หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๒๔) - ๒๔๖๕.pdf/9

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร

เตียนให้เปนที่ประทับของกรมหมื่นสุรินทรรักษ เพราะทรงสนิทชิด ชอบพระราชอัธยาศรัย ไว้วางพระราชหฤไทยมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ แลกรมหมื่นสุรินทรรักษนั้น ได้ทรงกำกับราชการกรมเมืองมาแต่รัชกาล ที่ ๒ ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๓ โปรดให้ทรงกำกับราชการกรมมหาดไทยแลกรมท่าด้วย ตามความที่ปรากฎในจดหมายเหตุเก่า แม้ที่ชาวต่างประเทศแต่ง สรรเสริญกรมหมื่นสุรินทรรักษว่าทรงพระปรีชาสามารถมาก เมื่อ ในรัชกาลที่ ๓ นั้น ถัดกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็ถึงกรมหมื่น สุรินทรรักษที่ยกย่องว่าเปนหลักในราชการ ข้อนี้ปรากฎอยู่ในครั้ง เมืองเวียงจันท์เปนขบถ กองทัพใหญ่ที่ยกไปปราบปรามข้าศึก โปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเปนจอมพลทัพ ๑ ให้กรมหมื่นสุรินทรรักษเสด็จเปนจอมพลทัพ ๑ มีอำนาจเหนือเจ้านายและเสนาบดีที่ไปในกองทัพทั้งนั้น แต่กองทัพกรมหมื่นสุรินทรรักษต้องเรียกกลับมารักษาทาง ปากน้ำ ด้วยครั้งนั้นระแวงจะมีกองทัพอังกฤษยกมาอิกทาง ๑ เพราะ เกิดวิวาทขึ้นกับไทยด้วยเรื่องเมืองไทรในเวลาร่วมกับศึกเวียงจันท์ คน ที่ทันรับราชการในสมัยนั้นมักกล่าวกันว่า ถ้ากรมหมื่นสุรินทรรักษยังทรงพระชนม์อยู่ภายหลังกรมพระราชวังบวรฯ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเห็นจะโปรดฯ ให้เปนพระมหาอุปราช แต่กรมหมื่น สุรินทรรักษสิ้นพระชนม์เสียเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ มีพระชัณษาเพียง ๔๐ ปี แต่เจ้าจอมมารดาตานียังมีชีวิตอยู่ต่อมาอิกช้านาน คนทั้งหลายเรียกกันว่า