หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๒๑) - ๒๔๖๔.pdf/83

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๑

ธรรมเนียมมา ชาติอื่นแม้มีอำนาจว่าการแผ่นดินก็ไม่ได้ราชาภิเศก แต่ถ้าจะว่าโดยธรรมราชวงศ์แล้ว แม้นถึงในประเทศอื่นผู้ที่ได้ครอบครองราชสมบัติเปนเจ้าแผ่นดินในประเทศนั้น ๆ เมื่อประพฤติถูกต้องความมูลนิติขัติยธรรมเหมือนกระษัตริย์ในมัธยมประเทศซึ่งเปนต้นแบบอย่างกฏหมายบ้านเมืองต่าง ๆ สืบมา ก็จะพึงกล่าวได้บ้าง โดยที่ได้ตั้งอยู่ในธรรมราชวงศ์ของกระษัตริย์ แต่ก็หาสู้ต้องการนักไม่ ด้วยชื่อว่ากระษัตริย์ขัติยนี้ เมื่อความดีมีอยู่แล้ว ก็เปนความดี แลข้อซึ่งว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้น ๆ มีชาติบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ เจือปนนักไม่เจือปนมาแต่เดิมนั้น ถึงจะว่าจริง ก็เปนการไกลห่างล่วงมาแล้วนาน ก็เชื่อยาก จะเอาเปนประมาณไม่ได้ ด้วยว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงเปนของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนยักย้ายไปเปนธรรมดา เพราะฉนั้น คำเกิน ๆ เช่นนี้ เราจะขอยกเสียไม่เลียนตามว่าตาม ซึ่งไม่ว่านั้นเพราะจะเห็นว่าพระเจ้ากรุงสยามของเราต่ำตระกูลกว่าเจ้านายในกรุงอังวะบัดนี้นั้นก็หามิได้ ด้วยว่าต้นเชื้อวงศ์ในประเทศพม่าแลไทยซึ่งใกล้เคียงกัน ก็มีสืบมาในพระราชพงศาวดารแลคำให้การคนไปมาเนือง ๆ ความจริงอย่างไรก็ย่อมแจ้งแก่คนทั้งสองประเทศที่พอใจฟังโดยจริงอยู่ด้วยกัน จะขอว่าแต่การที่ควร อันนี้เปนธรรมเนียมคนทั้งปวงทุกประเทศย่อมนับถือเจ้านายที่มีชาติภาษาแลกูลจารีตธรรมลัทธิเสมอกันมากกว่าชาติอื่นภาษาอื่น เพราะฉนั้น ฝ่ายข้างกรุงสยามนี้ ถึงเมื่อบ้านเมืองได้เปนระส่ำระสายยักย้ายไป ต้องอยู่ในอำนาจชาติอื่นภาษาอื่น