนี้

สมเด็จพระมหากษัตริย์เจ้ากรุงศรีสัตนาค สมเด็จพระมหากษัตริย์เจ้ากรุงศรีอโยธิยามหาดิลก จิงมีพระราชวงษาสองพระองค์ จิงจา[3] กับนางให้เปนพระราชไมตรีโดยบุพประเวณีเพื่อจะสืบเชื้อ คือ สุริยวงษา และญาติวงษาพันธุมิตอุสารัมมาเพื่อจัดให้เป็นบรมศุขสวัสดี เปนประโยชน์แก่สมณพราหมณาจาริย์เจ้าชาวประชาราษฎรทั้งหลายกราบต่อเท่าถ้วนกัปอันนี้ เปนเค้าเปนประธานสาคดีในมหาปัตถพีคีรัตในห้อมห้วยภูเขาลกลสีลวํถ[4] ขอจงเปนเอกสิมาปริมณฑลอันเดียวกันเกลี้ยงกลมงามมณฑลเท่าพงษ์พันธุ ลูกเต้าหลานเหลนอย่าได้ชิงช่วงด่านแดนแสนหญ้า อย่าได้กระทำโลภเลี้ยวแก่กัน จนเท่าเสี้ยงพระอาทิตย์ พระจันทร์เจ้าตกลงมาอยู่เหนือแผ่นดินอันนี้เทอญ

ครั้นอ่านสัจอธิษฐานทั้งสองฝ่ายแล้ว พระสงฆ์แลอำมาตย์ทั้ง ๒ ฝ่ายก็หลั่งน้ำสัจในมหาปัตถพี แม้นสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายกระษัตริย์ก็มีใจภิรมย์ชมชื่นยินดี มีเสน่หาไมตรีรักแพง[5] กัน เท่าเสี้ยงมหาปัตถพี


  1. ในที่นี้มีรายนามพระเถระเพียง ๖ รูป
  2. 2.0 2.1 ปรนนิบัติ
  3. จึงพูด หรือ จึงตรัส
  4. เอกสีมํว
  5. รักใคร่